ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

15 ครั้งที่นักออกแบบเครื่องแต่งกายของหนังแนวประวัติศาสตร์ได้ทำผิดพลาดครั้งใหญ่

หนึ่งในสิ่งที่ชื่นชอบที่ไม่อาจปฏิเสธได้ในการดูหนังแนวประวัติศาสตร์ ก็คือบรรดาเครื่องแต่งกายที่มีชีวิตชีวาและน่าดึงดูด อีกทั้งชุดขนาดใหญ่ที่มีเครื่องประดับตกแต่งมากมาย และทรงผมอันซับซ้อนสุดน่าทึ่งบนหน้าจอ แต่ทว่าในบางครั้งผู้สร้างหนังก็ดันหลงทางและทำสิ่งผิดพลาดอย่างเห็นได้ชัดเชียวล่ะ

ความรักในการเจาะหูของราชินีแมรี่ที่คาดไม่ถึง

ในหนังเรื่อง แมรี่ ราชินีแห่งสกอตส์ (Mary Queen of Scots) บอกเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์แสนยุ่งยากระหว่างสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 (Queen Elizabeth I) กับแมรี่ สจ๊วต (Mary Stewart) โดยนักแสดงสาวเซอร์ชา โรนัน (Saoirse Ronan) ได้ปรากฏตัวพร้อมกับเครื่องประดับต่าง ๆ มากมาย อย่างเช่นหูข้างขวาของเธอมีต่างหู 5 อัน ซึ่งถึงแม้จะมีข้อพิสูจน์ว่าในศตวรรษที่ 16 ผู้หญิงจะสวมต่างหูหลายอันก็จริง แต่ก็ไม่มีใครกล่าวถึงว่าแมรี่ สจ๊วตได้ทำเช่นนั้น แล้วด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้หนังเรื่องนี้ดูทันสมัยเกินไปและไม่ถูกต้อง

แขนเสื้อที่หายไปของอันนา ปาฟลอฟนา เชอเรอร์

นิยายเรื่อง สงคราม ความรัก และสันติภาพ (War & Peace) เกิดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 แต่ชุดที่เราเห็นอันนา ปาฟลอฟนา เชอเรอร์ (Anna Pavlovna Scherer) สวมใส่ยังไม่มีให้เห็นมาจนถึงยุค1950 ดังนั้นแล้วแขนเสื้อที่หายไปกับชุดเปลือยแผ่นหลัง เรียกได้ว่าไม่มีอะไรที่ตรงกับแฟชั่นในยุคนั้นเลย

ชุดรัดรูป แต่ยังคงสุภาพมาก ๆ สำหรับยุคนั้น

บาซ เลอร์มานน์ (Baz Luhrmann) ผู้กำกับหนังเรื่อง เดอะ เกรท แกตสบี้ รักเธอสุดที่รัก (The Great Gatsby) ค่อนข้างตั้งใจบรรยายแฟชั่นในยุค 1920 แต่ชุดที่เดซี่ (Daisy) ใส่นั้นดูทันสมัยจนเกินไป โดยโครงของชุดควรจะดูหลวมมากกว่านี้ คอเสื้อควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และรอยเว้าที่ด้านหลังก็น่าจะลึกลงกว่านี้

กระโปรงของเจนควรกว้างกว่านี้

เนื้อเรื่องของหนัง รักที่ปรารถนา (Becoming Jane) เกิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นตอนที่แฟชั่นในอังกฤษกำลังเปลี่ยนแปลง โดยในช่วงยุคนี้ผู้หญิงจะสวมชุดรัดรูปกับกระโปรงกว้าง ดังนั้นเสื้อผ้าของเจน (Jane) จึงดูเหมือนเป็นการปฏิวัติวงการที่แท้จริง อีกทั้งสไตล์นี้ยังไม่เป็นที่นิยมไปจนถึง 10-20 ปีต่อมา นอกจากนี้กระโปรงของเธอก็ยังดูแคบเกินไป แม้แต่ในปี 1810 ก็ตาม

ชุดของเม็กดูไม่ยั่วยวนใจ แต่กลับเชย

หนังเรื่อง สี่ดรุณี (Little Women) ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในเรื่องทรงผมของตัวละครหลัก โดยพวกเธอมักปรากฏตัวแบบปล่อยผมและไม่มีอะไรสวมทับ

อีกทั้งเครื่องแต่งกายบางชุดก็ดูแปลกเช่นกัน อย่างเช่นในหนังสือ ตัวละครเม็ก (Meg) มาที่งานเต้นรำในชุดที่ดูยั่วยวนใจ แต่ในหนัง ชุดกลับดูเรียบง่ายกว่ามาก ๆ โดยตรงช่วงอกของชุดควรจะลึกกว่านี้และเปิดไหล่ ดังนั้นแล้วฉากนี้จึงดูไร้ความหมาย

