ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

15 คำพูดที่ดูเหมือนไม่เป็นพิษเป็นภัยจากพ่อแม่ที่สามารถส่งเสียงสะท้อนถึงอนาคตของลูกได้

ถนนที่นำไปสู่การพบนักจิตบำบัดอันเป็นที่รักถูกปูด้วยความตั้งใจดีของพ่อแม่ของเรา ซึ่งในกรณีส่วนใหญ่แล้ว พ่อแม่ของเราก็ต้องการมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้เราเท่านั้น แต่หลายปีผ่านไป ลูก ๆ ที่โตเป็นผู้ใหญ่แล้วของพวกเขากลับต่อสู้ดิ้นรนเพื่อก้าวผ่านผลกระทบที่เกิดมาจากการอบรมเลี้ยงดู ยิ่งไปกว่านั้นพวกเขาส่วนหนึ่งดันทำซ้ำความผิดพลาดของพ่อแม่ตัวเองด้วยการพูดประโยคเดียวกันกับลูก ๆ ของพวกเขา ซึ่งก่อนหน้านั้นพวกเขาก็เคยเจ็บปวดกับคำพูดเหล่านั้นมา

พวกเราที่ชีวิตสดใสได้รวบรวมบรรดาคำพูดและข้อความที่ทำร้ายผู้ใหญ่ในทุกวันนี้มากที่สุด เพื่อค้นหาดูว่าคำพูดที่ดูเหมือนไม่เป็นพิษเป็นภัยเหล่านี้ได้ส่งผลต่อชีวิตของพวกเขามากน้อยแค่ไหนกัน

“ไม่มีอะไรในบ้านหลังนี้ซักอย่างที่เป็นของแก !”

พ่อแม่บางคนเชื่อว่าลูกไม่มีสิทธิส่วนบุคคลเป็นของตนเองจนกว่าพวกเขาจะสามารถหาเงินเลี้ยงตนเองได้ ซึ่งหมายความว่าก่อนช่วงเวลานี้ พ่อแม่อาจไม่สนใจความคิดเห็น ความรู้สึก และความต้องการเฉพาะของลูก แล้วแนวคิดที่เป็นพิษที่ว่าคน ๆ นึงนั้นไม่มีตัวตนจนกว่าพวกเขาจะเริ่มหาเงินได้ด้วยตัวเอง สิ่งนี้ได้เลี้ยงเด็กให้โตมาเป็นคนบ้างานในทางที่ไม่ดี

ลูก ๆ ที่ตั้งแต่วัยเด็กได้ซึมซับความคิดที่ว่าไม่มีอะไรในบ้านของพ่อแม่ที่เป็นของพวกเขา ซ้ำยังไม่เคยรู้สึกถึงความอุ่นใจ ได้ทำให้พวกเขาสูญเสียวัยเด็ก มีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล มีความรู้สึกเหนื่อยล้าในความรู้สึกผิดและความละอาย แถมยังรวมไปถึงการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำด้วย แล้วสิ่งเหล่านี้ก็เป็นเพียงผลที่ตามมาของการเลี้ยงดูประเภทนี้อยู่บ่อยครั้ง

ทัศนคติของพ่อแม่แบบนี้จะกระตุ้นให้วัยรุ่นอยากแยกตัวไปจากพ่อแม่เร็ว ๆ เพื่อที่จะได้มีโลกใบเล็ก ๆ เป็นของตัวเอง หรืออย่างน้อยก็มีความมั่นคงบ้าง ถึงแม้ว่าจะเป็นห้องในหอพักที่เป็นภาพลวงตาของพื้นที่ “ของตัวเอง” ก็ตาม ซึ่งตามหลักแล้ว คนเหล่านี้ทำงานหนักก็เพราะว่านั่นเป็นเพียงวิธีเดียวที่ทำให้พวกเขารู้สึกมีความสำคัญ

  • ฉัน: “แม่คะ ช่วยเคาะประตูก่อนเข้าห้องหนูหน่อยได้มั้ย ? การที่หนูไม่มีพื้นที่ส่วนตัวเลยคือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หนูวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลาค่ะ” แม่: “แกหมายความว่าไง ? นี่มันอพาร์ตเมนต์ของฉันนะ ! ชั้นควรย้ายออกไป เพื่อที่จะได้ไม่รบกวนพื้นที่ส่วนตัวของแกเหรอ !?” © sviatayalojka / Twitter
  • “แกไม่มีอะไรเลยซักอย่างที่เป็นของแก แม้แต่ตัวแกก็เกิดมาจากชั้น แกยังหาเงินไม่ได้ซักบาท แต่แกล้งทำเป็นคนมีความเป็นส่วนตัว” คำพูดนี้คอยติดตามฉันมาตั้งแต่อายุ 5 ขวบจนถึง 18 ปี ฉันพักไม่ได้ ฉันกลัวที่จะตกงานหรือเปลี่ยนงานมาก ๆ เพราะอาจจะต้องหยุดมีรายได้ แล้วฉันก็มีปัญหาในการแสดงอารมณ์ความรู้สึกออกมาดัง ๆ © Kseniya Gerasimyak / Yandex Zen

