ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

10 การตั้งท้องของสัตว์อันน่าทึ่งที่แสดงให้เห็นว่าธรรมชาติผู้ให้กำเนิดนั้นฉลาดมากแค่ไหน

ในอาณาจักรสัตว์ บรรดาพ่อแม่ของสัตว์บางตัวต้องผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากเพื่อนำลูกหลานมาสู่โลกใบนี้ ซึ่งสัตว์มีการให้กำเนิดลูกหลากหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ โดยพวกมันสามารถหนักได้หลายตัน หรือแม้กระทั่งออกมาจากตัวผู้ แถมยังมีสายพันธุ์ที่แม่ถึงขั้นตั้งท้องนานกว่า 3 ปีด้วยซ้ำ ! ใช่แล้วล่ะ คุณอ่านถูกแล้ว มันท้องนาน 3 ปี...

ชีวิตสดใสเราอยากจะแสดงให้คุณเห็นการเกิดที่ผิดปกติอย่างมากของสัตว์ทั้ง 10 ชนิด โดยตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าเหล่าผู้ให้กำเนิดของโลกใบนี้สมควรได้รับการยกย่องอย่างยิ่งใหญ่ เพราะความทุ่มเทของพวกมันในเรื่องการทำให้ลูกหลานของตนนั้นปลอดภัยสามารถไปได้ไกลเชียวล่ะ

1. นกกีวี่

นกกีวี่เป็นหนึ่งในนกที่แปลกประหลาดที่สุดที่พบในโลก สิ่งหนึ่งที่น่าสังเกตคือตัวผู้และตัวเมียมักจะอยู่คู่กันตลอดชีวิต ดังนั้นพวกมันจึงถูกกล่าวขานว่ารักเดียวใจเดียว และลักษณะเฉพาะอีกอย่างหนึ่งก็คือสัดส่วนระหว่างน้ำหนักของไข่กับร่างกายของตัวเมีย โดยเฉลี่ยแล้วไข่ของนกกีวี่จะหนัก 15% ของน้ำหนักตัวของเพศเมีย แต่ก็สามารถเพิ่มได้ถึง 20% ซึ่งก็น่าแปลกที่ตัวผู้มีหน้าที่ฟักไข่ ไม่ใช่ตัวเมีย แต่น่าเสียดายที่เพื่อนตัวน้อยชนิดนี้กำลังจะสูญพันธุ์

2. ตุ่นปากเป็ด

ตุ่นปากเป็ดเป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไม่กี่ชนิดที่มีความสามารถในการวางไข่ โดยหลังจากที่ตั้งท้องได้ประมาณ 28 วัน ตัวเมียจะขุดโพรงและฝังไข่ไว้ที่นั่น จากนั้นมันก็ฟักไข่เป็นเวลานาน 10 วันจนกว่าลูกจะกระเทาะเปลือก จากนั้นลูกตุ่นปากเป็ดจะกินนมแม่ประมาณ 3 หรือ 4 เดือนก่อนจะออกจากโพรงเพื่อหาอาหาร

3. ยีราฟ

หลังจากผ่านไปนาน 15 เดือน ซึ่งเป็นช่วงตั้งท้องปกติของสัตว์สายพันธุ์นี้ ยีราฟตัวเมียจะออกลูกขณะยืน แล้วด้วยเหตุนี้ลูกยีราฟแรกเกิดจึงต้องทนต่อการตกจากที่สูง 5 ฟุตในช่วงการคลอด แล้วในเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงพวกมันควรจะสามารถลุกขึ้นยืนได้ และหลังจากนั้นประมาณ 10 ชั่วโมงก็จะวิ่งเคียงข้างแม่ของพวกมัน

4. วาฬหลังค่อม

วาฬหลังค่อมที่โตเต็มวัยสามารถเติบโตได้ยาวประมาณ 14.6 ถึง 19 เมตร และหนักเฉลี่ย 40 ตัน โดยระยะเวลาตั้งท้องของสัตว์สายพันธุ์นี้อยู่ที่ประมาณ 11 เดือน และลูกของพวกมันสามารถวัดได้ยาวถึง 4 เมตร และหนักถึง 1.5 ตัน ซึ่งลูกวาฬสามารถว่ายน้ำได้ทันทีหลังคลอด แต่ส่วนที่แปลกประหลาดที่สุดมาถึงตรงนี้ก็คือ พวกมันต้องออกเดินทางไปกับแม่เป็นระยะทาง 4,828 กิโลเมตรเพื่อหาอาหารหลังจากที่คลอดได้เพียง 6 สัปดาห์เท่านั้น

5. คางคกซูรินาม

คางคกซูรินาม (Pipa pipa) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่มีรูปร่างเหมือนใบไม้ที่อาศัยอยู่ในป่าของอเมริกาใต้ โดยในการสืบพันธุ์ คางคกตัวผู้จะวางไข่ที่ปฏิสนธิไว้บนหลังของตัวเมีย หลังจากนั้นไม่นานผิวหนังของตัวเมียจะค่อย ๆ งอกเพื่อห่อหุ้มไข่ ต่อมาตัวเมียจะฟักไข่เป็นระยะเวลานาน 4 เดือน และในที่สุดเมื่อไข่ฟักออกมาจากตัวเมียแล้ว พวกมันก็จะกลายเป็นคางคกรูปร่างสมบูรณ์

