9 เหตุการณ์ที่มีความย้อนแย้งในตัวเองที่จะทำให้สมองของคุณมีช่วงเวลาดี ๆ
ตรรกะและสามัญสำนึกเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาที่อยู่ในหัวของเรา เพราะมันช่วยให้เราพบทางออกที่ดีที่สุดที่จะนำเราไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดได้ อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงความย้อนแย้งในตัวเอง ภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกเหล่านี้ที่จะเข้ามาทดสอบความคิดของเรา วิธีแก้ปัญหาก็ดูราวกับเป็นเขาวงกตที่พาเราไปสู่ต้นเหตุของปัญหา
ชีวิตสดใสเรามีลิสต์เหตุการณ์ที่มีความย้อนแย้งในตัวเองในประวัติศาสตร์ที่ผู้คนรู้จักกันเป็นอย่างดี ซึ่งพวกเรานำมาเพื่อลับสมองของคุณด้วยการบริหารความคิดกันเสียหน่อย
1. ความย้อนแย้งเรื่องอีกา
สิ่งนี้เรียกอีกอย่างนึงว่า “ความย้อนแย้งของเฮมเปล” เพราะมันถูกเสนอโดยนักปรัชญาที่ชื่อคาร์ล เฮมเปล (Carl Hempel) โดยวัตถุประสงค์ของเขาคือการพิสูจน์ว่า เมื่อเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับเงื่อนไขของทฤษฎี ความมั่นใจในทฤษฎีนั้น ๆ ของเราจะเพิ่มขึ้น ดังนั้นเพื่ออธิบายข้อพิสูจน์ของเขา เขาจึงได้ยกตัวอย่างเรื่อง “อีกาทุกตัวมีสีดำ”
หากเราตรวจดูอีกานับล้านตัว เราจะเห็นว่าพวกมันมีสีดำทั้งหมด ดังนั้นเราจะเชื่อมั่นในข้อเท็จจริงของทฤษฎีที่ว่า “อีกาทุกตัวมีสีดำ” คือคำพูดที่เป็นจริงมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้วเมื่อเรากำลังดูลูกแอปเปิ้ลสีแดงอยู่ เพราะว่ามันไม่ใช่สีดำ มันจึง “ไม่ใช่อีกา” ทำให้ความเชื่อมั่นว่าอีกาทุกตัวมีสีดำนั้นมีน้ำหนักมากขึ้น
2. ความย้อนแย้งของเอพิเมนิเดส
บนเกาะครีตในกรีกโบราณ ชายคนหนึ่งนามว่าเอพิเมนิเดสแห่งโนสโซส (Epimenides of Knossos) ได้กล่าวว่าชาวเครตันทุกคนเป็นคนโกหก ซึ่งฟังดูแล้วเหมือนเป็นคำพูดธรรมดา ๆ แต่ถ้าเรื่องชาวเครตันเป็นคนโกหกเป็นความจริง เอพิเมนิเดส (Epimenides) ซึ่งก็เป็นชาวเครตันเช่นกัน เขาก็ไม่ได้พูดความจริง
อีกนัยหนึ่งหากเรื่องที่ทุกคนบนเกาะโกหกเป็นเรื่องเท็จ คำพูดของเอพิเมนิเดสก็จะกลายเป็นเรื่องจริง แต่เนื่องจากเขาเป็นชาวเครตัน ดังนั้นแล้วจึงต้องถือเป็นเรื่องโกหก
3. ความย้อนแย้งเรื่องอาบีลีน
ความย้อนแย้งทางสังคมนี้ถูกเสนอโดยเจอร์รี่ บี. ฮาร์วีย์ (Jerry B. Harvey) ในหนังสือของเขาเรื่อง ความย้อนแย้งเรื่องอาบีลีนและการทำสมาธิอื่น ๆ เพื่อจัดการ (The Abilene Paradox and Other Meditations on Management) โดยในตัวอย่างนั้น มีครอบครัวหนึ่งกำลังเล่นโดมิโน่อยู่ที่ระเบียงบ้าน ซึ่งประกอบไปด้วยสามีภรรยาคู่หนึ่งกับพ่อตาแม่ยายด้วย
พ่อตาได้เสนอให้ไปเที่ยวที่เมืองอาบีลีน (Abilene) ที่อยู่ห่างจากที่พวกเขาอยู่ไป 80 กม. โดยภรรยาพูดว่าควรไปเที่ยว แม้ว่าเธอจะไม่มั่นใจเนื่องจากเป็นวันที่อากาศร้อน อย่างไรก็ตามเธอเชื่อว่าจะไม่มีใครเห็นด้วยกับเธอ แต่สามีของเธอก็ตอบตกลงเช่นกัน โดยเขาคิดไปเองว่าแม่ยายอยากไป ดังนั้นพวกเขาจึงออกเดินทาง