“อยู่ให้ห่างจากการพูดคุยของผู้ใหญ่”

สำหรับพ่อแม่หลาย ๆ คนคิดว่าลูกของพวกเขามักจะเป็นเด็กโง่อยู่เสมอ และไม่สำคัญว่าลูกของพวกเขาจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม (5,15 หรือ 50 ปี) เพราะดูเหมือนว่าลูกของพวกเขาจะไม่สามารถพูดคุยอย่างจริงจังในแบบผู้ใหญ่ได้ และมันก็ยังเร็วเกินไปสำหรับพวกเขาที่จะมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งใด ๆ ก็ตามเป็นของตนเอง อีกทั้งพ่อแม่เหล่านี้ไม่ถือว่าลูกเป็นปัจเจกชน และลูก ๆ ของพวกเขาก็รู้สึกแบบนั้นอย่างเต็มที่

หลายปีผ่านไปสิ่งนี้สามารถส่งเสียงสะท้อนในความจริงที่ว่าเด็กที่โตขึ้นจะรู้สึกอายที่จะแสดงความคิดเห็นต่อหน้าผู้ใหญ่ (ครู ,หัวหน้า) และจะคิดว่าความคิดของพวกเขานั้นไม่มีความสำคัญและไม่สมควรได้รับความสนใจ อีกทั้งจะขัดขวางไม่ให้เด็กได้เปิดเผยความสามารถของพวกเขาในการเรียน ตลอดจนการสร้างอาชีพที่ประสบความสำเร็จ

  • แม่ของฉันชื่นชอบประโยคนี้ ตัวอย่างเช่น เมื่อเพื่อนของแม่แวะมาเยี่ยมพวกเรา และพวกเขาเริ่มนึกถึงหนังเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจอยู่ที่ฉันเคยดูและก็ยินดีที่จะพูดคุยด้วย แม่จะพูดว่า “อย่าไปยุ่งเรื่องของผู้ใหญ่นะ !” เมื่อเพื่อนคนนึงของแม่ได้ยินก็พูดว่า “ทำไมเธอถึงปิดกั้นลูกล่ะ ปล่อยให้แกได้พูดเหอะ” แต่คำตอบก็คือ “เขาไม่ควรเข้าไปยุ่งในตอนที่ผู้ใหญ่เขาคุยกัน” ตอนนั้นฉันยังเป็นวัยรุ่น และในประโยคนี้ฉันได้ยินเสียงที่บอกว่า “อย่าได้พยายามเลย แกมันงี่เง่าและก็ไม่รู้เรื่องอะไรหรอก” © Kaoma777 / AdMe

“หากฉันจำไม่ได้ นั่นแสดงว่ามันไม่ได้เกิดขึ้น”

ทุกวันนี้พวกเราหลายคนรู้เรื่องการหลอกลวงด้วยการโกหกและรู้ดีว่าการปฏิเสธในเหตุการณ์จริง ๆ คือรูปแบบหนึ่งของความรุนแรงทางจิตใจ แต่ในวัยเด็กพวกเราหลายคนต่างได้ยินประโยคที่ว่า “หนูคิดไปเองทั้งนั้น ! มันไม่เคยเกิดขึ้นเลย !” จากปากพ่อแม่ของเราที่ไม่ต้องการที่จะยอมรับความผิดพลาดของพวกเขา

นี่เป็นผลให้เด็กเริ่มสงสัยในความพอดีของการรับรู้ความจริงและประโยชน์ของความจำของตนเอง ซึ่งสิ่งนี้ส่งผลเสียต่อความสามารถในการไว้วางใจในตนเองและโลกของพวกเขา เพราะว่าแม้แต่พ่อแม่ของพวกเขาเองยังแสดงให้พวกเขาเห็นว่ามีบางอย่างที่ผิดปกติ เพราะพวกเขานั้นจดจำสิ่งต่าง ๆ ที่จริง ๆ แล้ว “ไม่เคยเกิดขึ้นเลย”

  • ฉันกำลังทำงานอยู่กับลูกค้ารายหนึ่ง ซึ่งแม่ของเธอได้ไล่เธอตรงบันไดขณะที่เธออยู่ในชุดชั้นในวัย 13 ปี โดยพูดว่า “ออกไปจากตรงนี้เลยนะ แกไม่ได้เป็นเจ้าของอะไรในบ้านหลังนี้ซักอย่าง !” ทำไมน่ะเหรอ ? เพราะเด็กสาวคนนี้กล้าพูดกับเธอว่า “ที่นี่เป็นบ้านของหนูด้วย !” จากนั้นเพื่อนบ้านก็ปล่อยให้เด็กสาวรออยู่ที่บ้านของเขาจนกว่าอารมณ์ฉุนเฉียวแม่ของเธอจะสงบลง เมื่อลูกสาวพยายามเตือนแม่ของเธอเกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้นมา เธอก็พูดว่า “มันไม่น่าจะเกิดขึ้นเลย ฉันไม่กล้ามองหน้าเพื่อนบ้านของเราได้อีก แกสร้างเรื่องขึ้นมาทั้งหมด !” © lfeey / Pikabu