ในศตวรรษที่ 16 ไม่มีผู้หญิงคนไหนที่จะปรากฏตัวในที่สาธารณะอยู่ในชุดเปิดไหล่

ในศตวรรษที่ 16 ผู้หญิงมักจะสวมชุดกระโปรงยาว แต่ในซีรีส์เรื่อง บัลลังก์รัก บัลลังก์เลือด (The Tudors) ผู้หญิงไม่ได้สวมใส่ชุดแบบนั้น ยกตัวอย่างเช่นเกเบรียล อันวาร์ (Gabrielle Anwar) ที่สวมชุดสีสดโดยที่ไม่มีอะไรอยู่ข้างใต้กระโปรงเลย แต่ในยุคนั้นคอเสื้อผู้หญิงตรงช่วงอกมักจะเป็นทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสและชุดก็มีองค์ประกอบหลายส่วน ดังนั้นแล้วจึงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงผู้หญิงในยุคนั้นอยู่ในชุดเดรสเปิดไหล่

มีเพียงจักรพรรดิเท่านั้นที่สามารถสวมชุดสีม่วงได้ในกรุงโรม

เนื้อเรื่องของหนัง ไฟนรกถล่มปอมเปอี (Pompeii) เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 1 ซึ่งเป็นยุคที่มีเพียงจักรพรรดิเท่านั้นที่จะสามารถสวมชุดสีม่วงได้

หากคนไหนใส่ชุดสีม่วง คน ๆ นั้นก็จะถูกลงโทษ ดังนั้นแล้วในตอนที่สมาชิกสภาสูงคอร์วัส (Corvus) ปรากฏตัวบนหน้าจออยู่ในเสื้อผ้าสีม่วง นั่นหมายความว่าคุณจะต้องกังวลเรื่องอนาคตของเขาที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้า นอกจากนี้ไม่ได้มีเพียงเขาที่สวมชุดสีม่วงเท่านั้น แต่บรรดาทหารของเขาก็สวมชุดสีม่วงด้วยเช่นกัน

เสื้อท่อนบนไม่ได้มีลวดลายขนาดยักษ์เพียงอย่างเดียว

ในศตวรรษที่ 16 ผู้หญิงจะประดับประดาเสื้อตัวนอกหรือกระโปรงด้วยงานปัก โดยพวกเธอจะเลือกลวดลายที่ซับซ้อน ไม่ใช่แค่ลวดลายขนาดยักษ์ แล้วนี่ก็คือเหตุผลที่ทำให้ชุดของนาตาลี ดอร์เมอร์ (Natalie Dormer) ในเรื่อง บัลลังก์รัก บัลลังก์เลือด (The Tudors) ดูไม่สมจริง

เสื้อถักตัวนี้ดูแปลกมาก ๆ

หนังเกี่ยวกับชีวิตของนักเขียนแมรี่ เชลลีย์ (Mary Shelley) มีทั้งความคิดเห็นในเชิงบวกและเชิงลบจากเหล่านักวิจารณ์ แล้วหนึ่งในสาเหตุของการวิจารณ์ก็คือเสื้อผ้าของตัวละครหลัก โดยพวกเธอดูเหมือนผู้หญิงที่สวมใส่ชุดพวกนี้ในยุคใหม่มากกว่าชุดที่ใส่กันในตอนต้นของศตวรรษที่ 19

นักออกแบบเครื่องแต่งกายชอบผ้าลินินมากกว่าผ้าฝ้ายและผ้าขนสัตว์ ดังนั้นชุดทั้งหมดจึงดูยับและไม่มีรูปทรง แล้วชุดสีชมพูนี้ก็น่าจะเป็นชุดที่แย่ที่สุดของหนังเรื่องนี้ มีทั้งรอยย่นและเสื้อถัก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่มีความสมจริงในช่วงยุคดังกล่าว

ไม่มีชุดสีสันสดใสอยู่ในศตวรรษที่ 18

ในเรื่อง แฟร์เวล, มายควีน (Farewell, My Queen) ได้แสดงเรื่องราวชีวิตในราชสำนักฝรั่งเศสช่วงปลายศตวรรษที่ 18 โดยผู้หญิงสวมเสื้อผ้าสีสดใสทุกประเภท ตัวอย่างเช่นเวอร์จินี่ เลโดเยน (Virginie Ledoyen) ที่สวมใส่ชุดสีเขียวที่น่าตื่นตาตื่นใจชุดนี้ แน่นอนว่าผ้าในอดีตมีการย้อมสีก็จริง แต่ก็แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะได้สีที่สดใสแบบนี้ เพราะโดยปกติแล้วสีจะอ่อนและซีดจางกว่า

