การตั้งครรภ์และการคลอดบุตรของราชวงศ์เปลี่ยนแปลงไปยังไงบ้างในแต่ละยุคสมัย
ราชวงศ์มุ่งมั่นอย่างมากที่จะรักษาธรรมเนียมและการเฉลิมฉลองชีวิตในรูปแบบเก่า แต่ถึงอย่างนั้น มันก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงในสังคมที่แม้แต่ราชวงศ์ก็ต้านทานไว้ไม่ได้ ซึ่งรวมไปถึงการคลอดบุตรและความเป็นมารดา
เราที่ชีวิตสดใสรู้สึกหลงใหลกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์แปลก ๆ ที่อยู่รายล้อมหัวข้อนี้ ดังนั้นเราจึงมองย้อนกลับไปที่เรื่องของความเป็นมารดาในราชวงศ์แต่ละยุคสมัย
การคลอดบุตรตามธรรมเนียมของราชวงศ์มักจะเกิดขึ้นที่บ้าน โดยที่มารดาไม่ได้รับความเป็นส่วนตัวมากนัก
การคลอดบุตรของราชวงศ์ในอดีตถูกมองว่าเป็นงานสำคัญที่ต้องมีผู้ชม คนรักของพวกเธอไม่ได้ปรากฏตัวที่นั่น แต่มารดาจะถูกล้อมรอบด้วยสักขีพยานมากมาย เพื่อที่ราชวงศ์หญิงและชายตัวน้อยจะไม่ถูกสลับกัน และเพื่อที่ทายาทที่ยังไม่เกิดมาจะไม่ถูกสลับกับคนอื่น
ราชินีวิคตอเรียเป็นมารดาพระองค์แรกที่ขอยาแก้ปวด
การขอยาชาระหว่างคลอดบุตรเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นจนกระทั่งราชินีวิคตอเรีย (Queen Victoria) ขอยาคลอโรฟอร์มจากแพทย์ในระหว่างการคลอดบุตรลำดับที่แปดของพระองค์ ย้อนกลับไปในปี 1853 เหตุการณ์นี้ทำให้ผู้คนในสมัยนั้นตกใจมากเพราะมีความเชื่อในวงกว้างว่ายาแก้ปวดเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นและเป็น “อันตราย”
ยุควิคตอเรียเริ่มจุดประกายกระแสใหม่ขึ้นมาด้วย นั่นก็คือแนวคิดสมัยใหม่เกี่ยวกับวัยเด็กว่าเป็น “ช่วงเวลาอันล้ำค่าสำหรับลูกและพ่อแม่” โดยเริ่มมีหนังสือ, ของเล่นและเกมที่สร้างขึ้นมาสำหรับเด็กโดยเฉพาะ และเริ่มมีการพูดถึงการศึกษาระดับประถมศึกษาภาคบังคับ
ราชินีเอลิซาเบธที่สองประสูติที่บ้านของพระอัยกาและพระอัยยิกาของพระองค์
ธรรมเนียมของราชวงศ์คือการให้สตรีในราชวงศ์คลอดบุตรที่บ้านเสมอ และการคลอดของพระมารดาของราชินีเอลิซาเบธที่สอง (Queen Elizabeth II) ก็ไม่มีเงื่อนไข พระองค์ให้กำเนิดพระราชธิดาโดยการผ่าคลอดในวันที่ 21 เมษายนปี 1926 ที่เอิร์ล แอนด์ เคาท์เทส ออฟ สตารธ์มอร์ ซึ่งเป็นสถานพำนักของพระอัยกาและพระอัยยิกาของพระองค์
ราชินีเอลิซาเบธที่สองชวนพระสวามีของพระองค์เข้ามาอยู่ในการคลอดบุตรด้วย
ด้วยอุปกรณ์การสื่อสารที่ทันสมัยในปัจจุบันนี้ รูปภาพการตั้งครรภ์ของสตรีในราชวงศ์นั้นถูกพบเห็นได้จากผู้ชมในวงกว้าง แต่นั่นไม่ใช่กรณีของราชินีเอลิซาเบธที่สอง ตอนที่พระองค์ตั้งครรภ์ในปี 1948 พระราชวังบักกิงแฮมได้ปล่อยสาส์นที่มีใจความว่า “เจ้าหญิงเอลิซาเบธจะไม่มีการปฎิบัติภารกิจในที่สาธารณะหลังจากสิ้นเดือนมิถุนายน” เป็นที่รู้กันดี เมื่อเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ (Prince Charles) ได้ประสูติในอีก 5 เดือนต่อมา นี่อาจจะเป็นประกาศการตั้งครรภ์ที่สุขุม เนื่องจากไม่มีรูปถ่ายที่เผยแพร่ต่อสาธารณะชนหลังการคลอดบุตรเหมือนกับภาพถ่ายของขั้นตอนต่าง ๆ จากโรงพยาบาลชื่อดัง
ราชินีเอลิซาเบธที่สองเคารพธรรมเนียมและคลอดบุตร-ธิดาที่บ้านทั้ง 4 ครั้ง แต่ความแตกต่างครั้งใหญ่ที่เปรียบเทียบกับในอดีตก็คือการที่เจ้าชายฟิลิป (Prince Philip) พระสวามีของพระองค์เป็นพระบิดาในราชวงศ์พระองค์แรกที่ปรากฏตัวในการคลอดบุตรของพระองค์เองด้วย พระองค์ได้เห็นการคลอดของบุตรคนที่สี่ของพระองค์ในปี 1964 ตามคำเชิญของราชินีเอลิซาเบธที่สอง พระมเหสีของพระองค์ ว่ากันว่าราชินีอยากจะเน้นย้ำถึงความสำคัญของบทบาทของผู้ชายในฐานะพ่อและแสดงให้เห็นว่าพวกเขาควรจะมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูลูกตั้งแต่เริ่มต้น