“ลูกไม่ควรขัดใจผู้หญิง”

นี่อาจเป็นคำแนะนำที่ถูกต้อง เพราะลูกผู้ชายตัวจริงควรปกป้องตัวแทนของคนครึ่งโลกที่อ่อนแอกว่า โดยการให้ความช่วยเหลือและยอมพวกเธอ ซึ่งทุกอย่างก็เป็นไปด้วยดีจนมาถึงช่วงเวลาที่เด็กผู้หญิงเริ่มใช้สิทธิพิเศษ เพื่อเอาเปรียบเด็กผู้ชายหรือประพฤติตัวไม่เหมาะสม ในขณะที่เด็กผู้ชายที่เติบโตมาอย่างดีทำได้แค่ยืนอยู่ตรงนั้นและรับการล้อเลียนจากเพื่อนผู้หญิงของเขา

ในที่สุดพวกเขาก็เติบโตเป็นผู้ชายที่กลัวผู้หญิงไปโดยปริยาย และพวกเขาก็ไม่สามารถปฏิเสธทางวาจาได้แม้ในกรณีที่ผู้หญิงได้ข้ามเส้นในทุก ๆ เรื่อง สิ่งนั้นได้กลายเป็นเมื่อแนวทางที่ควรจะป้องกันความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับคนประเภทหนึ่ง แต่กลับนำไปสู่การเกิดความรุนแรงที่สังคมยอมรับได้เหนือสิ่งอื่นใด แล้วผู้ชายในกรณีนี้ก็รู้สึกอายที่จะเรียกร้องหรือเผชิญหน้ากับมัน

  • “แกไม่ควรขัดใจผู้หญิงนะ !” เป็นประโยคที่บ้าและงี่เง่าที่สุดที่ได้รับความนิยมในหมู่พ่อแม่ของเด็กผู้ชาย ซึ่งนั่นหมายความว่าเด็กผู้หญิงที่ก๋ากั่นบางคนสามารถเขกหัวเด็กผู้ชายได้ ฉีกหนังสือของเขา ทำนิสัยเสียใส่เขาในโซเชียลมีเดียก็ได้ แล้วเธอก็จะไม่ประสบปัญหาอะไรจากมันเลย ! เพราะเธอเป็นผู้หญิง ! © Evgeniya Yavuz-Ponomareva / Facebook

“แกทำลายทุกอย่างเลย”

มีเพียงไม่กี่คนที่สามารถทำบางอย่างที่เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดสำหรับพวกเขาได้ดีตั้งแต่ครั้งแรกหรือครั้งที่สอง เพราะคนเราต้องการประสบการณ์ ทักษะ และนิสัย แล้วการทำผิดพลาดก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยเด็ก ซึ่งไม่ใช่เรื่องปกติที่จะโยนความรับผิดชอบทั้งหมดไปให้กับเด็กสำหรับความผิดพลาดของพวกเขา เพราะถ้าพ่อแม่ยังไม่ได้สอนลูกอะไรซักอย่างในสิ่งนั้นเลย นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของเด็ก

เมื่อเวลาผ่านไป เด็กเล็ก ๆ ที่ได้ยินคำพูดเหล่านี้เป็นประจำจะหยุดพยายามทำอะไรเพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกผิด แล้วที่แย่ไปกว่านั้นก็คือเด็กอาจเริ่มคิดว่าตัวเองเป็นต้นเหตุของปัญหาทั้งหมดของพ่อแม่ และพวกเขาก็อาจเชื่อว่าตัวเองไม่ดีพอ และไม่สมควรได้รับความรักหรือสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่

  • มีตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติในห้างของเราที่ผู้คนสามารถคีบของเล่นขึ้นมาโดยใช้จอยสติ๊ก แล้วเมื่อวานนี้ มีแม่กับลูกชายวัยประมาณ 4 ขวบของเธอได้ใช้ตู้นั้น แม่กำลังเลื่อนจอยสติ๊ก ส่วนลูกก็เตรียมพร้อมที่จะกดปุ่มเพื่อรับของเล่นจากตัวคีบของโดยเฉพาะ เมื่อลูกกดปุ่มลงไป เขาคีบของเล่นไม่ได้ แล้วแม่ก็เริ่มกรีดร้องว่า “แกทำทุกอย่างพังตลอดเลย !” โถ เด็กน้อยผู้น่าสงสาร ! © RukaLizo / Pikabu

“ลูกสามารถทำได้ดีกว่านี้”

