ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

10+ คำแนะนำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างด่วน ๆ เพื่อช่วยแก้ไขสถานการณ์หน้าสิ่วหน้าขวาน

การทราบข้อเท็จจริงพื้นฐานของการปฐมพยาบาลสามารถช่วยคุณให้ช่วยชีวิตคนอื่นได้จริง ๆ รวมทั้งชีวิตคุณเองด้วย เมื่อคุณอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินหน้าสิ่วหน้าขวาน คุณควรต้องรู้การประเมินสถานการณ์ และรู้ว่าคุณจะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยเหลือ หรือแม้แต่รู้ว่าความแตกต่างว่าอะไรช่วยได้ อะไรช่วยไม่ได้ ลองพูดง่าย ๆ อย่างแค่ว่าผ้าก๊อซธรรมดานั้นได้ผลกว่าการใช้สายรัดห้ามเลือดหรือทูนิเกต์

พวกเราทีมงานชีวิตสดใสอยากให้คุณทันเหตุการณ์อยู่เสมอในเรื่องของการดูแลตัวเอง เราจึงมีคำแนะนำเรื่องการปฐมพยาบาลแบบด่วน ๆ มาให้ที่วันหนึ่งอาจจะช่วยชีวิตคุณก็ได้นะ!

1. บาดแผลต่าง ๆ

เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณต้องรับมือกับบาดแผล คุณควรจะพยายามยกแผลให้อยู่เหนือระดับหัวใจเสมอ มันจะช่วยลดอาการบวมลงและช่วยให้ของเหลวไหลออกจากบริเวณแผล หากแผลคุณอยู่ที่สะโพกหรือก้น ให้นอนราบแล้วเอาหมอนหนุนไว้ แต่ถ้ายกแผลให้สูงขึ้นไม่ได้ ก็ให้ไว้ที่แค่ระดับหัวใจหรือให้ใกล้หัวใจมากที่สุดเท่าที่ทำได้

2. แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกระดับที่หนึ่ง

แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกระดับที่หนึ่ง หรือเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นการไหม้แบบผิวเผินนั้น จะส่งผลต่อแค่ชั้นบนของผิวหนังคุณ และแม้ว่าจะเจ็บแต่ก็ไม่ใช่แผลที่รุนแรง การรักษาให้เอาน้ำอุ่นที่ไม่อุ่นมากมาล้างแผล น้ำเย็นจัดเป็นน้ำแข็งอาจจะฟังดูเข้าท่ามากกว่าแต่ความจริงแล้วมันจะยิ่งทำให้เนื้อเยื่อถูกทำลายมากขึ้น หลังจากทำความสะอาดแผลแล้ว ให้เอาน้ำแข็งประคบหรือเอาแผ่นเจลเย็นประคบ การใช้เนยหรือน้ำมันนั้นเป็นวิธีโบราณ และจะยิ่งทำให้แผลบาดเจ็บมากไปอีกเพราะว่ามันกั้นการปล่อยความร้อนออกมาให้ยิ่งช้าลง การนำเบคกิ้งโซดามาผสมน้ำให้เป็นส่วนผสมข้น ๆ ก็จะช่วยให้แผลคลายความร้อนได้เช่นกัน

3. อาการหัวใจวาย

เมื่อพูดถึงอาการหัวใจวาย การช่วยเหลือเบื้องต้นจะช่วยให้เรื่องไม่บานปลายไปกว่าเดิมได้ การเคี้ยวแอสไพริน (aspirin) ก็ช่วยได้เช่นกันเพราะว่ามันจะช่วยห้ามเกล็ดเลือดที่จะไปทำให้เลือดคั่งขวางทางเดินเส้นเลือด เวลากินยาแอสไพริน ให้ใช้ปริมาณน้อย ๆ ก่อน แล้วให้ค่อย ๆ เคี้ยวแทนที่จะกลืนลงไปหรือกินไปกับน้ำ เพราะว่าจะช่วยให้ยาออกฤทธิ์เร็วขึ้น และให้ติดต่อแผนกฉุกเฉินให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

