ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

10 นิสัยในการทำอาหารที่เราต่างไม่รู้ว่ามันเป็นอันตรายได้

การทำอาหารที่บ้านมีข้อดีหลายอย่าง โดยงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าการทานอาหารที่ปรุงขึ้นเองที่บ้านบ่อยขึ้น ช่วยให้คุณตอบสนองความต้องการด้านสารอาหารที่จำเป็นทั้งหมดได้ อย่างไรก็ตามการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์บางอย่างก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพื่อทำให้อาหารของคุณนั้นสามารถทานได้อย่างปลอดภัย

พวกเราที่ชีวิตสดใสได้ตัดสินใจที่จะเจาะลึกลงไปในเรื่องนี้และค้นหาข้อผิดพลาดทั่ว ๆ ไปที่เราทุกคนทำในขณะที่ทำอาหาร

เป็นไปไม่ได้เลยที่จะจำแนกแบคทีเรียที่เป็นอันตรายด้วยการดูรูปลักษณ์ภายนอกหรือชิมรสชาติของอาหาร อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่งแบคทีเรียจำนวนเล็กน้อยก็สามารถนำไปสู่โรคอาหารเป็นพิษที่ร้ายแรงได้ ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ ให้ทิ้งผลิตภัณฑ์ใด ๆ ก็ตามที่คุณสงสัยว่ามันเน่าเสียแล้ว

1. ละลายน้ำแข็งเนื้อสัตว์ด้านนอก

ช่วงอุณหภูมิที่ถือว่าเสี่ยงในการจัดเก็บอาหารอยู่ที่ 5 ถึง 60 องศาเซลเซียส เพราะที่อุณหภูมินี้ แบคทีเรียในอาหารที่เป็นอันตรายสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว นี่จึงเป็นเหตุผลที่คุณควรละลายเนื้อสัตว์เฉพาะในตู้เย็นหรือในไมโครเวฟเท่านั้น

2. ล้างเนื้อดิบ

เรามีความคิดที่ว่าเมื่อเราล้างอะไรบางอย่างแล้ว จะถือว่าเราได้ทำความสะอาดมัน แต่ทว่าสิ่งนี้ไม่เป็นความจริงในกรณีของเนื้อสัตว์ เพราะผู้เชี่ยวชาญไม่แนะนำให้ล้างเนื้อสัตว์ปีก เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ หรือเนื้อลูกวัวที่ยังดิบ ๆ ก่อนปรุงอาหาร ซึ่งสาเหตุก็เป็นเพราะแบคทีเรียจากเนื้อสัตว์สามารถแพร่กระจายไปยังผลิตภัณฑ์ พื้นผิว และเครื่องใช้อื่น ๆ ได้ง่าย

3. ทิ้งให้อาหารเย็นก่อนเอาเข้าตู้เย็น

กฎนี้มีเหตุผลเดียวกันกับการละลายน้ำแข็งเนื้อสัตว์ด้านนอกที่เป็นความคิดที่ไม่ดี เพราะแบคทีเรียจะเติบโตอย่างรวดเร็วที่อุณหภูมิ 5 ถึง 60 องศาเซลเซียส ด้วยเหตุนี้เอง การปล่อยผลิตภัณฑ์ที่เน่าเสียง่ายทิ้งไว้นอกตู้เย็นเป็นเวลานานกว่า 1 หรือ 2 ชั่วโมงจึงเป็นอันตรายอย่างยิ่ง

4. ลองชิมอาหารดูว่าบูดไหม

เป็นไปไม่ได้เลยที่จะจำแนกแบคทีเรียที่เป็นอันตรายด้วยการดูรูปลักษณ์ภายนอกหรือชิมรสชาติของอาหาร อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่งแบคทีเรียจำนวนเล็กน้อยก็สามารถนำไปสู่โรคอาหารเป็นพิษที่ร้ายแรงได้ ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ ให้ทิ้งผลิตภัณฑ์ใด ๆ ก็ตามที่คุณสงสัยว่ามันเน่าเสียแล้ว