มีช่องว่างในเรื่องการทำให้ดีขึ้นอยู่เสมอ แต่พ่อแม่หลายคนกลับคิดต่าง เพราะตั้งแต่ก้าวแรกของลูก ๆ พวกเขาได้มอบหมายในเรื่องที่ยากจะทำได้ให้กับลูกของพวกเขา และลูก ๆ จะต้องฟันฝ่าด่านต่าง ๆ มากมายเพื่อพิชิตให้สำเร็จ แต่ในขณะเดียวกันผู้ใหญ่มักจะลืมให้รางวัลลูก ๆ ในความสำเร็จของพวกเขา เพราะเห็นว่าสิ่งนั้นไม่ใช่เหตุผลที่จะรู้สึกภูมิใจ แต่เป็นแค่สัญญาณที่บอกว่าถึงเวลาต้องบรรลุเป้าหมายแค่นั้น

ลูกที่อยู่ในการแข่งขันแบบไม่มีวันจบสิ้นในอุดมคติของพ่อแม่ พวกเขาไม่รู้ว่าจะให้ความสำคัญกับตัวเองและสนุกไปกับขั้นตอนการทำงานของพวกเขาได้อย่างไร แล้วก็แน่นอนว่าเป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขาที่จะหลีกเลี่ยงโรคประสาทและความเครียด เนื่องจากพวกเขายังคงมีสิ่งที่ต้องคอยเผชิญรออยู่ข้างหน้าเสมอ ซึ่งเด็กเหล่านี้มักจะป่วย แล้วพวกเขาก็มักจะผัดวันประกันพรุ่งและออกนอกลู่นอกทาง เพราะเบื่อหน่ายกับความทะเยอทะยานของคนอื่น

  • แม่ของเพื่อนฉันมักจะพูดกับเธอว่า “หนูทำได้ดีกว่านี้นะ” แม่ไม่เคยยกย่องในผลลัพธ์เธอเลย เพื่อนของฉันไม่เคยรู้สึกมีความสุขกับความสำเร็จหรือแม้กระทั่งชัยชนะเล็ก ๆ น้อย ๆ ของเธอเอง เพราะคำว่า “เธอทำได้ดีกว่านี้” ต่อมาเธอสามารถเอาชนะมันได้และเริ่มเข้าใจว่าหากเธอทำอะไรได้ดี มันคือเรื่องจริงและเธอก็ควรที่จะรู้สึกมีความสุขไปกับมัน เธอทำได้ดีกว่านี้มั้ยหรือว่าเธอควรทำมันมั้ยนะ นี่เป็น 2 คำถามที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงเลยล่ะ © Irmali / AdMe
  • ตลอดชีวิตของฉัน ฉันจะพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ได้รับคำชม แล้วก็แทบไม่ได้ยินคำว่า “ทำได้ดีมาก” ฉันมักจะเห็นปฏิกิริยาที่ไม่แยแสเป็นปกติหรือการมองหาข้อผิดพลาด ในที่สุดฉันก็โตขึ้น แล้วกลายมาเป็นคนขี้เกียจที่เก็บตัว ซึ่งแทบจะไม่เคยสื่อสารกับใครเลย เพราะว่าฉันจะทำหรือพูดถึงมันไปทำไมกัน หากไม่มีใครเห็นคุณค่าของมัน © kaddyd / Pikabu

“แกจะหาทางจัดการได้แหละ”

คำพูดนี้มีหลายเวอร์ชั่น โดยมีตั้งแต่ “แกจะหาทางจัดการได้แหละ” ไปจนถึง “แกต้องการมากเกินไป” ความหมายของพวกเขาได้สรุปใจความสำคัญไปที่ความจริงที่ว่าเด็กควรลืมเรื่องความฝันและความต้องการของพวกเขาไป นี่ไม่ใช่เพราะพวกเขาไม่สามารถทำให้เป็นจริงได้ แต่เป็นเพราะพ่อแม่ไม่คิดว่าจำเป็นต้องเติมเต็มพวกเขา

เมื่อเวลาผ่านไป เด็ก ๆ ก็หยุดฝันเพราะพวกเขาเข้าใจว่ามันจะไม่เป็นจริง เพราะพวกเขารู้ว่าแทนที่จะได้ตุ๊กตาที่อยากได้วางไว้ใต้ต้นคริสต์มาส พวกเขานั้นจะได้เสื้อกันหนาว (มักจะมีขนาดใหญ่กว่าเพื่อให้ใส่ได้นานขึ้น) และแทนที่จะได้ออกไปกินขนมข้างนอก แม่ก็จะพูดว่า “ไม่มีอะไรกินที่บ้านเหรอ ?” (แม้ว่าจะไม่มีปัญหาทางการเงินในครอบครัวก็ตาม) ทำไมกันนะ ? “เพราะฉันตัดสินใจอย่างนั้น แล้วนั่นก็คือเหตุผล !”

  • ฉันถูกบอกอยู่เสมอว่า “ฝันต่อไป” เพื่อตอบสนองคำขอใด ๆ (ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับการซื้อของ) ก็ตาม และถูกบอกอีกว่า “มันไม่ได้สำคัญมากนัก ให้อดทนกับมัน” เพื่อตอบสนองต่อคำกล่าวของฉันในเรื่องความรู้สึกไม่สบายใจบางอย่าง แล้วตอนนี้ฉันกำลังเผชิญอยู่กับหลายสิ่งหลายอย่างและก็มีปัญหาเรื่องขอบเขตของตัวตน © saasshhha / Twitter

“แกโตกว่านะ !”

