ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

6 ข้อเท็จจริงที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อนเกี่ยวกับวงจรการมีประจำเดือนของคุณ

เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันดีว่าช่วงเวลามีประจำเดือนนั้น ผู้หญิงยังสามารถตั้งครรภ์ได้ แต่นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องราวอื่น ๆ อีกมากมายให้เรียนรู้เกี่ยวกับร่างกายของคนเรา วรจรการมีประจำเดือนนั้นเป็นกระบวนการซับซ้อนที่ควบคุมร่างกายของผู้หญิง และไม่น่าสงสัยเลยว่าทำไมมันถึงส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้หญิงเป็นอย่างมาก

ชีวิตสดใสจะมารวบรวมข้อเท็จจริงบางอย่างที่บางครั้งนรีแพทย์ก็อาจไม่เคยบอกเล่าเรื่องนี้กับคุณมาก่อน

1. สมองส่วนฮิปโปแคมปัสจะมีขนาดใหญ่ขึ้น

ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าเมื่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มสูงขึ้น สมองส่วนฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ก็จะขยายจนมีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในสมองนี้จะส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้หญิง โดยนักวิจัยได้สรุปว่าหากผู้หญิงที่อยู่ในระหว่างการมีรอบเดือนเข้าใจและยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมได้ดี ช่วงนี้ก็อาจนับว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการดูแลรักษาบำบัดจิตใจเพื่อต่อสู้กับภาวะอารมณ์ไม่คงที่ของตนเองได้ เป็นต้น

2. ฮอร์โมนจะส่งผลต่อร่างกายของคุณต่างกันไปในแต่ละสัปดาห์

ฮอร์โมนต่าง ๆ มีบทบาทสำคัญต่อร่างกายของคุณมาก โดยปกติแล้วในวงจรรอบเดือนของคนคนหนึ่งจะมีหน้าตาแบบนี้ :

  • ในช่วงสัปดาห์แรก คุณจะรู้สึกถึงผลกระทบของรอบเดือนก่อนที่ประจำเดือนจะเริ่มต้นขึ้น แต่ต่อมาระดับเอสโตเจนในร่างกายคุณจะเพิ่มสูงขึ้น และคุณจะค่อย ๆ รู้สึกดีขึ้น
  • ในสัปดาห์ที่ 2 คุณจะรู้สึกดีอย่างที่สุด ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรนจะเพิ่มขึ้นนิด ๆ คุณอาจจะรู้สึกว่าอยากจะผูกพันใกล้ชิดกับคู่รักของคุณมากขึ้น
  • ในสัปดาห์ที่ 3 ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลงอย่างรวดเร็วในขณะที่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะเพิ่มสูงขึ้น คุณอาจรู้สึกว่าอารมณ์ของคุณเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และรู้สึกหดหู่ไร้ความสุข
  • ในสัปดาห์ที่ 4 ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะลดลง และผู้หญิงบางคนก็จะเริ่มมีอาการก่อนมีประจำเดือน (Pre-menstrual syndrome: PMS)

3. อาการปวดประจำเดือนอาจเปลี่ยนโครงสร้างในสมองของผู้หญิงไป

นักวิจัยกล่าวว่าอาการปวดประจำเดือนจะส่งผลต่อผู้หญิงวัยผู้ใหญ่ถึง 20 — 90% เลยทีเดียว ซึ่งอาการนี้สามารถคงอยู่ได้ถึง 72 ชั่วโมง โดยมีอีกหนึ่งผลการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงที่มีรายงานว่ามีอาการปวดประจำเดือน มีปริมาตรในสมองลดลงซึ่งเกี่ยวข้องกับการประมวลผลส่งสัญญาณของสมอง การประมวลผลของประสาทรับความรู้สึกที่มีระดับเพิ่มสูงขึ้น และการควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่อ หากคุณรู้สึกว่าคุณเริ่มทำงานได้แย่ลง บางทีอาการปวดประจำเดือนอาจเป็นสาเหตุก็ได้

4. อาการปวดประจำเดือนสามารถเกิดขึ้นที่อื่นได้ด้วย

นี่พูดจริง ๆ นะ ไม่ได้พูดเล่น อาการปวดประจำเดือนสามารถเคลื่อนที่ได้จริง ๆ บางครั้งคุณอาจรู้สึกปวดเกร็งที่ขาก็ได้ บริเวณอุ้งเชิงกรานนั้น “ประกอบไปด้วยเครือข่ายโยงใยของเส้นประสาทต่าง ๆ” และเมื่อมีอาการเจ็บปวดปรากฏขึ้น มันจะส่งผลไปถึงขา หลังส่วนล่าง และก้นได้ด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น การสูญเสียแร่ธาตุสำคัญ ๆ ไปในช่วงที่มีประจำเดือน (เช่นธาตุเหล็ก แมกนีเซียมและโพแทสเซียม) โดยหากธาตุเหล่านี้สูญเสียไปจากร่างกายเมื่อไหร่ กล้ามเนื้อต่าง ๆ ก็จะเป็นตะคริวหรือมีอาการปวดเกร็งขึ้นมาได้ โดยแพทย์ก็ยังกล่าวไว้ว่า “เหมือนกับรังนกที่จะมีกิ่งไม้ต่าง ๆ เกี่ยวพันร้อยรัดกันไว้ ดังนั้นหากคุณรู้สึกไม่สบายตัวที่ด้านหนึ่งของร่างกาย [เช่นที่บริเวณหน้าท้อง] คุณอาจจะรู้สึกไปถึงอีกด้านหนึ่ง [เช่นที่บริเวณหลังส่วนล่าง] ได้อย่างง่ายดาย”

5. วงจรการมีประจำเดือนของคุณสามารถส่งผลต่อเสียงของคุณได้

นี่ไม่ใช่ข่าวดีของคนที่เป็นนักร้องเท่าไรนัก แต่มีผลการศึกษาชิ้นหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า ระหว่างที่คุณมีประจำเดือน คุณอาจประสบกับภาวะเสียงเปลี่ยนก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual vocal syndrome) ได้ ซึ่งนั่นก็คือการสูญเสียพลังเสียงและความสามารถทางการร้องเพลงลดลง เส้นเสียงที่แห้งจะทำให้ควบคุมเสียงสั่นได้ยากขึ้น

6. อาการระหว่างมีประจำเดือนของคุณจะแย่ลงเมื่อสัมผัสอากาศเย็น

อ้างอิงจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพบว่า ผู้หญิงมักจะโอดครวญว่าอาการปวดประจำเดือนแย่ลงในฤดูหนาว อากาศที่หนาวเย็นนั้นสามารถส่งผลต่อความยาวของวงจรประจำเดือนได้ โดยในช่วงฤดูร้อนวงจรนี้จะสั้นลงโดยอยู่แค่ 0.9 วันเท่านั้น

ข้อเท็จจริงข้อไหนที่ทำให้คุณประหลาดใจมากที่สุด ? สัปดาห์ไหนในวงจรประจำเดือนที่คุณรู้สึกว่ารับมือได้ยากมากที่สุด ?

แชร์บทความนี้