ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

12 ครั้งที่เราสังเกตเห็นว่านักออกแบบเครื่องแต่งกายได้ทำผิดพลาด

มีบ่อยครั้งที่หนังเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เราเห็นชุดที่ไม่เกี่ยวข้องกับยุคที่พวกเขาอ้างว่าเนื้อเรื่องเกิดขึ้นในช่วงนั้น แต่สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นเพราะความประมาทของศิลปิน เพราะในกรณีส่วนใหญ่แล้ว เหล่าผู้ออกแบบตั้งใจทำให้หนังมีความลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากความสอดคล้องกับยุคแล้ว เสื้อผ้าก็ต้องเน้นถึงประโยชน์ของนักแสดงและเข้ากับคอนเซปต์โดยรวมของหนัง อีกทั้งผู้ชมรุ่นใหม่ก็สามารถเข้าใจได้ หากทีมงานสามารถทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ครบทั้งหมด การสร้างหนังก็จะประสบความสำเร็จ

อลิซาเบธ ราชินีบัลลังก์ทอง

ผู้สร้างหนังเรื่องนี้ได้ทำสิ่งที่ไม่ตรงกับประวัติศาสตร์อยู่หลายอย่าง เพราะอลิซาเบธที่ 1 (Elizabeth I) เป็นแฟนตัวยงของผ้าลูกไม้ราคาแพง อัญมณีล้ำค่า และงานปักที่ประณีต แต่ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายตั้งใจลดจำนวนการตกแต่งลง เพื่อไม่ให้ผู้ชมเบนความสนใจไปจากเนื้อเรื่อง โดยสีกับเนื้อผ้าช่วยสร้างตัวละครพระราชินีให้สัมพันธ์กับตัวละครอื่น ๆ จึงทำให้พระราชินีปรากฏตัวบนหน้าจออยู่ในชุดกระโปรงสีสด แทนที่จะเป็นชุดสีอ่อนและซีดจางที่เธอนั้นสวมใส่ในชีวิตจริง

ยิ่งไปกว่านั้นเครื่องแต่งกายของพระราชินียังขาดสิ่งที่เรียกว่าฟาร์ติงเกล ซึ่งเป็นโครงถ่างกระโปรงให้กว้างที่สวมไว้ใต้ชุด เพื่อให้มีลักษณะเหมือนกระจกคว่ำอันเป็นส่วนสำคัญของเครื่องแต่งกายของสตรีสูงศักดิ์ในสมัยนั้น แต่โครงชุดของเคท แบลนเชตต์ (Cate Blanchett) กลับมีความคล่องตัวและเบา อีกทั้งขาดความอลังการตรงช่วงไหลอันเป็นลักษณะเด่นของชุดในยุคนั้น แต่ทว่าการตีความชุดทางประวัติศาสตร์อย่างอิสระก็ไม่ได้ขัดขวางนักออกแบบในการสร้างลุคที่ดูสมจริงไปได้ แถมยังได้รับรางวัลออสการ์ในสาขาการออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยมอีกด้วย

เดอะ เกรท แกตสบี้ รักเธอสุดที่รัก

เครื่องแต่งกายของผู้ชายในหนังนั้นดูสมจริงมาก ในขณะที่เครื่องแต่งกายของผู้หญิงที่ทำขึ้นโดยมิวเซีย ปราด้า (Miuccia Prada) ได้มีการปรับเปลี่ยนที่สำคัญ เพราะแทนที่จะเป็นชุดเดรสแบบทรงตรงที่ไม่เน้นช่วงเอว ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของชุดในสมัยนั้น แต่ผู้ชมกลับได้เห็นชุดแบบเข้ารูป คอวี และปิดแผ่นหลังในหนัง

อีกหนึ่งการรังสรรค์อย่างอิสระโดยนักออกแบบเครื่องแต่งกายก็คือเครื่องประดับ อย่างรองเท้ารัดน่องส้นเข็มแบบเปิดส้น แล้วก็เป็นอีกครั้งที่หนังไม่ได้ประสบปัญหาเพราะมัน แต่ในทางกลับกันแล้ว เสื้อผ้าของตัวละครได้ทำให้หนังมีเสน่ห์เป็นพิเศษ