6. ม้าน้ำ

ม้าน้ำเป็นสัตว์ที่มีคู่เพียงตัวเดียวและมักจะอยู่กับคู่ของมันตลอดชีวิต สัตว์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะชนิดนี้เป็นหนึ่งในสัตว์ไม่กี่สายพันธุ์ที่ตัวผู้มีหน้าที่ฟักไข่จนกว่าลูกจะฟักออกมา โดยระหว่างการผสมพันธุ์ ตัวเมียจะวางไข่ลงในกระเป๋าหน้าท้องของตัวผู้ ต่อมาตัวผู้จะผสมเชื้อพันธุ์กับฟักไข่ และให้กำเนิดม้าน้ำขนาดจิ๋วเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเมื่อคุณเห็นม้าน้ำที่ “ตั้งท้อง” แสดงว่านั่นคือม้าน้ำตัวผู้

7. จิงโจ้

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมจิงโจ้ตัวเมียถึงมีกระเป๋าหน้าท้องที่เกิดจากการพับของผิวหนัง เพราะกระเป๋าหน้าท้องนี้มีขึ้นเพื่อช่วยให้พวกมันสร้างรูปร่างของลูกจิงโจ้ (เรียกว่าโจอี้) ให้ดูสมบูรณ์ โดยลูกจิงโจ้แรกเกิดมีความยาวประมาณหนึ่งนิ้ว ซึ่งค่อนข้างเล็กและเปราะบาง พวกมันจะได้กินนมแม่ในช่วงเดือนแรก แล้วช่วงราว ๆ เดือนที่สี่ พวกมันก็จะออกมาจากกระเป๋าหน้าท้องเพื่อออกวิ่งเล่นเล็ก ๆ น้อย ๆ และกินหญ้า พอเมื่อถึงอายุได้ 10 เดือน ลูกจิงโจ้เหล่านี้ก็โตพอที่จะออกจากกระเป๋าหน้าท้องอันแสนสบายไปตลอดกาล

8. ปลาหมอสี

ปลาหมอสีเป็นหนึ่งในตระกูลปลาที่มีกระดูกสันหลังที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยหลายสายพันธุ์เก็บไข่ไว้ในปากเพื่อให้แน่ใจว่าลูกของพวกมันมีโอกาสรอดมากขึ้น นั่นจึงเป็นเหตุผลที่พวกมันถูกเรียกว่าปลาอมไข่ กระบวนการนี้ดำเนินไปนานพอประมาณ เมื่อถึงเวลาที่พวกมันจะผสมพันธุ์ ตัวเมียจะวางไข่และอมไข่ทั้งหมดไว้ในปาก จากนั้นตัวผู้จะฉีดน้ำเชื้อและมีระยะฟักไข่ประมาณ 7 วัน โดยในช่วงเวลานี้ เนื่องด้วยตัวเมียที่กำลังจะคลอดมีไข่อยู่เต็มปาก มันจึงไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้จนกว่าลูกจะฟักออกมา

9. ปลามัลติพังค์ (Synodontis multipunctatus)

ปลาคุกคูแคทฟิช (ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Synodontis multipunctatus แต่เราชอบเรียกมันว่าปลามัลติพังค์) มีความสามารถอันน่าทึ่งในการซ่อนไข่ของมันเอาไว้ท่ามกลางปลาหมอสีที่เรากล่าวถึงในประเด็นก่อนหน้า แล้วทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายในเวลาไม่กี่วินาทีระหว่างเวลาที่ปลาหมอสีตัวเมียวางไข่กับเวลาที่มันก้มลงไป “กิน” ไข่ของพวกมัน เนื่องจากไข่ของปลามัลติพังค์โตและฟักตัวเร็วกว่าปลาตัวอื่น (สูงสุด 2 ถึง 3 วัน) ลูกปลามัลติพังค์แรกเกิดจึงมักกินไข่ของปลาหมอสีซึ่งใช้เวลาฟักนานประมาณ 7 วัน

10. ปลาฉลามครุย

ให้จินตนาการกันดูว่าตั้งท้องนาน 3 ปีครึ่งเลยทีดียว ! นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับปลาฉลามครุย... ซึ่งแตกต่างจากปลาสายพันธุ์อื่น ๆ เพราะปลาชนิดนี้ออกลูกเป็นตัวแทนที่จะวางไข่ ปลาฉลามครุย (หรือที่รู้จักกันในชื่อ Chlamydoselachus anguineus) มีลูกตั้งแต่ 2 ถึง 15 ตัว ซึ่งฟักออกจากแคปซูลไข่ที่อยู่ในท้องของแม่ และอยู่ในนั้นนานถึง 42 เดือน...

คุณรู้จักสัตว์ชนิดอื่น ๆ ที่มีการตั้งท้องหรือการเกิดลูกที่ไม่เหมือนใครบ้างหรือเปล่านะ ?

เครดิตภาพพรีวิว Citron / CC BY-SA 3.0 / Wikipedia Commons, Creative Commons / CC BY-SA 3.0
ชีวิตสดใส/สัตว์/10 การตั้งท้องของสัตว์อันน่าทึ่งที่แสดงให้เห็นว่าธรรมชาติผู้ให้กำเนิดนั้นฉลาดมากแค่ไหน
แชร์บทความนี้