เหตุใดการนอนร่วมเตียงกับคู่ของคุณจึงดีกว่าการนอนแยกกัน (แม้ว่าพวกเขาจะนอนกรน)
มีการสำรวจนึงพบว่า 1 ใน 4 ของคู่แต่งงานนอนแยกเตียงกัน เพราะว่าความตื่นเต้นเร้าใจนั้นหมดไป แต่ก็ไม่ใช่เสมอไป บางครั้งคุณภาพในการนอนที่แย่ ๆ ก็เกิดมาจากพฤติกรรมการนอนหรือตารางเวลาที่ไม่ตรงกัน ทำให้สิ่งเหล่านี้อาจเป็นตัวการได้ แต่ก็มีความคิดดี ๆ ที่ได้พบว่าการนอนร่วมเตียงกับคนรัก อาจทำให้คุณมีสุขภาพที่ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้น ถึงแม้จะมีเสียงกรนดัง ๆ และแย่งผ้าห่มกันแบบไม่รู้จบก็เถอะ
ชีวิตสดใสได้สรุปประเด็นที่เกี่ยวข้องจากผู้เชี่ยวชาญที่อธิบายว่าเหตุใดการนอนหลับซักงีบข้าง ๆ คนที่คุณรักจึงอาจคุ้มค่ากับปัญหาทั้งหมด
1. การนอนอยู่ข้าง ๆ คู่รักสามารถช่วยยกระดับการนอนหลับลึก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อความจำและอารมณ์ของเรา
มีการทดลองนึงได้เปรียบเทียบระดับการนอนของคู่รักที่นอนด้วยกันกับตอนที่พวกเขาแยกเตียงกัน
ทีมวิจัยได้สรุปว่าคนที่ได้นอนอยู่ข้าง ๆ คู่ของตน มีระดับของช่วงการนอนหลับลึก (REM) เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับตอนที่พวกเขานอนแยกกัน
ช่วงการนอนหลับลึกนั้นดีต่อร่างกาย เพราะในขั้นนี้สมองของเราจะตื่นตัวมากขึ้น และประโยชน์ข้อนี้ได้ส่งผลไปยังชีวิตตอนตื่นนอนของเราด้วย คือช่วยในการจัดระบบของความจำ การควบคุมอารมณ์ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
2. การนอนกอดกันช่วยลดความเครียดและลดความเสี่ยงของปัญหาโรคหัวใจ
การกอดจะปล่อยฮอร์โมนออกซิโทซิน ซึ่งช่วยลดความเครียดและส่งเสริมการตอบสนองทางอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับการผ่อนคลาย ความเชื่อใจ และความมั่นคงทางจิตใจ
นักวิทยาศาสตร์ยังได้ศึกษาอิทธิพลของการกอดที่มีผลต่อความดันโลหิตของผู้หญิงด้วย แล้วพวกเขาก็พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่ถูกโอบกอดมากกว่ามีความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจต่ำที่สุด
ออกซิโทซินในระดับสูงยังช่วยลดการผลิตคอร์ติซอลหรือฮอร์โมนความเครียดอีกด้วย เพราะคอร์ติซอลในปริมาณที่สูง อาจทำให้เกิดการอักเสบ โรคหัวใจ และโรคที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันอื่น ๆ
3. การนอนด้วยกันและการสัมผัสกับคนที่คุณรักอาจช่วยลดความวิตกกังวลได้
การสัมผัสเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังมากที่สามารถสร้างสิ่งมหัศจรรย์ให้กับร่างกายได้ ในงานวิจัยทางจิตวิทยาชิ้นนึงระบุว่าระดับความวิตกกังวลของผู้หญิงถูกวัดผ่านวิธีที่สมองของพวกเธอร่าเริงขึ้นในการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
เมื่ออาสาสมัครได้สุ่มจับมือกับคนจากการทดลอง ระดับความเครียดของพวกเขาลดลง
แต่เมื่อพวกเขาจับมือกับคู่รักของตัวเอง ความวิตกกังวลของพวกเขาก็ลดลงไปทั้งหมด โดยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์ว่าคนสำคัญของเราสามารถส่งผลต่อสุขภาพของเราได้
4. การนอนร่วมเตียงกับคู่ของคุณอาจช่วยชีวิตคุณหรือช่วยให้คุณระบุความผิดปกติในการนอนหลับได้
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (ที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อกับเนื้อเยื่อในลำคอ และทำให้คุณหยุดหายใจ) เป็นโรคร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ หากไม่ตรวจพบแล้วรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ
อาการต่าง ๆ ของมันก็คือ กรนอย่างหนัก สำลัก และหอบ ดังนั้นการมีคนรักนอนอยู่เคียงข้างคุณจึงสามารถใส่ใจกับสัญญาณเหล่านี้ได้ ซึ่งอาจมีความสำคัญในช่วงเวลาเหล่านี้
บทความฉบับหนึ่งยังได้รายงานว่าชายคนหนึ่งที่นอนกอดภรรยาของเขาอยู่เป็นประจำ สังเกตเห็นได้ทันทีว่าเธอมีอาการชัก โดยตามหลักแล้วคู่ของคุณมีความสำคัญมากในการระบุปัญหาทางการแพทย์ที่อาจเกิดขึ้นได้
5. มีความเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างคุณภาพการนอนกับความสัมพันธ์
ผลการวิจัยพบว่าสายสัมพันธ์ความรักที่ดีต่อสุขภาพอาจนำไปสู่ความเครียดน้อยลงและนอนหลับได้ดีขึ้น ในขณะที่ความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดจะทำให้นอนหลับไม่สนิทและมีความผิดปกติ
ผู้เชี่ยวชาญยังพบว่าผู้หญิงที่มีปฏิสัมพันธ์แง่บวกกับคู่รักในตอนกลางวันจะนอนหลับได้ดีขึ้นในตอนกลางคืน ในขณะเดียวกัน เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามสำหรับผู้ชาย เพราะบรรดาคนที่ได้นอนหลับอย่างดีและมีคุณภาพ มีแนวโน้มที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับคู่ของพวกเขาดีขึ้นในวันรุ่งขึ้น
6. การนอนด้วยกันได้ผลดีที่สุดสำหรับคู่รักที่มีความสุข
การล่องลอยไปในดินแดนแห่งความฝันโดยที่มีคู่รักของคุณอยู่ข้าง ๆ อาจฟังดูดี แต่ทว่าผู้เชี่ยวชาญยังเตือนเกี่ยวกับความไม่ตรงกันของลักษณะการนอนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น คนที่เป็นโรคนอนไม่หลับอาจส่งผลต่อรูปแบบเวลานอนของคนรักของเขาหรือเธอ
ความแตกต่างของอุณหภูมิที่ต้องการ ตารางการทำงาน หรือนิสัย (เช่น การนอนดูทีวีที่เตียง) อาจส่งผลต่อคุณภาพของการพักผ่อนได้ด้วย แล้วคู่รักที่มีปัญหาในชีวิตสมรสก็อาจจะไม่ได้ประโยชน์อะไรมากเช่นกัน
สุดท้ายนี้ คู่รักควรปรับตัวให้เข้ากับกิจวัตรการนอนที่เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละบุคคลจะดีกว่า
คุณเห็นด้วยกับประเด็นที่ได้กล่าวไปข้างต้นหรือเปล่า ? แล้วคุณนอนหลับได้ดีขึ้นเมื่อนอนคนเดียว หรือนอนเคียงข้างคู่ของคุณกันนะ ?