บัลลังก์รัก ฉาวโลก

ช่างตัดชุดของหนังเรื่องนี้ก็เหมือนกับเรื่อง อลิซาเบธ ราชินีบัลลังก์ทอง (Elizabeth: The Golden Age) โดยนักออกแบบเครื่องแต่งกายของหนังเรื่องนี้ต้องงดใช้ฟาร์ทิงเกล (โครงถ่างประโปรงให้กว้าง) แต่พวกเขาใช้คริโนไลน์ (กระโปรงสุ่มไก่) แทน เพื่อสร้างวอลลุ่มให้กับชุดและทำให้กระโปรงมีรูปทรงเหมือนโดม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของชุดในยุคหลัง ๆ

คุณลักษณะใหม่อีกอย่างหนึ่งที่ทำขึ้นโดยนักออกแบบเครื่องแต่งกายของหนังเรื่องนี้ก็คือสีเขียว ซึ่งเป็นสีที่ค่อนข้างไม่ธรรมดาในยุคทิวดอร์ เพราะก่อนศตวรรษที่ 19 ผู้ผลิตผ้าจะใช้สีย้อม 2 อย่างเพื่อให้ได้สีเขียว คือสีฟ้ากับสีเหลือง ซึ่งทำให้คุณภาพของการย้อมนั้นต่ำมาก นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้แอนนา (Anna) แทบไม่มีโอกาสได้อวดโฉมอยู่ในชุดสีมรกตเข้มในชีวิตจริงได้เลย แต่ทว่าสีนี้ได้กลายเป็นสีหลักของภาพยนตร์

แมรี่ ราชินีแห่งสกอตส์

เนื้อเรื่องของหนังเรื่องนี้เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 16 แต่เครื่องแต่งกายส่วนใหญ่ทำมาจากผ้าเดนิม ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ได้ปรากฏจนกระทั่งศตวรรษที่ 19 แต่อเล็กซานดร้า เบิร์น (Alexandra Byrne) ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายกล่าวว่าตัวละครเริ่มดูน่าดึงดูดและเป็นที่เข้าใจได้มากขึ้นสำหรับผู้ชม เมื่อตัวละครอยู่ในเสื้อผ้าที่ทำจากผ้ายีนส์เนื้อหยาบ อีกทั้งองค์ประกอบที่ไม่เคยมีมาก่อนนี้ได้ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับอันธพาลในยุคอลิซาเบธ และละครอิงประวัติศาสตร์ก็เริ่มเล่นกับสีสันที่สดใส

กำเนิดรักก้องโลก

แม้ว่าโครงเรื่องของหนังจะเป็นนิยายที่แต่งขึ้นทั้งหมด แต่เรื่องราวก็ยังคงเกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวบุคคลที่มีตัวตนจริง ๆ ในประวัติศาสตร์และอยู่ในยุคที่มีจริงอย่างยุคเอลิซาเบธ แล้วเพื่อไม่ให้ชุดขัดขวางการเคลื่อนไหวและเบนความสนใจไปจากตัวละครหลัก นักออกแบบเครื่องแต่งกายจึงได้ลดความซับซ้อนจากเสื้อผ้าของจริงลง แถมยังลดการตกแต่งที่หรูหรา ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยนั้นให้เหลือน้อยที่สุด

ลุคเครื่องแต่งกายของผู้ชายก็เปลี่ยนไปเช่นกัน โดยสตูดิโอหนังกลัวว่าตัวละครที่อยู่ในกางเกงรัดรูปจะดูงี่เง่า ดังนั้นพวกเขาจึงทำเสื้อคลุมกับกางเกงให้ยาวลงมาเล็กน้อย แล้วในที่สุดผู้ชมก็ได้เห็นเรื่องราวความรักที่สวยงาม ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์จริง ๆ แต่ก็ดูเหมือนว่าทุกคนจะพอใจกับมัน

สี่ดรุณี

หนังเรื่องนี้เป็นเรื่องราวของ 4 สาวพี่น้องตระกูลมาร์ช (March) เนื้อเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นในยุคสมัยของสมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย (Queen Victoria) ตอนที่ผู้คนใส่กางเกงขายาว กระโปรงซับใน ห่วง และคอร์เซ็ท ซึ่งล้วนเป็นคุณลักษณะที่ขาดไม่ได้ของเสื้อผ้าผู้หญิงทุกคนในสมัยนั้น แต่เพื่อให้สื่อถึงบุคลิกของตัวละครแต่ละตัวได้ดียิ่งขึ้น นักออกแบบเครื่องแต่งกายจึงได้ปรับลดองค์ประกอบเหล่านี้บางส่วนของตัวละครเบธ (Beth) และโจ (Jo) โดยโจสวมเสื้อกั๊กของผู้ชายแทนชุดคอร์เซ็ท ส่วนเบธก็ไม่สวมคริโนไลน์

