ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

นักจิตวิทยาแนะนำ 7 เคล็ดลับที่ช่วยให้ลูกของคุณหลับคนเดียวได้

เด็ก 30%-40% มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ กล่าวโดยการศึกษาการนอนหลับของเด็กโคโลญ ดังนั้นการส่งลูกเข้านอนอาจจะทำให้หมดแรงและหงุดหงิดได้ทั้งพ่อแม่และลูกด้วย แต่อย่าหงุดหงิดไป! ถึงแม้มันจะเป็นปัญหาธรรมดาทั่วไป มันก็ยังมีวิธีการบางอย่างที่ช่วยให้ลูกนอนหลับได้อย่างง่ายดายและหลับในตอนกลางคืนได้อย่างสบาย

ที่ชีวิตสดใส พวกเราชอบที่จะหาเทคนิคใหม่ ๆ ที่ใช้ได้ผลสำหรับพ่อแม่ ดังนั้นเราจึงอดไม่ได้ที่จะแบ่งปันวิธีการที่มีข้อพิสูจน์ 7 อย่างนี้เพื่อช่วยพ่อแม่ที่เหนื่อยล้าและช่วยให้ลูกหลับได้ดีขึ้น

1. สร้างกิจวัตรการนอน

การอาบน้ำตามเวลา การร้องเพลงกล่อมลูก การให้ลูกเลือกหนังสืออ่านก่อนนอนหรือแม้กระทั่งการเลือกชุดนอนเป็นการบ่งบอกถึงเวลานอนหลับและทำให้มันดูน่าตื่นเต้น การกำหนดเวลานอนสำหรับเด็กก็เช่นกัน มันจะค่อย ๆ ทำให้สิ่งนั้นกลายเป็นนิสัย

มันเป็นสิ่งสำคัญที่กิจวัตรเหล่านี้จะไม่รวมถึงการเล่นเกมอย่างหนักหน่วงเป็นชั่วโมงก่อนเวลานอน เสียงที่ดัง ความประหลาดใจหรือสิ่งอื่น ๆ ที่จะขัดขวางการนอนหลับ รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย

2. การสัมผัสแบบแนบเนื้อเป็นสิ่งสำคัญ

การสัมผัสแบบแนบเนื้อที่เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับเด็ก งานวิจัยกล่าวว่าพวกเขาจะสงบและหลับได้ดีขึ้น แต่อีกด้านจากงานวิจัยพบว่าเด็กที่ขาดการสัมผัสทางร่างกายกับพ่อแม่ของพวกเขาจะมีฮอร์โมนความเครียดคอร์ติซอลมากขึ้นซึ่งนำไปสู่ปัญหามากมายรวมถึงปัญหาเกี่ยวกับการนอน

ซึ่งหมายความว่าถ้าเด็กไม่ได้รับการสัมผัสที่เพียงพอระหว่างวัน ก็ไม่น่าประหลาดใจที่ในตอนกลางคืนพวกเขาจะหงุดหงิดและจะไม่ยอมนอนคนเดียว การกอดและการหอมแก้มในระหว่างวันจะทำให้การบอกลาในตอนกลางคืนเป็นเรื่องง่าย

3. เปลี่ยนไฟเป็นแสงสลัว

แสงไฟที่สว่างจ้าเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนไปยังสมองของเราว่าให้ตื่น แต่นักวิทยาศาสตร์ได้ระบุว่าแสงไฟประดิษฐ์ประเภทไหนที่เราควรหลีกเลี่ยงในเวลากลางคืน ความยาวคลื่นสีน้ำเงินในแสงไฟสีขาวเป็นสิ่งที่ขัดขวางการนอนที่สุด เพราะว่ามันขัดขวางการปล่อยเมลาโทนินที่ช่วยผ่อนคลายเราและทำให้เราง่วง สิ่งนี้เป็นความจริงสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก

เปลี่ยนไฟให้เป็นแสงสลัวเพื่อให้เข้ากับเวลานอนและผสมผสานกับน้ำเสียงโทนเบาและไม่มีความเครียด มันจะช่วยสร้างความแตกต่าง

