ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

11 อิโมจิที่เรามักใช้กันอย่างผิด ๆ มาโดยตลอดจนทุกวันนี้

ผู้คนอาจมองภาพอิโมจิแต่ละตัวแล้วให้ความรู้สึกว่ามันสื่อความหมายแตกต่างกันไป ทางหนึ่งมันก็ช่วยให้เราสามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกได้เกือบทุกความรู้สึกโดยไม่ต้องพิมพ์บรรยายอะไรมากมาย แต่อีกนัยหนึ่งบางครั้งเรากลับไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่อีกฝ่ายอยากสื่อสาร หรืออารมณ์ที่คนที่เราคุยด้วยอยากบอกกับเราได้อย่างถูกต้อง แต่มีเรื่องหนึ่งที่เป็นสิ่งที่จริงแท้แน่นอนมาก ๆ นั่นก็คือ รูปภาพอันเป็นเอกลักษณ์เหล่านี้ กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้วน่ะสิ

ชีวิตสดใสเชื่อว่ารูปยิ้มกับสัญลักษณ์แสดงอารมณ์ทั้งหลายเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมการเล่นอินเทอร์เนตในปัจจุบันไปแล้ว ซึ่งการที่เราได้เรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจมันให้ถูกต้องจะมีประโยชน์มากเลยเชียวแหละ รายการที่เรารวบรวมมานี้คือความหมายที่ซ่อนอยู่ในเหล่าอิโมจิที่เป็นที่ถกเถียงกันมากที่สุด ซึ่งจนทุกวันนี้ก็ยังเป็นปริศนาสำหรับใครหลาย ๆ คน

1.

หลายคนเข้าใจผิดว่าอิโมจิตัวนี้หมายถึงการอธิษฐานสวดมนต์เท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วอิโมจิตัวนี้มีคำอธิบายไว้หลายแบบมาก ๆ นอกจากจะเป็นการสวดมนต์อธิษฐานแล้ว มันยังใช้แทนคำว่า “ขอบคุณ” “ได้โปรด” ซึ่งเป็นท่วงท่าที่ไว้ใช้แสดงความเคารพ หรือเป็นสัญลักษณ์ของความชื่นชมพอใจ และยังมีความหมายเป็นการ “แปะมือ” (high-five) กันอีกด้วย !

2.

ถ้ามองแวบแรกคุณอาจคิดว่าอิโมจิตัวนี้หมายถึงการส่งจูบ แต่จริง ๆ เป็นรูปผิวปากต่างหาก ซึ่งจะเข้าใจได้ง่ายมากเลยถ้าจับคู่มันกับตัวโน้ตดนตรีด้วยแล้วละก็ อย่างไรก็ตาม บางครั้งเราก็อาจเห็นมีการเอาอิโมจิตัวนี้จับไปปนกับรูปหัวใจที่วางอยู่ข้าง ๆ ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นก็เป็นสัญลักษณ์ของการส่งจูบนั่นแหละ

3.

อิโมจิตัวนี้ไม่เพียงเป็นสัญลักษณ์ของการที่ผู้ส่งอยากดึงความสนใจของคู่สนทนาให้อ่านข้อความที่เขียนอยู่ด้านล่างเท่านั้น แต่ยังเป็นสัญลักษณ์แทนความรู้สึกไม่ค่อยดี ไม่ค่อยสบาย หรือรู้สึกแย่ อีกด้วย

4.

หมัดชกไปทางขวาเป็นสัญลักษณ์ของความเคารพหรือการแสดงความยินดี

5.

นี่ไม่ใช่รูตาบากาหรือผักประเภทหัวผักกาดเหมือนกับที่ใครเคยคิด แต่จริง ๆ มันคือมันหวานเผา หรือที่รู้จักกันในชื่อยากิอิโมะ ในญี่ปุ่นต่างหาก

6.

อิโมจิตัวนี้เป็นสัญลักษณ์ของอาหารญี่ปุ่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่าคามาโบโกะ ซึ่งก็คือลูกชิ้นปลาที่มีขดสีชมพู

7.

อิโมจิตัวนี้มาจากหนังสือการ์ตูนเป็นช่อง ๆ ซึ่งหมายถึง “ปัง !” เมื่อใช้ในแชทสนทนา นั่นจะหมายถึงว่าคู่สนทนาของคุณฟิวส์ขาดหรือเริ่มล้ำเส้นเกินไปแล้ว

8.

พวกเราอาจเคยคิดว่ากากบาทสีแดงคือการแบนไม่เอา หรือปฏิเสธ อย่างไรก็ตาม นอกจากความหมายนั้นแล้วอิโมจิตัวนี้ยังอาจเป็นสัญลักษณ์ของการส่งจูบในแชทของชาวอังกฤษอีกด้วย

9.

อิโมจิตัวนี้แทนหน้ากากของเท็งงุ (Tengu) ปีศาจในตำนานของชาวญี่ปุ่น ซึ่ง “การกลายเป็นเท็งงุ” หมายความว่ากำลังแสดงพฤติกรรมที่โหดร้ายหรือเกเร และยังเป็นคำใบ้ให้คู่สนทนาอีกฝ่ายรู้ว่าพวกเขาใกล้จะล้ำเส้นคุณแล้วนะ

10.

รูปนี้อาจดูเหมือนอิโมจิตัวนี้เป็นสัญลักษณ์แทนอะไรแย่ ๆ แน่ ๆ แต่อย่างไรก็ตาม จริง ๆ แล้วอิโมจิตัวนี้มีความหมายที่แตกต่างจากที่เราคิดอย่างสิ้นเชิง เพราะนี่คือสัญลักษณ์ของยักษ์นามาฮาเกะ (Namahage) ในความเชื่อของชาวญี่ปุ่น ซึ่งสามารถขับไล่ดวงวิญญาณชั่วร้ายได้

11.

ตัวย่อ NG ที่อยู่ในอิโมจินี้เคยมีการแปลความไปในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น เขตปลอดผู้หญิง (no girls) เขตปลอดผู้ชาย (no guys)... แต่จริง ๆ แล้วมันมีความหมายถึงฉากที่เล่นไม่ดี (no good) ในรายการทีวีของญี่ปุ่น ซึ่งอาจเป็นช่วงเปิ่น ๆ ที่นำมาใส่ในตอนเอนด์เครดิตก็ได้

คุณยังมีอิโมจิรูปอื่น ๆ ที่อยากจะเติมเข้าไปในรายการนี้บ้างรึเปล่า ? เราอยากได้ยินความคิดเห็นของคุณในคอมเมนต์นี้นะ !

Please note: This article was updated in May 2022 to correct source material and factual inaccuracies.
เครดิตภาพพรีวิว Emojipedia.org
ชีวิตสดใส/สิ่งแปลกๆ/11 อิโมจิที่เรามักใช้กันอย่างผิด ๆ มาโดยตลอดจนทุกวันนี้
แชร์บทความนี้