เมื่อมีลูกคนเล็กโผล่เข้ามาในครอบครัว เด็กที่โตกว่ามักจะต้องโตเร็วขึ้น แล้วในสายตาพ่อแม่ พวกเขาก็ได้เสียสิทธิ์การเป็นลูกคนเล็กไปแล้ว ถึงแม้ว่าจะมีอายุต่างกันไม่มากก็ตาม โดยพวกเขาถูกมอบหมายความรับผิดชอบบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นให้เป็นคนที่ฉลาดกว่าหรือเป็นอิสระมากกว่า และไม่สำคัญว่าเด็กคนนั้นอาจจะมีอายุแค่ 2-3 ขวบในขณะนั้นก็ตาม

การมาก่อนและการถูกบังคับให้โตขึ้นนั้นไม่ดีสำหรับทุกคน แม้ว่าเด็กคนนี้อาจจะปรับตัวให้เข้ากับชีวิตได้มากขึ้น และพวกเขาอาจจะประสบความสำเร็จมากมาย แต่ราคาที่ต้องจ่ายสำหรับความสำเร็จนี้จะทำให้เขาต้องสูญเสียวัยเด็กไป ซ้ำยังมีความโกรธเคืองจากจิตใต้สำนึกที่มีต่อพ่อแม่และน้อง ๆ ซึ่งไม่ได้เอื้อต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวที่อบอุ่นแต่อย่างใดเลย และมักเป็นอุปสรรคทางใจในการสร้างครอบครัวของตนเอง

  • ในวัยเด็กของฉันฉันได้ยินประโยคที่ว่า “แกโตกว่านะ !” หลังจากนั้น ฉันควรจะแบ่งหนังสือ ของเล่น หรือขนมที่ฉันชอบให้ และลืมความสนใจของตัวเองที่หมดไปกับการดูแลน้อง ๆ ของฉันที่เป็นฝาแฝด ยิ่งฉันอายุมากขึ้น รายการสิ่งที่ต้องทำก็เพิ่มมากขึ้น ทั้งทำความสะอาดอพาร์ตเมนต์ทั้งหลัง ทำอาหาร ช่วยน้อง ๆ ทำการบ้าน ตอนอายุ 19 ปีฉันย้ายออกจากบ้าน ทุกวันนี้ฉันติดต่อแต่กับพ่อแม่ของฉันเท่านั้น แล้วฉันก็ไม่ได้คุยกับพวกเขาบ่อยนัก ส่วนอายุของฉันกับน้องสาวต่างกัน 1 ปี 10 เดือน © Overheard / Vk

“แกกำลังทำผิดอยู่ รู้งี้ฉันน่าจะทำเองดีกว่า”

ไม่มีใครเกิดมาพร้อมกับทักษะการทำอาหาร หรือรู้วิธีซักผ้าและรีดเสื้อผ้า เพราะทุกสิ่งล้วนมาพร้อมกับประสบการณ์ที่ก่อตัวขึ้นจากการลองผิดลองถูก แต่ในบ่อยครั้งก็เป็นเรื่องที่ง่ายกว่าที่พ่อแม่จะทำอะไรเอง แทนที่จะสอนให้ลูกทำ โดยพ่อแม่อาจคิดว่าถ้าหยุดเพื่อสอน ก็จะต้องใช้เวลามากขึ้น เพราะลูกอาจจะทำผิด หรืออาจถึงขั้นต้องทำเองใหม่ทั้งหมดอยู่ดี

ในขณะที่พยายามปกป้องลูกจากความกังวลที่ไม่จำเป็น พ่อแม่หลายคนได้ลืมไปว่างานบ้านก็เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก เพราะงานประเภทนี้ช่วยในการพัฒนาการควบคุมตนเองและความมีวินัยในตนเอง (ท้ายที่สุดการทิ้งขยะลงในที่ที่คุณจะต้องทำความสะอาดพื้นเองเป็นเรื่องงี่เง่า) และคุณสมบัติทั้งสองนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับลูกตลอดหลักสูตรชีวิตของพวกเขา

เด็กที่พ่อแม่ไม่ให้โอกาสพวกเขาเรียนรู้จากความผิดพลาดร่วมกันจะรู้สึกว่ากลายเป็นคนไร้ความสามารถในบ้านตอนวัยผู้ใหญ่ แล้วพวกเขาก็รู้สึกกลัวที่จะทำสิ่งใหม่ ๆ และไม่เชื่อในตัวเอง