4. ผึ้งต่อย

หากคุณถูกผึ้งต่อย คุณต้องเอาเหล็กในออก ขณะที่มีคนเชื่อกันทั่วไปว่าการเอาเหล็กในออกจากผิวจะช่วยลดพิษให้น้อยลง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเวลา คุณต้องเอาเหล็กในออกให้ไวที่สุด ไม่ว่าจะเอานิ้วแคะออกหรือเอาแหนบถอนหรือดึงออก เมื่อผึ้งเสียเหล็กในไป มันจะปล่อยกลิ่นที่ล่อผึ้งตัวอื่นให้เข้ามาบริเวณนั้น และมีทีท่าว่าจะต่อยคุณต่อเพื่อป้องกันตัว เมื่อเอาเหล็กในออกแล้วคุณก็ออกจากบริเวณนั้นได้ ให้ล้างแผลแล้วประคบเย็น หากคุณแพ้เหล็กในผึ้ง ให้พยายามซื้อหายาฉีดแก้แพ้แบบฉีดเองได้หรือเอพิเพ็น (EpiPen) ไว้ใกล้ตัวแล้วติดต่อแผนกฉุกเฉินให้เร็วที่สุด

5. กระดูกหัก

เมื่อกระดูกหัก อย่าพยายามดึงกลับเข้าที่ให้ตรง แค่ให้แขนขาอยู่นิ่ง ๆ อย่าขยับ โดยใช้วิธีการดามไม้พันไว้ สิ่งสำคัญคือให้มันอยู่ท่าเดิม กระดูกหักอาจจะเป็นการที่กระดูกเคลื่อนหรือซ้นธรรมดา แต่คุณควรไปพบแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าอาการบาดเจ็บนั้นไม่รุนแรงกว่านี้ หรือเพื่อเลี่ยงไม่ให้บาดเจ็บหนักกว่าเดิม

6. ตาบาดเจ็บ

เมื่อคุณบาดเจ็บ อย่างแรกที่ต้องทำเลยคือทำความสะอาดแผล แต่เมื่อดวงตาบาดเจ็บล่ะก็ สิ่งสำคัญที่ต้องทำคือหาอะไรมาปิดตาแล้วก็ไปหาหมอให้ช่วย การพยายามทำความสะอาดดวงตาด้วยตัวเอง จะยิ่งเป็นการเสี่ยงให้บาดเจ็บมากขึ้นไปอีกและอาจเป็นการทำลายดวงตาโดยถาวร ข้อยกเว้นหลักสำหรับกฎข้อนี้คือเมื่อสารเคมีเข้าตา ซึ่งอันนั้นจะต้องล้างน้ำสะอาดเป็นจำนวนมาก ๆ ทันที

7. เสี้ยนตำ

เสี้ยนนั้นเต็มไปด้วยเชื้อโรคและทำให้ผิวหนังที่เปิดติดเชื้อได้ ดังนั้นจำไว้เสมอว่าจะต้องฆ่าเชื้อเสมอเวลาที่ต้องจัดการกับมัน หากคุณมีเสี้ยนที่ตำเข้าไปเต็มแท่งในผิวหนัง ก่อนอื่นให้ทำความสะอาดบริเวณนั้นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนแล้วแกะเอาเสี้ยนออกด้วยการเอาเข็มที่ฆ่าเชื้อแล้วด้วยการแช่น้ำเดือดมาแกะออก เมื่อแกะออกจนเห็นเสี้ยนแล้วให้เอาแหนบมาคีบเสี้ยนออก หลังจากนั้นให้ล้างแผลด้วยสบู่และน้ำเปล่า

8. งูกัด

ในรายการโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ เวลาใครถูกงูพิษกัดขึ้นมา ปฏิกิริยาแรกเลยคือเอาปากดูดพิษออก ความจริงแล้วพิษมันเข้าไปในกระแสเลือดของผู้เคราะห์ร้ายไปแล้ว การทำแบบนั้นจึงไม่ช่วยอะไรเลย เมื่อโดนงูกัด สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องผ่อนคลายเข้าไว้ เพราะอัตราการเต้นของหัวใจคุณต้องต่ำเข้าไว้เพื่อช่วยชะลอการกระจายของพิษงู เช่นเดียวกัน การกินยาแก้ปวดจะทำให้เส้นเลือดตีบและทำให้พิษงูออกฤทธิ์เร็วขึ้น ให้ติดต่อแพทย์โดยด่วนเพื่อหาเซรุ่มแก้พิษงู และหากคุณต้องเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อขอความช่วยเหลือ ขอให้เดิน อย่าวิ่ง เพราะว่าต้องให้ร่างกายไม่ตื่นเต้น และถ้าทำได้ ให้เอาน้ำมันมะพร้าวทาแผล เพราะว่ามันช่วยฆ่าแบคทีเรียและปรสิต แล้วเอาผ้าพันแผลปิดแผล