คลีโอพัตรา

ชุดรัดรูป เสื้อรัดรูป รองเท้าส้นสูง เลื่อมมากมาย วัสดุสังเคราะห์ และทรงผมแบบ “รังผึ้ง”... มีรายละเอียดมากมายที่ไม่สอดคล้องกับยุคสมัยในหนังเรื่องนี้ที่ไม่มีทีท่าว่าจะลิสต์ออกมาได้หมด

อย่างไรก็ตามอาจฟังดูน่าประหลาดใจ แต่ความเย้ายวนใจของยุค 60 พร้อมรายละเอียดสุดเก๋ไม่ได้ทำให้หนังเกิดความเสียหาย แต่ในทางกลับกัน เป็นเพราะงานเครื่องแต่งกายขนาดอลังการของนักออกแบบที่ทำให้ผู้ชมได้เห็นหนังสุดยิ่งใหญ่ที่ตัวละครคลีโอพัตรา (Cleopatra) เพียงคนเดียวได้สวมชุดต่าง ๆ ถึง 38 ชุด (ในตอนแรกมีการวางแผนให้เธอใส่ถึง 65 ชุดเลยล่ะ !)

สร้างฝันเพื่อวันเกียรติยศ

หนังเรื่องนี้เกิดขึ้นในอังกฤษตอนศตวรรษที่ 19 โดยที่สีพาสเทลอ่อน ๆ ในสมัยนั้นมีความทันสมัย ในขณะที่สีสดใสถูกใช้เพื่อเน้นชุดเพียงเท่านั้น แต่นักออกแบบเครื่องแต่งกายได้พลิกแฟชั่นแบบกลับกัน เพราะตลอดทั้งเรื่อง เราจะได้เห็นตัวละครหลักสวมชุดสีสด แล้วยิ่งสถานะทางสังคมของพวกเธอสูงมากเท่าไหร่ เสื้อผ้าของเธอก็ยิ่งอู้ฟู่มากเท่านั้น ดังนั้นแล้วแนวทางแสนแหวกแนวของนักออกแบบเครื่องแต่งกาย จึงเปลี่ยนชุดที่เป็นแค่เสื้อผ้าให้กลายมาเป็นเครื่องมือที่แสดงถึงบุคลิกและความทะเยอทะยานที่เพิ่มขึ้นของตัวละคร

ร้อนรักลิขิตหัวใจ

ตัวละครหลักถูกแสดงในรูปแบบของนางไม้ที่แสนอ่อนหวานและเปราะบาง แล้วเอฟเฟกต์นี้ก็ได้มาจากการใช้สีพาสเทล ผ้าเนื้อบางเบา และแขนเสื้อแบบหลวม ๆ

แต่ความจริงก็คือผู้หญิงที่รวมทั้งโสเภณี พวกเธอจะสวมคอร์เซ็ทโลหะทับชุดชั้นในในเมืองเวนิสตอนศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นยุคที่เนื้อเรื่องของหนังเกิดขึ้น แต่พวกมันทำให้พวกเธอดูตัวใหญ่กว่าที่เป็นและไม่สามารถดึงความสง่างามออกมาจากตัวพวกเธอได้

นอกจากนี้บาสก์ (ชุดชั้นในที่รัดให้เอวคอดกิ่วคล้ายกับคอร์เซ็ต) ที่มีอยู่ในเสื้อผ้าของตัวละครหลักเกือบทุกชุดก็ไม่เป็นที่นิยมในตอนนั้น อย่างไรก็ตามเราคงต้องยอมรับว่าความปรารถนาของผู้สร้างหนังในการปรับหนังให้ทันสมัยไม่ได้ทำลายมันเสมอไป แต่ในทางกลับกัน มันกลับทำให้รู้สึกถึงความเป็นตัวตนและมีความโรแมนติกมากขึ้น ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำสิ่งนี้ได้สำเร็จ หากเครื่องแต่งกายตรงตามยุคสมัยนั้น