  • ในวัยเด็ก แม่ดุฉันที่ปอกเปลือกมันฝรั่งเอาเนื้อทิ้งเยอะเกินไป และบอกว่าฉันไม่ควรทำเลย หรือหลังจากที่ดูดฝุ่นในบ้านเสร็จแล้ว ฉันก็รอคำชม แต่กลับได้ยินว่าฉันได้พลาดอะไรบางอย่างไปหรือมีสิ่งสกปรกเหลืออยู่ที่มุมห้อง แล้วทั้งหมดก็จบลงโดยที่เธอพูดประมาณว่า ไม่ทำเลยน่าจะดีกว่าทำได้ไม่ดี นี่ไม่จำเป็นต้องพูดถึงว่าตอนที่อายุ 17 ปี ตอนที่ฉันเริ่มใช้ชีวิตในหอพัก ฉันไม่สามารถแม้แต่จะทอดลูกชิ้นที่ทำสำเร็จแล้วได้ แต่ข้อดีคือในที่สุดชีวิตก็สอนให้ฉันทำสิ่งเหล่านี้เป็น © ankaka / Pikabu

“แกจะไม่ประสบความสำเร็จอะไรในชีวิต”

พ่อแม่ที่ไม่เชื่อมั่นในตัวลูกส่งผลกระทบต่อความภาคภูมิใจในตนเองของลูกเป็นอย่างมาก “ใครจะมาเชื่อในตัวฉัน แม้กระทั่งพ่อแม่ของฉันยังคิดว่าฉันไม่สามารถทำอะไรได้เลย” หากคุณเอาแต่เก็บเอาความคิดเหล่านี้ไว้กับเด็ก ๆ อยู่เป็นประจำแล้วล่ะก็ พวกเขาจะได้เรียนรู้ประเด็นหลักที่ว่า “มีบางอย่างผิดปกติกับฉัน” แล้วเพื่อที่จะเอาชนะความรู้สึกเหล่านี้ได้ หลายคนต้องใช้เวลานานหลายปีในการรักษาอย่างจริงจัง

ในวัยผู้ใหญ่ เด็กที่พ่อแม่ไม่เชื่อมั่นในตัวของพวกเขาอยู่บ่อยครั้งมีพฤติกรรมที่ตรงกันข้าม พวกเขายอมแพ้ล่วงหน้าโดยไม่พยายามทำสิ่งใดให้สำเร็จ (เพราะพวกเขาถูกตั้งโปรแกรมให้ล้มเหลว) หรือไม่ก็อุทิศทั้งชีวิตของตัวเองเพื่อพิสูจน์ให้พ่อแม่เห็นว่าพวกเขานั้นคิดผิด

  • “แกจะไม่ประสบความสำเร็จอะไรหรอก เพราะแกไม่มีความสามารถอะไรเลย ในขณะที่เจน (Jane) บ้านข้าง ๆ เป็นเด็กผู้หญิงที่ฉลาดมาก ๆ...” ผลก็คือฉันมีปมด้อยเยอะมากตอนอายุ 22 ปี ฉันจบการศึกษาจากวิทยาลัยด้วยเกียรตินิยม แต่ก่อนหน้านั้นฉันได้ยินมาตลอดว่า “แกจะไม่สามารถเรียนในวิทยาลัยนั้นได้” ฉันลงทะเบียนในสาขาวิชาเฉพาะทุกวิชาที่ฉันส่งเอกสารไป แต่เลือกสาขาที่ยากที่สุด แม้ว่าทุกคนจะพูดว่า “แกจะไม่สามารถอยู่ที่นั่นได้แม้กระทั่งปีเดียว” แล้วลิสต์ต่าง ๆ ก็ดำเนินต่อไป © alicep / Pikabu
  • เหนือสิ่งอื่นใด ฉันจำได้ว่าแม่ของฉันพูดว่า “ไม่เอาน่า อย่าแม้แต่จะฝันถึงเรื่องนั้นเลยเหอะ ! แกจะได้แต่งงานกับช่างทำกุญแจซักคน แล้วนั่นก็คือสิ่งที่แกทำได้” นั่นอาจเป็นเหตุผลว่าทำไมฉันจึงพยายามอย่างเต็มที่ ตั้งใจเรียนหนังสือ และพบคนรักในฝันของฉัน ฉันมีความสุขไปเลยล่ะ ! © Natalia Galkina (Holkina) / Yandex Zen

“ปัญหาพวกนี้เป็นปัญหาของแก แล้วแกก็ต้องแก้มันเอง”

การเลี้ยงลูกด้วยวิธี “อย่าไว้ใจใคร ไม่ต้องกลัวใคร ไม่เรียกร้องขออะไร” มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ในด้านหนึ่งควรสอนเด็กให้รับมือกับความยากลำบากด้วยตัวเอง เพราะเป็นทักษะสำคัญที่จะเป็นประโยชน์ในชีวิต แต่ว่าพ่อแม่ควรเข้าใจด้วยว่าเนื่องจากการขาดประสบการณ์ชีวิต เด็ก ๆ ก็ไม่สามารถ (และไม่ควร) ต้องรับมือกับปัญหาบางอย่างด้วยตัวเอง