4. “ตั้งเต๊นท์” เล็ก ๆ

วิธีการนี้รวมถึงการที่พ่อแม่นั่งบนเก้าอี้หรือนอนบนเตียงสนามข้าง ๆ เตียงของลูก และในแต่ละวัน “เต๊นท์” ควรจะขยับออกไปเรื่อย ๆ ในขณะที่ลูกของคุณหลับ มันถูกพิสูจน์โดยนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนแล้วว่าเป็นวิธีที่ได้ผลทั้งในเด็กทารกและเด็กเล็ก สำหรับเด็กทารก พ่อแม่จะนั่งใกล้ ๆ จนกว่าพวกเขาจะหลับ ประมาณสามสัปดาห์ พ่อแม่ก็ไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยแล้ว

5. ใช้วิธีการ “ควบคุมการร้องไห้”

พ่อแม่อาจจะพบวิธีการนี้ในชื่อที่ต่างกัน: การตรวจสอบและปลอบโยน วิธีการแบบเฟอร์เบอร์หรือกราดูเอทเอ็กซ์ทินชั่น

เป้าหมายของวิธีการนี้คือช่วยให้ลูกเรียนรู้ที่จะหลับได้ด้วยตัวเองและปลอบโยนตัวเองได้ อย่างที่ชื่อได้บอกไว้ พ่อแม่จะเข้ามาดูและมั่นใจว่าลูกของพวกเขาไม่เป็นไรเมื่อพวกเขาได้ยินลูกร้องไห้ แต่ต้องปล่อยให้ลูกค่อย ๆ หยุดร้องเองเป็นเวลาพักใหญ่ก่อน (เริ่มตั้งแต่ 3 นาทีและเพิ่มช่วงเวลาให้มากขึ้น)

อีกเทคนิคหนึ่ง มีเป้าหมายเพื่อปล่อยให้เด็กได้เรียนรู้การปลอบประโลมตัวเองโดยที่ไม่รู้สึกว่าถูกทิ้ง เป็นวิธียอดนิยมโดยเทรซี่ ฮ็อกซ์ มันเป็นการเข้าหาอย่างนุ่มนวลแต่ต้องใช้ความอดทน มันเป็นอะไรตามชื่อเลย: อุ้มเด็กขึ้นมาจนกว่าพวกเขาจะสงบและง่วงและวางพวกเขาลงในขณะที่ว่าเขายังตื่นอยู่ แต่ว่าเป็นอาการกึ่งหลับกึ่งตื่น ควรทำขั้นตอนนี้ซ้ำ ๆ จนกว่าเด็กจะหลับไปเอง

6. เข้านอนในเวลาที่ลูกง่วง

วิธีการนี้แตกต่างจากวิธีการก่อนหน้าและทำได้ทั้งในเด็กทารกและเด็กเล็ก แทนที่จะค่อย ๆ หายไปหรือค่อย ๆ ขจัดความผ่อนคลายของทารก การให้ลูกเข้านอนเวลาง่วงคือการขยับเวลานอนให้ช้าขึ้นชั่วคราว ประมาณ 30 นาทีหรือ 1 ชั่วโมงหลังจากนั้น

จากนั้นก็ค่อย ๆ ปรับมันจากช่วงเวลาหลังจากนั้นเป็นช่วงเวลาก่อนหน้า ดังนั้นเมื่อพ่อแม่เปลี่ยนเวลานอนกลับมาเร็วขึ้นหนึ่งชั่วโมง เด็ก ๆ ก็จะมีแนวโน้มที่จะหลับได้ด้วยตัวเอง

7. ตีความฝันร้ายใหม่

งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าฝันร้ายเกิดขึ้นในเด็กอย่างน้อย 80.5% และเด็กมักจะตื่นขึ้นมาในกลางดึกอย่างรวดเร็วและรู้สึกกลัว พ่อแม่ช่วยลูกได้โดยการทำให้พวกเขามั่นใจว่าพวกเขาปลอดภัยและพยายามเปลี่ยนภาพลักษณ์ของฝันร้ายนั้น ให้เป็นอะไรที่ดูปลอดภัยและจบลงด้วยดี นักวิทยาศาสตร์ยังคงแนะนำอีกว่าการอ่านหนังสือและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้หนังสือช่วยให้เด็กกล้าเผชิญหน้ากับความกลัวได้

คุณเคยลองเทคนิคในการฝึกการนอนสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็กแล้วหรือยัง บอกเราในช่องคอมเมนต์หน่อย

เครดิตภาพพรีวิว depositphotos.com, shutterstock.com
ชีวิตสดใส/ครอบครัว & เด็ก/นักจิตวิทยาแนะนำ 7 เคล็ดลับที่ช่วยให้ลูกของคุณหลับคนเดียวได้
แชร์บทความนี้