9. โดนแมงกะพรุน

ไม่มีอะไรทำลายวันแสนสุขริมชายหาดได้เท่าโดนแมงกะพรุนต่อยแล้ว คุณสามารถเอาน้ำเกลือล้างแผลได้ หรือคุณจะล้างแผลด้วยน้ำร้อน น้ำส้มสายชู หรือปิดแผลด้วยส่วนผสมข้น ๆ ของเบคกิ้งโซดาผสมน้ำก็ได้ นอกจากนี้ ถ่านกัมมันต์ก็ยังช่วยถอนพิษแมงกะพรุนออกมาได้ด้วย คุณอาจจะเคยได้ยินเสียงลือเสียงเล่าอ้างสุดนิยมกันที่บอกว่าปัสสาวะคนเราไม่มีกรดมากพอที่จะสู้กับพิษได้ และแม้จะอ้างกันว่าปัสสาวะลดความเจ็บปวดได้ จะบอกว่าน้ำร้อนก็ได้ผลแบบเดียวกันนั่นแหละ

10. แผลเป็น

เวลาคุณบาดเจ็บ คุณอาจจกลัวว่าจะมีแผลเป็นน่าเกลียดตามมา แต่มีวิธีบางวิธีที่จะป้องกันไม่ให้แผลเป็นเกิดขึ้น เบคกิ้งโซดามีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อที่ป้องกันไม่ให้มีแผลเป็น และเอาสะเก็ดเนื้อแข็ง ๆ ออกและป้องกันแผลติดเชื้อได้ด้วย เวลาเอาเบคกิ้งโซดามารักษาแผลเป็น ต้องให้แผลสัมผัสกับอากาศ นอกจากนี้เมื่อเอาเบคกิ้งโซดามาผสมน้ำมันจะเป็นสารเคมีที่ใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้ด้วย

11. หายใจติดขัด

หากมีใครสักคนหยุดหายใจ ปกติจะเป็นเพราะว่ามีอะไรไปขวางทางเดินหายใจอยู่ ให้พลิกคน ๆ นั้นนอนหงาย เปิดปากดูและเอาอะไรที่ขวางทางออก หรือแม้แต่เป็นของเหลวก็ตาม การเปิดทางเดินหายใจ ให้เงยศีรษะขึ้นและเชยคางขึ้น เอามือคุณไปไว้ใกล้บนเหนือศีรษะ หรืออีกทางเลือกหนึ่งก็คือคุณสามารถทำวิธีการที่เรียกว่า “ยกขากรรไกรล่าง” (jaw thrust) โดยการเอานิ้ววางกดไว้ใต้กรามล่างโดยไม่ให้คอขยับ เพื่อเปิดปากคน ๆ นั้น ซึ่งจะทำให้ลิ้นยกออกจากทางเดินหายใจและช่วยการปิดกั้นทางเดินหายใจได้ หลังจากนี้ให้เงยศีรษะไว้จนกว่าทางเดินหายใจจะเปิดหมด

โบนัส: คำแนะนำในการแกะพลาสเตอร์พันแผลออก

การปฐมพยาบาลนั้นไม่ได้สำคัญแค่ตอนคุณบาดเจ็บทีแรกเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงกระบวนการรักษาให้หายด้วย และเพื่อให้ปลอดภัย ให้แกะพลาสเตอร์พันแผลแบบกาวออกด้วยการเอาเบบี้ออยล์ทา ราดแอลกอฮอล์ หรือเอาน้ำอุ่นช่วยลอก คุณสามารถเอาก้อนน้ำแข็งมาประคบให้บริเวณนั้นเย็น แม้ว่าอยากจะดึงพรวดเดียวออกก็เถอะ แต่มันก็สำคัญที่จะต้องค่อย ๆ ให้พลาสเตอร์ลอกออกมา เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะเสี่ยงกระชากสะเก็ดแผลหรือว่าเปิดแผลให้ฉีกกว่าเดิม

อะไรคือหลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่คุณใช้เวลาที่มีคนรู้จักบาดเจ็บขึ้นมาเหรอ? มาแบ่งปันกับเราได้ในคอมเมนต์เลย!

ชีวิตสดใส/สุขภาพ/10+ คำแนะนำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างด่วน ๆ เพื่อช่วยแก้ไขสถานการณ์หน้าสิ่วหน้าขวาน
แชร์บทความนี้