หากพ่อแม่ไม่ให้การสนับสนุนที่เหมาะสมกับลูก ๆ ที่พวกเขารู้สึกว่าสามารถพึ่งพาได้ในยามยากลำบาก เด็กก็มีโอกาสที่จะมีปัญหา เพราะว่าความรู้สึกปลอดภัยและความไว้วางใจเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับเด็กเช่นเดียวกับความเป็นอิสระ ดังนั้นแล้วสิ่งที่สำคัญสำหรับพ่อแม่ที่ต้องจำไว้ก็คืออย่าสุดโต่งในเรื่องนี้มากจนเกินไป

  • ฉันถูกสอนมาโดยตลอดว่าอย่าบ่นและให้พึ่งพาตัวเองเท่านั้น ฉันจำได้ว่าฉันพูดกับแม่ว่าแขนของฉันเจ็บมาก จากนั้นฉันต้องไปโรงพยาบาลด้วยตัวเองเพื่อตรวจ เมื่อแม่ของฉันกลับมาจากที่ทำงาน เธอเห็นฉันพร้อมกับเฝือกที่แขน แล้วฉันก็พูดว่า “แม่คะ หนูบอกแล้วว่ามันเจ็บ หนูมีรอยแตกที่กระดูกแขน” สิ่งนี้ทำให้สามีของฉันพยายามหนักมาก เพื่อทำให้ฉันเริ่มบอกกับเขาว่าร่างกายของฉันเจ็บปวดตรงไหนและการรักษาของฉันเป็นยังไงบ้าง นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ตอนนี้เรามีลูก 3 คน ฉันเลยคอยตรวจดู ปฏิบัติดูแลต่อพวกเขา และใส่ใจกับคำบ่นใด ๆ ก็ตามของพวกเขา © Guzik Lena / Facebook

“แกกำลังอ่านหนังสืออยู่หรือเปล่า ? ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์หน่อย”

พ่อแม่หลายคนเชื่ออย่างจริงจังว่าลูกควรทำสิ่งที่มีประโยชน์อยู่เสมอ เช่น ทำการบ้าน ทำกิจกรรมนอกหลักสูตร หรือทำความสะอาดห้อง ดังนั้นการฝันกลางวันหรืออ่านหนังสือดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่น่าละอาย ซึ่งเป็นผลให้สังคมเรามีผู้ใหญ่จำนวนมากที่ไม่สามารถมีความผ่อนคลายได้เลย

“ก็นะ แกไม่ได้น่ารักขนาดนั้น...”

พ่อแม่เป็นกระจกสะท้อนอันแรกที่ลูกมองเข้าไปเพื่อทำความเข้าใจว่าตัวพวกเขาเป็นยังไง และหากพ่อแม่ของพวกเขาเอาแต่พูดกับพวกเขาว่าผมของพวกเขาบางเกินไป เล็บคดงอ หรือจมูกของพวกเขาดูเหมือนกับมันฝรั่ง นั่นคือสิ่งที่เด็กจะรู้สึกจริง ๆ ในชีวิต แล้วคุณก็ไม่สามารถคาดหวังความภาคภูมิใจในตนเองไปกับข้อความเหล่านี้ได้มากพอ

นี่ไม่ได้หมายความว่าคุณควรโกหกลูกเกี่ยวกับความงามที่แปลกประหลาดของพวกเขา แต่การเน้นสิ่งที่ดีและการสรุปข้อดีของรูปร่างหน้าตาสามารถเป็นประโยชน์สำหรับพ่อแม่หลายคนได้ โดยการรู้จุดแข็งของพวกเขาจะช่วยให้ลูกของคุณรู้สึกมั่นใจมากขึ้น ในขณะที่ข้อมูลเกี่ยวกับความไม่สมบูรณ์ที่เห็นได้ชัดของพวกเขา สิ่งนี้จะเติมเต็มพวกเขาไปด้วยปมด้อยและทำให้พวกเขาเก็บตัวมากขึ้น

  • แม่ของฉันมักจะบอกฉันว่าฉันมีขาที่แย่มาก ทั้งผอม น่าเกลียด และคดงอ กลับกลายเป็นว่าในภายหลัง เธอทำสิ่งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ฉันใส่กระโปรงสั้น ดังนั้นตอนที่อายุ 18 ฉันจึงแต่งตัวอย่างกับหญิงแก่ ๆ คือใส่ชุดกระโปรงยาวถึงพื้นกับเสื้อสเวตเตอร์หลวม ๆ โชคดีที่ภาพลักษณ์นี้ไม่ได้ทำให้หนุ่ม ๆ หวาดกลัว และต่อมาฉันก็ถูกบอกว่าตัวฉันไม่ได้ขี้เหร่ แต่กลับกันคือสวยมาก อย่างไรก็ตามฉันไม่สามารถกำจัดความคิดที่ครอบงำฉันออกไปได้หมดซักที © Natalia Bogush / Facebook

“พวกเราเสียสละทั้งชีวิตเพื่อแก แล้วแกก็ไม่สำนึกบุญคุณ !”