อันนา คาเรนิน่า รักร้อนซ่อนชู้

เนื้อเรื่องของนิยาย อันนา คาเรนิน่า รักร้อนซ่อนชู้ (Anna Karenina) เกิดขึ้นในปี 1870 ดังนั้นเครื่องแต่งกายจากยุคนี้ อย่างชุดกระโปรงบานที่ถูกตกแต่งด้วยการตัดเย็บหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการพับ เย็บริมผ้า เย็บขอบ จับจีบ และผ้าย่นจำนวนมากจึงได้ถูกนำเสนอในหนังอย่างตั้งใจ

อย่างไรก็ตามในเรื่องของประวัติศาสตร์ ทีมผู้สร้างได้เลือกคอลเลกชั่นแฟชั่นของชนชั้นสูงในยุค 50 เป็นพื้นฐาน และทำโครงชุด (โครงหุ่น) ให้เป็นสิ่งที่สำคัญ ดังนั้นแทนที่จะเป็นชุดที่มีการตกแต่งมากมาย ผู้ชมจึงได้เห็นชุดกระโปรงที่มีคริโนไลน์ที่ไม่ได้รุงรังไปกับรายละเอียดที่ไม่จำเป็น

ยิ่งไปกว่านั้นพวกผู้หญิงไม่ได้สวมถุงมือที่งานเต้นรำ แต่ทว่าการเต้นรำโดยที่ไม่มีพวกมันถือเป็นสัญญาณของมารยาทที่แย่มาก แล้วพวกเธอก็ได้รับอนุญาตให้ถอดถุงมือออกระหว่างทานอาหาร ตอนที่เล่นดนตรีและเล่นไพ่เท่านั้น

เดอร์ตี้ แดนซ์ซิ่ง

ตัวละครของดาราสาวเจนนิเฟอร์ เกรย์ (Jennifer Grey) ได้ทำให้ทุกคนประหลาดใจด้วยกางเกงยีนขาสั้นเอวสูง อย่างไรก็ตามนักออกแบบเครื่องแต่งกายไม่ได้คำนึงถึงความจริงที่ว่าในยุค 60 (ช่วงเวลาที่หนังเรื่องนี้เกิดขึ้น) เสื้อผ้าสุดทันสมัยที่ใส่ประจำวันไม่ได้ทำมาจากผ้ายีนส์ เพราะในสมัยนั้นผ้ายีนส์ถูกใช้สำหรับการทำงานหนัก ไม่ใช่สำหรับเสื้อผ้าที่ใส่เล่น ๆ แบบฟุ่มเฟือย

ดอกไม้ทรนงกับชายชาติผยอง

เครื่องแต่งกายที่ตัวละครของดาราสาวเคียร่า ไนต์ลีย์ (Keira Knightley) สวมใส่ในหนังนั้นเกือบจะสมบูรณ์แบบในแง่ความสอดคล้องกับประวัติศาสตร์ แต่ทว่าสิ่งต่าง ๆ กลับไม่แม่นยำมากนัก เมื่อพูดถึงรองเท้าของเธอ โดยเราจะเห็นได้ในหลาย ๆ ฉากที่ตัวละครอลิซาเบธ (Elizabeth) สวมรองเท้าบูทยางแบบเวลลิงตันที่ยังไม่ได้ถูกคิดค้นขึ้นเลย เพราะพวกมันถูกผลิตขึ้นในอีก 40 ปีหลังจากที่เนื้อเรื่องของนิยายของเจน ออสเตน (Jane Austen) เกิดขึ้น

คุณใส่ใจกับเครื่องแต่งกายของตัวละครในตอนที่คุณดูหนังบ้างหรือเปล่า ? แล้วคุณคิดว่าการยอมเสียเรื่องความถูกต้องไปบ้าง เพื่อความมีศิลปะในหนังเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่นะ ?

เครดิตภาพพรีวิว Dirty Dancing / Lionsgate, The Other Boleyn Girl / BBC Films
ชีวิตสดใส/ภาพยนตร์/12 ครั้งที่เราสังเกตเห็นว่านักออกแบบเครื่องแต่งกายได้ทำผิดพลาด
แชร์บทความนี้