ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

11 ผู้โดยสารบนเรือไททานิคในชีวิตจริงหน้าตาเป็นอย่างไร

การจมของเรือไททานิคนั้นเป็นโศกนาฏกรรมและมีผู้รอดชีวิต 700 คนจากจำนวนผู้โดยสารทั้งหมด 2,200 คนเท่านั้น มีภาพยนตร์มากมายเกี่ยวกับโศกนาฏกรรมดังกล่าว แต่ว่าเวอร์ชันที่เป็นที่จดจำมากที่สุด คือ Titanic ของเจมส์ คาเมรอน (James Cameron) ที่สร้างเมื่อปี 1997 ภาพและการเล่าเหตุการณ์นั้นน่าทึ่งเหลือเกิน ผนวกกับเรื่องราวรักโรแมนติก และแน่นอน คาแรกเตอร์ตัวละครที่ซับซ้อนน่าสนใจ

ชีวิตสดใสได้สรรหามาว่าที่จริงแล้วผู้โดยสารและลูกเรือบนไททานิควันนั้นมีหน้าตาเป็นอย่างไรในชีวิตจริง

มาร์กาเร็ต บราวน์ (Margaret Brown)

มาร์การ์เร็ต บราวน์ คนที่เอาเสื้อสูทของลูกชายตัวเองให้แจ็กยืมไปใส่ตอนที่มานั่งทานมื้อเย็นกับบรรดาผู้มีอิทธิพลทั้งหลาย เธอเป็นผู้โดยสารบนเรือไททานิคจริง ๆ และเธอเป็นผู้ที่ชอบทำบุญ เธอเป็นคนที่สาธารณชนรู้จักกันดี และเป็นนักอนุรักษ์เพื่อสังคม เธอคิดถึงคนอื่นอยู่ตลอดเวลา และเป็นคนที่ช่วยผู้โดยสารบนเรือให้ลงเรือกู้ชีพ ส่วนตัวเองก็ขอไม่ลงเรือไป หลังจากนั้น เธอก็ได้ไปมีปากเสียงกับคนบังคับเรือโดยเธอขอให้เขากลับไปยังจุดที่เรือล่มแล้วไปช่วยผู้รอดชีวิตที่เหลือ

ตอนที่เรือคาร์พาเธีย (Carpathia) เข้าช่วยเหลือผู้รอดชีวิต มาร์การ์เร็ตได้ทำรายชื่อผู้ที่รอดชีวิตไว้ แล้วก็ช่วยหาอาหารและผ้าห่มให้คนเหล่านั้น เธอได้ก่อตั้งคณะกรรมการเพื่อเรี่ยไรเงินมารักษาเยียวยาจิตใจให้แก่ผู้รอดชีวิต และเธอได้รับรางวัลเหรียญประกาศกิตติคุณแห่งชาติด้านความกล้าหาญ (National Order of the Legion of Honour) สำหรับการอุทิศตน และได้ชื่อว่ามอลลีบราวน์ผู้ไม่มีวันจมและถูกลืมเลือน (The Unsinkable Molly Brown)

กัปตันเอ็ดเวิร์ด สมิธ (Edward Smith)

เรือไททานิคนั้นอยู่ภายใต้การกุมบังเหียนของเอ็ดเวิร์ด สมิธ วัย 62 ปี ที่เติบโตมาในครอบครัวธรรมดา และออกจากโรงเรียนตอนอายุ 12 เพื่อเริ่มเรียนในกองหนุนกองทัพเรือ เขาเป็นกัปตันที่มากประสบการณ์ที่สุดแห่งบริษัทไวท์สตาร์ไลน์ (White Star Line) เพราะทำงานมาถึง 40 ปี และเรือไททานิคคือเรือที่เขาจะบังคับเป็นเรือลำสุดท้ายก่อนเกษียณ

สมัยนั้น ยังมีความเห็นที่พูดกันหนาหูว่าภูเขาน้ำแข็งนั่นไม่อันตรายขนาดนั้น และในปี 1907 อนาคตกัปตันเรือไททานิคก็ได้ประกาศกร้าวในการสัมภาษณ์กับสื่อว่า เขาไม่สามารถ “จินตนาการได้เลยว่าจะมีสภาวะใดที่จะทำให้เรือจมได้ การสร้างเรือในสมัยใหม่นั้นไปไกลเกินกว่านั้นแล้ว” และก็มีความเห็นที่ถกเถียงกันมากมายเกี่ยวกับนาทีสุดท้ายของชีวิตกัปตันคนนี้ แต่พยานบางคนได้บอกว่ากัปตันได้เสียชีวิตเยี่ยงวีรบุรุษ