พ่อแม่ทำงานหนักเพื่อให้แน่ใจว่าลูกของพวกเขามีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าที่พวกเขาเป็น สำหรับบางคนแล้ว ลูกกลายเป็นศูนย์กลางของจักรวาลที่โลกทั้งใบหมุนไปรอบตัวพวกเขา แต่ทว่ามันไม่ใช่ทางเลือกของเด็ก และพวกเขาไม่จำเป็นต้องชดใช้หนี้ให้พ่อแม่เสมอไปสำหรับสิ่งที่พ่อแม่ได้ลงทุนในตัวพวกเขา เพราะมันเป็นการตัดสินใจของพ่อแม่เอง ไม่ใช่ทางเลือกของลูก

เด็กที่ถูกปลูกฝังความคิดที่ว่าพวกเขาคือความหมายของการมีอยู่เพื่อคนอื่น พวกเขาได้แบกรับภาระความรับผิดชอบต่อความเป็นอยู่ที่ดีของเหล่าผู้ใหญ่ในชีวิต และมีความรู้สึกผิดที่สิ่งต่าง ๆ ไม่ได้เป็นไปตามความคาดหวังเสมอไป ซึ่งมันเหมือนกับว่าพวกเขากำลังใช้ชีวิตที่ “กู้ยืมมา” แทนที่จะเพียงแค่สนุกไปกับชีวิต

  • การวินิจฉัยของฉันคือ “เราทำทุกอย่างเพื่อแก แต่แก..” ฉันถูกซื้อของให้โดยตลอด โดยที่พวกเขาไม่ได้ถามฉันจริง ๆ ว่าต้องการมันมั้ย แน่นอนว่าทุกสิ่งที่ฉันได้รับนั้นดีที่สุด แต่ไม่ใช่สิ่งที่ฉันขอ ฉันไม่สามารถจ่ายเงินให้กับพวกเขาสำหรับของทั้งหมดที่ฉันมีและฉันก็เตือนตัวเองในเรื่องนี้อยู่เสมอ ฉันได้รับใบเสร็จอยู่เสมอ คือพ่อแม่ของคุณทำเพื่อคุณมามากแล้ว แต่คุณ... ในทางกลับกัน ฉันไม่มีชีวิตเป็นของตัวเองเลย มันเหมือนกับว่าฉันจ่ายคืน “เงินกู้” ให้กับมัน © Irmali / AdMe

“แกเป็นเด็กผู้ชาย / เด็กผู้หญิงนะ !”

เด็ก ๆ หลายคนถูกห้ามในบางเรื่องกับพฤติกรรมอันเนื่องมาจากทัศนคติแบบเหมารวมทางเพศ อย่างเช่นโดยปกติแล้ว เด็กผู้ชายไม่ควรร้องไห้ แสดงความอ่อนแอ หรือใส่ชุดสีชมพู ในขณะที่เด็กผู้หญิงก็ไม่ควรปีนต้นไม้ เล่นรถ หรือเล่นฮอกกี้ ซึ่งข้อจำกัดเหล่านี้ขัดขวางไม่ให้เด็กได้เรียนรู้โลกรอบตัวและแสดงความรู้สึกของพวกเขาได้อย่างเปิดเผย

ยิ่งไปกว่านั้นคำพูดเหล่านี้ยังทำให้เด็ก ๆ เกิดความคิดผิด ๆ แก่กันและกัน โดยเด็กผู้ชายโตขึ้นมาด้วยความรู้สึกที่ว่าเพื่อนผู้หญิงของพวกเขาแย่กว่าที่เป็นอยู่เพราะ “การทำตัวเหมือนผู้หญิงเป็นเรื่องน่าละอาย” ในทางกลับกันเด็กผู้หญิงก็รู้สึกว่าเด็กผู้ชายทุกคนเป็นนักเลงที่ก้าวร้าวที่พวกเธอควรหลีกเลี่ยง ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เกิดปัญหาในความสัมพันธ์กับเพศตรงข้ามของทั้งสองฝ่าย

  • “แกเป็นผู้หญิงนะ !” เป็นคำพูดที่แม่ชอบพูดมากที่สุด ฉันไม่สามารถจะตะโกน ต่อสู้ แถมยังไม่สามารถปฏิเสธแฟนที่เธอหาให้ฉันได้ © Mnogolikaya / Yandex Zen

คำพูดใดจากพ่อแม่ของคุณที่ส่งผลต่อชีวิตของคุณมากที่สุด ? แล้วคุณได้พยายามหลีกเลี่ยงแนวทางด้านลบในขณะที่เลี้ยงลูกของคุณเองหรือเปล่า ? หรือว่าคุณรู้ตัวอยู่บ่อย ๆ ว่าคุณกำลังทำผิดพลาดในแบบเดียวกัน ?

ชีวิตสดใส/ครอบครัว & เด็ก/15 คำพูดที่ดูเหมือนไม่เป็นพิษเป็นภัยจากพ่อแม่ที่สามารถส่งเสียงสะท้อนถึงอนาคตของลูกได้
แชร์บทความนี้