ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

7 ภาพยนตร์สุดคลาสสิกที่สร้างจากเรื่องจริง แต่มีการแอบบิดเบือนข้อมูลเพียงเล็กน้อยเพื่อความบันเทิง

การที่จะสร้างภาพยนตร์จากเรื่องจริงนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องถ่ายทอดเหตุการณ์เหล่านั้นออกมาให้ได้อย่างซื่อสัตย์ ในขณะเดียวกันก็ต้องสร้างความบันเทิงให้เกิดขึ้นด้วย และก็ต้องทำให้ทุกอย่างสอดคล้องกัน โดยที่เรื่องราวเหล่านั้นจะต้องมีหน้าที่ของตัวมันเอง สิ่งเหล่านี้ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากมายจากความถูกต้องบางประการในประวัติศาสตร์

ชีวิตสดใสจะให้คุณได้เห็นภาพยนตร์บางเรื่องที่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องราวบางส่วนจากความเป็นจริง เพื่อทำให้ภาพยนตร์มีความสบาย ๆ มากขึ้น

1. จริง ๆ แล้วจอห์น แนชไม่ได้พูดสุนทรพจน์ซึ้ง ๆ อะไรเลยตอนที่ขึ้นรับรางวัลโนเบล ไม่เหมือนอย่างที่เห็นในเรื่องผู้ชายหลายมิติ

ภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลออสการ์เรื่อง ผู้ชายหลายมิติ (A Beautiful Mind) มีการเสริมเติมแต่งบทลงไปมากมายระหว่างการบอกเล่าเรื่องของนักคณิตศาสตร์จอห์น แนช (John Nash) โดยหนึ่งในเรื่องที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือเมื่อเขาได้ขึ้นรับรางวัลโนเบลด้านเศรษฐศาสตร์ เขาไม่เคยกล่าวสุนทรพจน์ซึ้ง ๆ ซึ่งพูดถึงเรื่องความรักอะไรนั่นแม้แต่น้อย ในชีวิตจริงนั้นเขาไม่ได้กล่าวหรืออ่านสุนทรพจน์ใด ๆ เลยด้วยซ้ำเมื่อขึ้นรับรางวัล

2. ตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยเฉพาะในภาพยนตร์เรื่อง สอนโลกให้รู้จักกล้า

ภาพยนตร์เรื่องสอนโลกให้รู้จักกล้า (The Dallas Buyers Club) คือภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นจากเรื่องจริงส่วนหนึ่งที่บอกเล่าเรื่องราวหนักหน่วงที่แสนซาบซึ้งกินใจ ซึ่งทำให้ แมทธิว แม็คคอนาเฮย์ (Matthew McConaughey) ได้รับรางวัลออสการ์สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากการแสดงอันแสนสุดยอดของเขา ในเรื่องนี้ ตัวละครที่เป็นคนที่มีอยู่จริงบางตัวได้ถูกตัดทิ้งไป (เช่น น้องสาวของตัวเอกและลูกสาวของเขา) และยังมีตัวละครอื่น ๆ ที่ถูกเสริมเติมแต่งเข้ามา เช่น บทของคุณหมอที่รับบทโดยเจนนิเฟอร์ การ์เนอร์ (Jennifer Garner) และอีกตัวละครที่รับบทโดยจาเร็ด เลโต้ (Jared Leto)

3. จริง ๆ แล้วไมเคิล ออร์ รู้วิธีการเล่นรักบี้มาตั้งแต่ก่อนจะถูกรับเลี้ยง ไม่เหมือนกับที่เราเห็นในภาพยนตร์เรื่อง แม่ผู้นี้มีแต่รักแท้

ภาพยนตร์เรื่อง แม่ผู้นี้มีแต่รักแท้ (The Blind Side) ที่บอกเล่าเรื่องราวของ ไมเคิล ออร์ (Michael Oher) ได้อย่างซาบซึ้งตรึงใจ ถึงการที่ทั้งเขาและตัวละครที่แสดงโดย แซนดร้า บูลล็อก (Sandra Bullock) ร่วมกันฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จในวงการอเมริกันฟุตบอล

อย่างไรก็ตาม ตัวของไมเคิลเองนั้นไม่ได้ชอบสิ่งที่ภาพยนตร์นำเสนอภาพของเขาออกมานัก เพราะจริง ๆ แล้วติวเตอร์ของเขาต่างหากที่เป็นคนสอนหลักการพื้นฐานต่าง ๆ ในเกมการแข่งขันให้แก่เขา โดยนักรักบี้ได้กล่าวว่า “ผมเรียนรู้เกมการแข่งขัน เรียนรู้อย่างจริง ๆ จัง ๆ มาตั้งแต่ผมยังเป็นเด็ก”

4. ไม่เหมือนในภาพยนตร์เรื่อง ฝ่านาทีพิฆาต โจรสลัดระทึกโลก จริง ๆ แล้วกัปตันไม่ได้เป็นฮีโร่เหมือนที่หนังถ่ายทอดออกมา