ในสมัยนั้น การที่ราชวงศ์ตัวน้อยถูกดูแลโดยคนดูแลผู้หญิง, พี่เลี้ยงและเครือญาตินั้นเป็นเรื่องปกติ เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์เติบโตมาโดยใกล้ชิดกับพระอัยยิกา เพราะระหว่างที่พระราชบิดาและพระราชมารดาเดินทางไปรอบโลก ทั้งสองพระองค์ต้องอยู่ห่างจากลูกนานหลายสัปดาห์และหลายเดือน เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์และเจ้าหญิงไดอาน่า (Princess Diana) จึงได้เปลี่ยนธรรมเนียมนั้นและจึงได้เห็นลูก ๆ อยู่กับทั้งสองพระองค์ระหว่างการเดินทางด้วย
เจ้าหญิงไดอาน่าเป็นพระองค์แรกที่คลอดบุตรในโรงพยาบาล
ในช่วงต้นของยุค 80 เป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกี่ยวกับธรรมเนียมของราชวงศ์ที่สังเกตเห็นได้ชัด ตัวอย่างเช่น การตั้งครรภ์ของราชินีเอลิซาเบธที่สองถูกประกาศออกมาด้วยความระมัดระวัง โดยบอกว่าพระองค์ “จะหยุดพักการปฏิบัติพระราชกรณียกิจ” ในทางกลับกัน เจ้าหญิงไดอาน่าพูดคุยกับผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับการตั้งครรภ์อย่างมีความสุข และเธอได้ยกเลิกธรรมเนียมการคลอดบุตรที่บ้านและเลือกที่จะคลอดที่โรงพยาบาลแทน นอกจากนั้น เจ้าหญิงไดอาน่ายังเป็นสตรีพระองค์แรกในราชวงศ์ที่พูดถึงปัญหาสุขภาพจิตหลังคลอดต่อสาธารณะ ซึ่งในขณะนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าประหลาดใจ
เคท มิดเดิลตันยกเลิกการปรากฏตัวในที่สาธารณะ
ในระหว่างการตั้งครรภ์ของพระองค์ ดัชเชสแห่งแคมบริดจ์ได้ยกเลิกการออกงานในที่สาธารณะมากมายเนื่องจากอาการแพ้ท้อง เคทและเจ้าชายวิลเลี่ยม (Prince William) ยังคงฝ่าฝืนกฎด้วยการไปโรงพยาบาลด้วยกัน และเจ้าชายวิลเลียมก็อยู่ในห้องคลอดในการคลอดบุตรคนที่สามของพระองค์ด้วย
โรเบิร์ต เลซีย์ (Robert Lacey) นักประวัติศาสตร์ราชวงศ์กล่าวว่า “ตอนที่เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ประสูติ เจ้าชายฟิลิปเล่นสควอชอยู่ที่พระราชวัง และตอนที่เจ้าชายวิลเลียมประสูติ เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ก็ออกไปเล่นโปโลข้างนอก ผมคิดว่าเราจะได้เห็นการกำเนิดของพระราชวงศ์พระองค์แรกที่พระบิดาของเขาอยู่ในห้องคลอดด้วย และได้เห็นลูกคนใหม่ของเขาลืมตาดูโลก”
ดัชเชสแห่งแคมบริดจ์คลอดบุตรที่โรงพยาบาลเดียวกับเจ้าหญิงไดอาน่า โรงพยาบาลนี้มีชื่อเสียงด้านแผนกผดุงครรภ์ลินโดที่ได้รับการอนุมัติจากราชวงศ์ ซึ่งมีสตรีในราชวงศ์จำนวนหนึ่งคลอดบุตรที่นี่ ตามธรรมเนียมแล้ว ราชวงศ์แรกเกิดตัวน้อยจะต้องถูกนำเสนอต่อช่างภาพ, แฟนคลับของราชวงศ์และผู้คนที่สนใจเมื่อพวกเขาออกมาจากโรงพยาบาล
ถึงแม้ว่าเคทจะทำตามธรรมเนียมปฎิบัติ แต่เธอก็ยอมรับว่าความสนใจจากสาธารณะชนหลังจากการคลอดบุตรทันทีเป็นอะไรที่ “ค่อนข้างน่ากลัว” เคททำตามตัวอย่างของพระราชมารดาที่ล่วงลับของพระสวามี โดยเคทเลือกที่จะทุ่มเทกับการชูประเด็นถึงความตระหนักรู้ของอาการซึมเศร้าหลังคลอดซึ่งพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน
แต่ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดคือในปี 2013 ซึ่งเป็นปีที่เจ้าชายจอร์จ (Prince George) ประสูติ ตามกฎหมายสืบราชสันตติวงศ์ฉบับใหม่ ทายาทชายที่อายุน้อยกว่าพี่สาวไม่มีข้อได้เปรียบในการสืบทอดราชบัลลังก์อีกต่อไป
คุณคิดว่าความเปลี่ยนแปลงใดที่จะได้เห็นในราชวงศ์ยุคต่อไป ? มาคุยกันในช่องคอมเมนต์