ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

11 ข้อเท็จจริงที่คุณครูที่โรงเรียนอาจจะไม่เคยสอนคุณ

ในฐานะมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่ขี้สงสัยและมีแรงกระตุ้นในการเรียนรู้และทำความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ถึงแม้ว่าเราจะใช้เวลาหลายชั่วโมงในการเรียนรู้โลกรอบตัวเราที่โรงเรียน มันก็ยังมีความรู้ใหม่ ๆ ที่น่าประหลาดใจให้ค้นพบซึ่งอาจจะไม่ได้อยู่ในตำราเรียน แต่การเรียนรู้เป็นการเดินทางตลอดชีวิต และมันก็ไม่มีคำว่าสายเกินไปที่จะเติมความรู้ใหม่ ๆ ให้กับสมองของเรา

เราที่ชีวิตสดใสได้พบข้อเท็จจริงที่น่าประหลาดใจที่แม้แต่หนอนหนังสือก็ยังต้องร้องว้าว

1. หมึกมีความรู้สึกชอบและไม่ชอบมนุษย์ได้

เป็นเพราะความฉลาดที่ซับซ้อนของพวกมัน มันจึงมีหลาย ๆ สิ่งที่มันทำได้เหมือน “มนุษย์” หมึกพัฒนาความทรงจำของมนุษย์ได้และถึงกับแยกได้ด้วยว่าใครเป็น “เพื่อน” และใครเป็น “ศัตรู” มันจำชื่อเล่นที่คนตั้งให้มันได้และจะไปหาคนที่เรียกมันด้วยชื่อเหล่านั้นด้วย แต่ถ้าหมึกไม่ชอบคุณ มันก็จะพ่นน้ำขวางทางคุณ

2. มันยังมีการวางแผนล่วงหน้าและมีการใช้เครื่องมือ

อีกหนึ่งเหตุผลที่หมึกถูกมองว่าเป็นสัตว์ที่ฉลาดมาจากการใช้เครื่องมือของมัน ตัวอย่างเช่น มีการพบว่าพวกมันมักจะพกพากะลามะพร้าวติดตัวไปด้วยและใช้มันเป็นที่อยู่อาศัยหรือที่หลบภัย ถึงแม้ว่าการถือของที่ใหญ่อย่างกะลามะพร้าวจะต้องใช้ความพยายามอย่างมากสำหรับหมึกในสายพันธุ์ส่วนใหญ่ แต่สิ่งนี้ก็แสดงให้เห็นว่ามันมีการคิดล่วงหน้าและวางแผนเผื่อไว้สำหรับอนาคตและที่กำบังชั่วคราวนี้ก็จะช่วยป้องกันพวกมันจากนักล่าที่อยู่ใต้น้ำได้ด้วย

3. การไขปริศนาและหลบหลีกออกจากห้องเป็นเรื่องหมู ๆ สำหรับหมึก

ถึงแม้ว่าหมึกจะ (ยัง) เล่นรูบิคไม่เป็นก็ตาม แต่มันก็เพลิดเพลินกับการเล่นของเล่นชิ้นนี้ ในอีกทางหนึ่ง มีอีกหลาย ๆ สิ่งที่หมึกทำได้ซึ่งจำเป็นต้องมีทักษะการแก้ปัญหาที่ดี หมึกขว้างสิ่งของไปยังเป้าที่มันกำหนดไว้ได้ ถ้ามันรู้สึกถูกคุกคามและมันยังหนีออกมาจากโอ่งที่ปิดเอาไว้และหาทางออกจากเขาวงกตได้ด้วย

4. พวกมันสร้างและเก็บความทรงจำได้เกือบเหมือนมนุษย์

นักวิทยาศาสตร์คิดว่ามนุษย์มีการก่อร่างความทรงจำระยะยาวโดยกระบวนการที่เรียกว่าแอลพึที (ศักยภาพในระยะยาว: long-term potentiation) กระบวนการนี้รวมถึง “การแกะรอยความทรงจำ” ในสมองและมีส่วนช่วยในการเก็บข้อมูลในระยะยาว

และอีกครั้งที่ทั้งเราและหมึกมีการใช้วิธีการเดียวกันในการก่อร่างและเก็บความทรงจำ นักวิจัยกล่าวว่าแอลพีทีเป็นกระบวนการที่สำคัญอย่างยิ่งที่เราต้องศึกษา ถ้าเราอยากเรียนรู้และจดจำข้อมูลเพิ่มมากขึ้น

5. เนยถั่วกลายเป็นเพชรได้

เนยถั่วเป็นสิ่งที่อุดมไปด้วยคาร์บอน ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงใช้มันเพื่อจำลองสภาพภายใต้การทำเพชร ขั้นแรก พวกเขาจำเป็นต้องแยกออกซิเจนออกจากคาร์บอนไดออกไซด์และจากนั้นก็นำคาร์บอนที่ได้จากเนยถั่วไปอยู่ในอุณหภูมิและแรงดันที่สูงมาก ผลลัพธ์ก็คือได้คริสตัลที่คล้ายกับเพชรซึ่งมาจากเนยถั่วทั้งหมด