ไม่ได้ติดริบบิ้นที่ด้านบนของหมวก

เนื้อเรื่องของหนัง คืนชีพกองทัพโจรสลัดสยองโลก (Pirates of the Caribbean: The Curse of the Black Pearl) เกิดขึ้นในต้นศตวรรษที่ 18 และหมวกของเอลิซาเบธ (Elizabeth) ก็ดูสมจริง เพราะหมวกฟางมักจะผูกด้วยริบบิ้น แต่ทว่าริบบิ้นควรอยู่ใต้หมวก ไม่ใช่ด้านบนของหมวก แล้วก็ไม่มีใครทำหมวกทรงโค้งแบบนั้น

เสื้อคลุมผ้าลูกไม้เป็นตัวเลือกที่กล้าหาญมากสำหรับศตวรรษที่ 17

ผู้สร้างหนังเรื่อง เลิฟ แอนด์ เฟรนด์ชิพ (Love & Friendship) ใช้ความระมัดระวังอย่างมากกับชุดสูทผู้ชายของหนังเรื่องนี้ ส่วนใหญ่แล้วพวกมันดูสมจริง แถมยังสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตัวละครหลักอีกด้วย แต่ทว่านักออกแบบเครื่องแต่งกายคงใช้อิสระในการออกแบบมากไปหน่อย เพราะในยุคนั้นไม่มีเสื้อคลุมผ้าลูกไม้

แดฟเน่ลืมม้วนผมหน้าม้า

แม้ว่าซีรีส์เรื่อง บริดเจอร์ตัน: วังวนรัก เกมไฮโซ (Bridgerton) จะไม่พยายามทำให้สมจริงตามประวัติศาสตร์ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว รูปลักษณ์ของตัวละครก็ตรงกับยุคนั้น แต่ก็มีหลุดบ้างในเรื่องทรงผม เพราะสมัยนั้นผู้หญิงมักจะม้วนผมหน้าม้า ดังนั้นในตอนที่ตัวละครแดฟเน่ (Daphne) มีผมหน้าม้าตรงปิดหน้าผากของเธอ เธอจึงดูเหมือนกับตัวละครนาตาชา รอสโตว่า (Natasha Rostova) ที่เล่นโดยออเดรย์ เฮปเบิร์น (Audrey Hepburn) มากกว่าเด็กสาวในยุครีเจนซี่

ไม่มีชุดเกราะสำหรับหญิงตั้งครรภ์

ซีรีส์เรื่อง เดอะ สแปนิช ปริ้นเซส (The Spanish Princess) เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของแคทเธอรีนแห่งอารากอน (Catherine of Aragon) ซึ่งเป็นภรรยาคนแรกของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 (Henry VIII) ในตอนหนึ่งของซีรีส์ ราชินีต้องปกป้องดินแดนใหม่ของเธอเอง ดังนั้นเธอจึงสวมชุดเกราะ ซึ่งก็เป็นไปได้ที่ผู้หญิงจะเป็นผู้นำในการเกณฑ์ทหารหรือเข้าร่วมในการรบ แต่ไม่มีหลักฐานว่าในยุคกลาง ผู้หญิงมีชุดเกราะชนิดพิเศษ

เสื้อเกราะที่พอดีกับหุ่นของผู้หญิงอาจเป็นอันตรายได้ โดยจุดประสงค์ของเกราะคือการเบี่ยงคบดาบที่ปักลงมาบนโลหะ และหากมีใครใช้เสื้อเกราะแบบเดียวกับที่แคทเธอรีนแห่งอารากอนทำในหนัง ผลลัพธ์ก็คงเสียหายมาก

ในศตวรรษที่ 15 ผู้หญิงไม่ชอบการร้อยเชือกมากนัก

ในหนังแนวประวัติศาสตร์ คุณมักจะเห็นตัวละครหญิงในชุดที่มีเชือกร้อย แต่ในศตวรรษที่ 15 มันคือสิ่งที่ถูกใช้งานจริงเท่านั้นและไม่เคยนำไปตกแต่ง จึงทำให้เป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงผู้หญิงที่จะใช้เวลานานในแต่ละวันในการผูกเชือกด้านหน้า หลัง และแขนเสื้อ ดังนั้นในศตวรรษที่ 15 ไม่มีชุดไหนที่เหมือนกับชุดที่เราเห็นในเรื่อง เดอะ ไวท์ ปริ้นเซส (The White Princess)

ในความคิดเห็นของคุณ เครื่องแต่งกายในหนังแนวประวัติศาสตร์ควรดูน่าดึงดูดและมีชีวิตชีวา หรือว่าควรดูสมจริงมากกว่ากันนะ ?

ชีวิตสดใส/ภาพยนตร์/15 ครั้งที่นักออกแบบเครื่องแต่งกายของหนังแนวประวัติศาสตร์ได้ทำผิดพลาดครั้งใหญ่
แชร์บทความนี้