5. ลองชิมแป้งดิบ

คุณไม่ควรกินไข่ดิบในรูปแบบใด ๆ ก็ตาม เพราะมีความเป็นไปได้สูงที่มันจะมีแบคทีเรียที่เรียกว่าซัลโมเนลล่า (salmonella) ซึ่งค่อนข้างเป็นอันตรายต่อคน ยิ่งไปกว่านั้นอย่าลองชิมแป้งดิบถึงแม้มันจะไม่ได้ใส่ไข่ก็ตาม เพราะแป้งสามารถเป็นพาหะนำเชื้ออีโคไล (E. coli) ที่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อต่าง ๆ ได้

6. หมักเนื้อหรือปลาทิ้งไว้ข้างนอก

นี่เป็นอีกข้อผิดพลาดในการทำอาหารทั่ว ๆ ไปที่อาจนำไปสู่โรคอาหารเป็นพิษได้ จึงขอย้ำอีกครั้งว่าให้คุณจำเรื่องช่วงอุณหภูมิที่เสี่ยงต่อการเติบโตของแบคทีเรียไว้เสมอ ดังนั้นหากคุณหมักเนื้อสัตว์ไว้นอกตู้เย็น ก็จะถือว่าคุณละเมิดกฎในข้อนี้แล้วนะ

7. เนื้อหรือปลาที่ไม่สุก

อาหารจะถือว่าปลอดภัยก็ต่อเมื่อได้รับความร้อนจนถึงอุณหภูมิที่กำหนดเท่านั้น นี่จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อให้มั่นใจได้ว่าแบคทีเรียทั้งหมดจะหายไป ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าปลาหรือเนื้อสุกดีแล้ว คุณสามารถใช้เครื่องวัดอุณหภูมิในครัวได้

8. ไม่ล้างมือก่อนทำอาหาร

แบคทีเรียอาศัยอยู่บนพื้นผิวทั้งหมด แม้กระทั่งมือของเรา ดังนั้นลองให้คุณนึกภาพดูว่าคุณได้สัมผัสอะไรมาบ้างหลายอย่างในระหว่างวัน และเมื่อคุณเริ่มทำอาหารโดยที่ไม่ล้างมือ คุณก็สามารถส่งต่อแบคทีเรียเหล่านั้นไปยังอาหารของคุณได้ แล้วก็อย่าลืมล้างมือหลังจากทำอาหารเสร็จด้วย !

9. ซื้อไก่ในน้ำเกลือหรือไก่ฉีดน้ำ

ผู้ผลิตสัตว์ปีกจำนวนมากฉีดน้ำเกลือหรือน้ำเข้าไปในเนื้อไก่เพื่อเพิ่มน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ อย่างแรกเลยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ปลอดภัยนัก ดังนั้นควรใส่ใจในการเลือกซื้อไก่และอ่านส่วนผสมที่เพิ่มเข้าไปอย่างละเอียด เพราะสิ่งที่เพิ่มเติมเหล่านี้ยังสามารถส่งผลต่อรสชาติอาหารของคุณได้อีกด้วย

10. การนำน้ำผึ้งไปสัมผัสกับอุณหภูมิสูง

จากงานวิจัยพบว่าการนำน้ำผึ้งไปสัมผัสกับอุณหภูมิสูงอาจทำให้คุณภาพของน้ำผึ้งลดลง และอาจนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของสารก่อมะเร็งบางชนิด ดังนั้นจึงเป็นการดีกว่าที่จะไม่ใส่น้ำผึ้งลงในชาหรืออาหารร้อน ๆ

คุณมีเคล็ดลับในการทำอาหารเพื่อให้ปลอดภัยในการทานกันบ้างมั้ย ? มาร่วมแบ่งปันเคล็ดลับของคุณให้กับชุมชนชีวิตสดใสกันเถอะ !

เครดิตภาพพรีวิว shutterstock.com, shutterstock.com
แชร์บทความนี้