6. ปลาทองเป็นอัจฉริยะที่ปลอมตัวมา

งานวิจัยบอกว่าปลาทองจดจำดนตรีคลาสสิกได้ดีมากจนพวกมันบอกความแตกต่างระหว่างดนตรีที่แต่งขึ้นโดยบัค (Bach) และสตราวินสกี (Stravinsky) ได้ และถึงแม้ว่ามันจะเป็นอัจฉริยะที่ปลอมตัวมา แต่มันก็ต้องทำความคุ้นเคยกับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้ความพยายามหลายต่อหลายครั้ง

7. ความน่าจะเป็นของการโยนเหรียญไม่ใช่ 50-50

คนทั่วไปเชื่อกันว่าความน่าจะเป็นของการโยนเหรียญคือ 50-50 แต่อันที่จริง มีอยู่ด้านหนึ่งของเหรียญที่มักจะได้เปรียบมากกว่านิดหน่อย ซึ่งนั่นก็คือเหรียญด้านที่หงายขึ้นก่อนจะโยน เพราะฉะนั้นความน่าจะเป็นในการโยนเหรียญจริง ๆ แล้วอยู่ที่ 51-49 ซึ่งก็ค่อนข้างใกล้เคียงกับสิ่งที่คิด

8. ต้นไม้สื่อสารกับต้นไม้ต้นอื่นได้

ต้นไม้มีเครือข่ายใต้ดินที่ซับซ้อนเพื่อใช้ในการสื่อสาร เป็นเพราะเชื้อราที่อาศัยอยู่ในดินและรากที่เชื่อมต่อกันของพวกมันที่ทำให้ต้นไม้ส่งสัญญาณถึงกันได้และแม้แต่กับพืชชนิดอื่น ๆ ด้วย โดยมันยังส่งสัญญาณเกี่ยวกับภัยแล้งและการโจมตีของแมลงได้ด้วย นอกจากนี้ ต้นไม้บางต้นยังแบ่งปันสารอาหารกับต้นไม้ต้นอื่นโดยการใช้เครือข่ายใต้ดินนี้

9. หมีโคอะล่ากอดลำต้นของต้นไม้เอาไว้เพื่อทำให้ตัวของมันเย็นขึ้น

ถ้าคุณเคยสงสัยว่าทำไมหมีโคอะล่าจึงกอดและแนบชิดร่างกายของพวกมันเอาไว้กับต้นไม้ จงรู้เอาไว้ว่ามันไม่ใช่เพื่อช่วยพยุงน้ำหนักตัวและป้องกันไม่ให้ตัวมันร่วงลงมาจากต้นไม้เท่านั้น แต่นักวิจัยที่ศึกษาพฤติกรรมของหมีโคอะล่าพบว่าในช่วงหน้าร้อน หมีโคอะล่าจะกอดลำต้นของต้นไม้เอาไว้แน่นกว่าเดิมและมักจะขยับไปที่ส่วนล่างของต้นไม้เพื่อทำให้ร่างกายของมันเย็นขึ้นและควบคุมอุณหภูมิร่างกายของพวกมันด้วย

10. จริง ๆ แล้วกล้วยเป็นผลไม้ประเภทเบอร์รี่

ถึงแม้ว่ามันจะดูไม่เหมือนสตอเบอรี่หรือบลูเบอรี่เลยซักนิด แต่กล้วยก็ถือว่าเป็นเบอร์รี่ในทางพฤกษศาสตร์ซึ่งถูกกำหนดจากส่วนของพืชที่พัฒนามาเป็นผลไม้ และเนื่องจากกล้วยพัฒนามาจากรังไข่เดี่ยวและมีผิวชั้นนอกที่อ่อนนุ่มและมีเนื้อตรงกลาง มันจึงถูกเรียกว่าเป็นเบอร์รี่ และที่น่าแปลกใจไปยิ่งกว่านั้นก็คือบลูเบอรี่และสตอเบอรี่ไม่ถือว่าเป็นเบอร์รี่ในทางพฤกษศาสตร์

11. วัวสื่อสารความรู้สึกของพวกมันได้

งานวิจัยเกี่ยวกับวัวล่าสุดได้ศึกษาวิธีการสื่อสารของพวกมันจากการใช้เสียงมอ โดยพบว่าวัวมี “เสียงส่วนตัว” พวกมันแสดงอารมณ์อย่างอารมณ์ตื่นเต้นและความทุกข์ใจผ่านทางเสียงมอของมันได้ นักวิจัยยังตั้งข้อสังเกตอีกด้วยว่าวัวมักจะมีเสียงที่ต่างกันมากซึ่งทำให้แยกวัวแต่ละตัวจากวัวตัวอื่น ๆ ในฝูงได้ง่าย

คุณเคยได้ยินเรื่องราวเหล่านี้มาก่อนหรือเปล่า ? เรื่องราวจากข้อไหนที่น่าประหลาดใจที่สุด ?

เครดิตภาพพรีวิว Shutterstock.com, Shutterstock.com
ชีวิตสดใส/สิ่งแปลกๆ/11 ข้อเท็จจริงที่คุณครูที่โรงเรียนอาจจะไม่เคยสอนคุณ
แชร์บทความนี้