อย่างที่ภรรยาคาดไว้ มันเป็นการเดินทางที่ยาวนาน ร้อน และเหนื่อย อาหารที่พวกเขากินในร้านกาแฟที่พวกเขาแวะพักนั้นก็แย่ และพวกเขาก็ตัดสินใจกลับบ้านหลังจากที่ผ่านไปสองสามชั่วโมง ระหว่างทางกลับ ภรรยาพูดด้วยน้ำเสียงประชดประชันว่าการเดินทางไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก สามีตอบกลับไปว่าที่เขาตกลงไป ก็เพียงเพื่อเอาใจแม่ยายเท่านั้น ทั้งที่จริง ๆ แล้วเธอไม่ได้แสดงความคิดเห็นอะไรเกี่ยวกับทริปนี้เลย และพ่อตาก็พูดขึ้นมาว่าที่เขาได้แนะนำทริปนี้ ก็เพราะเห็นทุกคนดูเบื่อ ๆ
พวกเขาจึงสับสนว่าทำไมพวกเขาถึงช่วยกันทำในสิ่งที่ไม่มีใครอยากทำ ดังนั้นฮาร์วีย์ (Harvey) จึงได้พยายามอธิบายภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกนี้ว่าสถานการณ์บางอย่างอาจบังคับให้เราทำในสิ่งต่าง ๆ ที่มันไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามความต้องการของเรา
4. แมวของชโรดิงเงอร์
นักฟิสิกส์ชาวออสเตรียนามว่าเออร์วิน ชโรดิงเงอร์ (Erwin Schrödinger) ได้สร้างระบบที่ประกอบไปด้วยกล่องทึบแสงที่บรรจุขวดยาพิษ โดยมีอุปกรณ์วัดอนุภาคกัมมันตภาพรังสีที่มีโอกาสระเบิด 50% กับแมว ดังนั้นแมวจึงมีโอกาส 50% ที่จะรอดชีวิตในกล่อง
อิเล็กตรอนมีความสามารถที่จะอยู่ใน 2 ตำแหน่งในเวลาเดียวกัน อย่างเช่นตัวรับที่ระบุว่าแมวยังมีชีวิตอยู่หรือตาย และพวกมันแสดงผลลัพธ์ทั้งสองในเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตามก็ไม่มีใครรู้ได้ว่าแมวนั้นตายหรือไม่จนกว่าจะเปิดกล่อง ในขณะที่กล่องปิดอยู่ ข้อความทั้งสองก็ยังคงถูกต้อง จึงนำไปสู่ความย้อนแย้งในตัวเอง
5. ความย้อนแย้งเรื่องปู่
ภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกนี้เรียกอีกอย่างว่าความย้อนแย้งเรื่องการเดินทางข้ามเวลา และถูกเสนอขึ้นโดยนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์นามว่าเรเน่ บาร์ฮาเวล (René Barjavel) ในปี 1944 ในนวนิยายเรื่อง ฟิวเจอร์ ไทม์ ทรี (Future Times Three) ของเขา โดยในนั้นเขาจินตนาการว่ามีชายคนหนึ่งได้เดินทางไปในอดีตและฆ่าปู่ของเขาเองซึ่งเป็นพ่อของบิดาผู้ให้กำเนิดตัวเขา
หากลองคิดตามดูแล้ว ถ้าปู่ของเขาเสียชีวิตไปในอดีต เขาก็ไม่มีทางมาเกิดได้เลย เพราะฉะนั้นเราก็จะไม่รู้ว่าใครเป็นคนฆ่าปู่ของเขาในกรณีนี้ อีกทางเลือกหนึ่งก็คือปู่ได้รอดชีวิต แล้วทำให้นักเดินทางเกิดขึ้นมาได้และเกิดเหตุการณ์อื่น ๆ
6. ความย้อนแย้งเรื่องคู่แฝด
สิ่งนี้เสนอขึ้นโดยอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) เพื่ออธิบายทฤษฎีสัมพัทธภาพ โดยระบุว่าการวัดเวลาไม่ใช่ค่าสัมบูรณ์ เนื่องจากมันขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวและมุมมองของคนมอง ซึ่งความย้อนแย้งนี้เป็นเรื่องราวของฝาแฝด 2 คน โดยคนหนึ่งจะเดินทางไกลในอวกาศด้วยความเร็วสูง ในขณะที่อีกคนจะอาศัยอยู่บนโลกประมาณ 20 ปี
การคาดคะเนระบุว่าแฝดที่อยู่บ้านจะแก่เร็วขึ้นเพราะการขยายขนาดของเวลา กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือเขาจะรับรู้เวลาผ่านไปช้ากว่า ดังนั้นแฝดที่อยู่ในยานอวกาศจะกลับมาดูอ่อนกว่าวัย เพราะหลังจากที่เดินทางด้วยความเร็วสูงแล้ว ดูเหมือนว่าเวลาจะผ่านไปเร็วขึ้น และทั้งหมดนี้เป็นเพราะข้อเท็จจริงที่ว่าเวลาเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กัน