ภาพยนตร์เรื่อง ฝ่านาทีพิฆาต โจรสลัดระทึกโลก (Captain Phillips) คือภาพยนตร์ที่เล่าถึงมหากาพย์ความทุกข์ทรมานบนเรือบรรทุกสินค้า หลังจากถูกโจรสลัดบุกขึ้นเรือมา โดยในเรื่องนี้ ตัวกัปตันที่รับบทโดย ทอม แฮงส์ (Tom Hanks) รับบทเป็นฮีโร่ผู้รับมือกับสถานการณ์ความตึงเครียดทั้งหมดบนเรือ

อย่างไรก็ตาม ลูกเรือหลายคนที่อยู่บนนั้นในเวลานั้นต่างไม่เห็นพ้องกับแง่มุมที่หนังเรื่องนี้นำเสนอ โดยพวกเขาต่างยืนยันว่ามันเป็นความไร้ความรับผิดชอบของกัปตันตั้งแต่แรกที่ทำให้พวกเขาต้องตกอยู่ในสถานการณ์นั้น

5. ในความเป็นจริง แมรี่ต่างหากที่เป็นพี่สาวของแอนน์ ไม่เหมือนกับที่เห็นในภาพยนตร์เรื่อง บัลลังก์รัก ฉาวโลก

ภาพยนตร์เรื่อง บัลลังก์รัก ฉาวโลก (The Other Boleyn Girl) คือภาพยนตร์ที่บอกเล่าเรื่องจริงของสองศรีพี่น้องพระราชินีแอนน์ (Anne) และแมรี่ (Mary) กับความขัดแย้งของพวกเธอในเรื่องความรักที่มีต่อกษัตริย์แห่งอังกฤษ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 (Henry VIII) แน่นอนว่าต้องมีข้อถกเถียงเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในเรื่องความแตกต่างของอายุระหว่างสองศรีพี่น้องคู่นี้ ถึงแม้ว่านักประวัติศาสตร์หลายท่านจะออกมาอ้างว่าจริง ๆ แล้ว มาเรีย (Maria) ต่างหากที่เป็นพี่สาว

อย่างไรก็ตาม ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ตัดสินใจที่จะถ่ายทอดให้ แอนนา (Anna) เป็นพี่สาวและให้มาเรียเป็นน้องสาวแทน

6. วงควีนไม่เคยห่างหายไปจากเวทีคอนเสิร์ตเป็นปี ๆ เหมือนที่ภาพยนตร์ โบฮีเมียน แรปโซดี ว่าไว้

ภาพยนตร์เรื่องโบฮีเมียน แรปโซดี (Bohemian Rhapsody) ใช้ประโยชน์จากสัญญาข้อตกลงเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานในการดัดแปลงเสริมแต่งเข้าไปเพียบเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของ เฟรดดี้ เมอร์คิวรี่ (Freddie Mercury) กับวงในตำนานอย่าง ควีน (Queen) เรื่องหนึ่งที่กระฉ่อนที่สุดก็คือตอนที่บอกเล่าถึงการขึ้นเวทีคอนเสิร์ตไลฟ์เอดส์ (Live Aid) ในภาพยนตร์ ว่าเป็นการกลับขึ้นมาบนเวทีแสดงอีกครั้งหลังจากที่วงห่างหายไปนานหลายปี เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง เพราะวงควีนเพิ่งไปทัวร์คอนเสิร์ตจบมาได้ 2 เดือนก่อนการแสดงครั้งใหญ่ในครั้งนั้น

7. เหตุการณ์ต่าง ๆ ในเรื่อง มนต์รักเพลงสวรรค์ นั้น เกิดขึ้นก่อนที่เรื่องนั้นจะเกิดขึ้นจริง ๆ เสียอีก

ภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักเพลงสวรรค์ (The Sound of Music ) ถือเป็นหนึ่งในภาพยนตร์สุดคลาสสิกที่ยอดเยี่ยมที่สุดในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ โดยได้รับการส่งเสริมจากการแสดงอันยอดเยี่ยมของนักแสดงในตำนานอย่าง จูลี แอนดรูส์ (Julie Andrews) ในขณะที่ในฉากของภาพยนตร์เรื่องนี้ตั้งใจถ่ายทำให้ออกมาอยู่ในช่วงประมาณปี 1938 แต่ในความจริงแล้วตัวละคร มาเรีย ฟอน แทรปป์ (Maria von Trapp) เพิ่งได้รับการแนะนำให้รู้จักกับครอบครัวฟอน แทรปป์เมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านั้นเอง ราว ๆ ปี 1926 เห็นจะได้

คุณจำได้ไหมว่ามีหนังเรื่องไหนอีกไหมที่มีความผิดพลาดคล้าย ๆ กัน ? คุณคิดว่าจริง ๆ แล้วความผิดพลาดเหล่านั้นหลีกเลี่ยงได้หรือไม่ หรือคุณคิดว่าสิ่งที่เติมแต่งเข้าไปกลับทำให้เรื่องราวดียิ่งขึ้น ?

ชีวิตสดใส/ภาพยนตร์/7 ภาพยนตร์สุดคลาสสิกที่สร้างจากเรื่องจริง แต่มีการแอบบิดเบือนข้อมูลเพียงเล็กน้อยเพื่อความบันเทิง
แชร์บทความนี้