7. ความย้อนแย้งของฮิลเบิร์ตเรื่องโรงแรมแกรนด์
เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงที่ย้อนแย้งกันในแนวคิดเรื่องอินฟินิตี้ในวิชาคณิตศาสตร์ ฮิลเบิร์ต (Hilbert) ได้ใช้เรื่องราวของ 2 เจ้าของโรงแรมชั้นยอดผู้ปรารถนาที่จะสร้างโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อพวกเขาถูกถามว่าจะมีห้องพักกี่ห้อง พวกเขาได้สรุปว่า หากมีใครสร้างโรงแรมที่มีห้องพักมากกว่า ในไม่ช้าพวกเขาจะเลิกกลายเป็นโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้นแล้วพวกเขาจึงตัดสินใจสร้างโรงแรมที่มีห้องพักจำนวนนับไม่ถ้วน
การเปิดโรงแรมที่มีห้องพักจำนวนนับไม่ถ้วน ทุกคนจึงต้องการเข้าพักที่นั่น ดังนั้นห้องพักจำนวนนับไม่ถ้วนจึงถูกครอบครองโดยแขกที่ไม่มีที่สิ้นสุดและไม่มีห้องว่างสำหรับคนที่มาเพิ่มขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหานี้โดยไม่ปล่อยให้แขกไม่มีห้องพัก พวกเขาจึงขอให้แขกบวกจำนวนเลข 1 กับหมายเลขห้องและย้ายไปที่หมายเลขห้องใหม่นั้น เช่น แขกจากห้อง 1 ย้ายไปห้องหมายเลข 2 แขกจากห้อง 2 ย้ายไปห้องหมายเลข 3 เป็นต้น วิธีนี้ก็จะมีห้องพักหมายเลข 1
ต่อมาไม่นานแขกจำนวนนับไม่ถ้วนก็มาถึง และก็เป็นอีกครั้งที่พวกเขาไม่มีปัญหาในการรับแขก โดยแขกถูกขอให้คูณเลขห้องของพวกเขาด้วยเลข 2 เพื่อให้พวกเขาทั้งหมดอยู่ในห้องที่มีเลขคู่ ผลที่ได้ก็คือแขกจำนวนนับไม่ถ้วนจะได้ห้องพักที่เป็นเลขคี่ไม่มีที่สิ้นสุด
8. ความย้อนแย้งของจระเข้
ภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกนี้ใช้เพื่อเปิดเผยปัญหาของตรรกะในสิ่งที่เรายังไม่รู้ แต่ก็ยังมีความคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งความย้อนแย้งนี้แสดงให้เห็นด้วยเรื่องราวของจระเข้ที่ได้พรากลูกไปจากอ้อมแขนของแม่ โดยจระเข้ได้สัญญากับหญิงสาวที่เป็นแม่ว่ามันจะคืนลูกชายของเธอ หากเธอทายถูกว่ามันจะทำอะไรกับเขา
แม่เด็กตอบว่ามันจะกินเขา ก็จะทำให้เกิดภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกสำหรับจระเข้ เพราะหากจระเข้กินเด็ก มันจะผิดสัญญา แต่แม่เด็กนั้นทายถูก มันจึงต้องคืนลูกชายให้เธอตามคำสัญญา แต่หากจระเข้ตัดสินใจปล่อยเด็ก แม่เด็กทายผิดก็จริง แต่เธอก็ยังคงได้ลูกชายกลับมาอยู่ดี
9. เรือของธีซีอุส
ตามตำนานกรีก เรือของธีซีอุส (Theseus) กำลังเดินทางกลับจากเกาะครีตไปยังเอเธนส์พร้อมกับคนหนุ่มสาวหลายคนนั่งในเรือ 30 แถว เรือได้รับการอนุรักษ์มาหลายชั่วอายุคนและอยู่ในสภาพดี เพราะทุกครั้งที่กระดานบนเรือแตก ก็จะถูกแทนที่ด้วยกระดานแผ่นใหม่
สิ่งนี้ทำให้เกิดความคิดเห็นที่ตรงกันข้ามในหมู่นักปรัชญาว่าเรือลำนั้นเป็นเรือดั้งเดิมหรือลำอื่น เนื่องจากมีการเปลี่ยนชิ้นส่วนของเรือ โดยพวกเขาได้ตั้งถามคำถามนี้ขึ้นมาว่า หากชิ้นส่วนของเรือดั้งเดิมถูกประกอบเข้าด้วยกัน แล้วเรือลำไหนจะเป็นเรือของธีซีอุส ระหว่างลำที่ซ่อมแซมมาแล้วหลายปีแล้วหรือลำที่ทำขึ้นมาจากชิ้นส่วนเดิม ?
คุณรู้จักเหตุการณ์ที่มีความย้อนแย้งในตัวเองเรื่องอื่น ๆ ที่ทำให้คุณใช้ความคิดนานหลายชั่วโมงบ้างหรือเปล่า ? แล้วคุณคิดว่าคุณมีวิธีแก้ปัญหาสถานการณ์ข้างต้นมั้ย ? มาร่วมแบ่งปันข้อสรุปของคุณลงในคอมเมนต์กันเถอะ