โจเฟซ บรูซ อิสเมย์ (Joseph Bruce Ismay)

โจเฟซ บรูซ อิสเมย์เป็นประธารและหัวหน้าของบริษัทไวท์สตาร์ไลน์ เขาอยากแข่งกับคู่แข่งให้ได้ไม่น้อยหน้า ก็เลยสร้างเรือที่หรูหราที่สุด และสั่งให้สร้างเรือชูชีพกู้ภัยลดลงจาก 48 เหลือแค่ 16 ลำ

หลังจากที่เขารอดมาจากเรือล่ม เขาก็โดนถล่มยับจากทั้งสื่ออเมริกันและอังกฤษว่าเขาทิ้งเรือและทิ้งผู้หญิงกับเด็ก ๆ ไว้ให้เผชิญชะตากรรมกันเองบนเรือที่จะล่ม และแม้ว่าการสอบสวนอย่างเป็นทางการจะพิสูจน์แล้วว่าอิสเมย์ได้ช่วยผู้โดยสารมากมายและได้เข้าไปนั่งบนที่นั่งที่ว่างบนเรือชูชีพลำสุดท้าย แต่จนแล้วจนรอดคนก็ยังเรียกเขามาตลอดชีวิตว่าเป็นคนขี้ขลาด

และภาพลักษณ์ทางลบของเขาก็ถูกตีแผ่สู่ภาพยนตร์เช่นกัน ไม่เว้นแม้แต่ในเวอร์ชันของเจมส์ คาเมรอน เมื่อที่ปรึกษาด้านประวัติศาสตร์ได้ขอให้ผู้กำกับพิจารณาเสียใหม่ ก็กลับได้รับการบอกว่าจะไม่มีการเปลี่ยนบทไม่ว่าจะยังไงก็ตาม และคนดูจะต้องได้เห็นเขาในคาแรกเตอร์แบบนี้

โทมัส แอนดรูวส์ (Thomas Andrews)

โทมัส แอนดรูวส์เป็นผู้สร้างเรือไททานิตและเขาเป็นคนลงไปทดสอบเรือครั้งแรกว่ามันทำงานอย่างไร หลังเรือชนภูเขาน้ำแข็ง แอนดรูวส์เป็นหนึ่งในน้อยคนที่รู้ทันทีเลยว่ายังไงเรือก็จมแน่

เขาพยายามโน้มน้าวผู้โดยสารว่าให้ลงเรือกู้ชีพ เปิดประตูห้องพักหาคน แล้วบอกให้คนใส่ชูชีพแล้วขึ้นไปบนดาดฟ้าเรือ ตัวแอนดรูวส์เองไม่รอดชีวิต และมีคนเห็นเขาแป๊บเดียวก่อนเรือจะจม เขาโยนเก้าอี้ลงไปในน้ำเพื่อหวังจะให้ผู้คนได้ใช้เกาะเป็นแพลอยตัว

วิลเลียม เมอร์ดอค (William Murdoch)

วิลเลียม เมอร์ดอคมีประสบการณ์เดินเรือมา 16 ปีและเป็นผู้ช่วยมือหนึ่งของกัปตันเรือไททานิค เขาเป็นเจ้าหน้าที่ที่อยู่เวรในวันที่เรือจมพอดี แต่กลายเป็นว่ามีคนเห็นภูเขาน้ำแข็งก็สายเกินแก้แล้ว 37 วินาทีให้หลัง เรือก็ชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็งเต็ม ๆ

ตัวละครที่ซับซ้อนและไม่ตรงกับตัวจริงในหนังเวอร์ชันเจมส์ คาเมรอนนั้นทำให้หลานชายของเขาโกรธมากจนทำให้บรรดาผู้สร้างต้องไปยังแผ่นดินเกิดของนักเดินเรือคนนี้และขอขมาบรรดาญาติ ๆ และบริจาคเงินให้องค์กรการกุศลในนามของเขาเอง

เฟรเดอริค ฟลีท (Frederick Fleet)

เฟรเดอริค ฟลีทและเพื่อนร่วมงานของเขาคือคนที่มีหน้าที่ออกไปสังเกตการณ์ดูเรือตอนดึกคืนที่เกิดโศกนาฏกรรม และเขาคือคนแรกที่สังเกตเห็นภูเขาน้ำแข็ง หลังจากนั้นเขาก็ถูกสอบปากคำโดยคณะกรรมการอเมริกันและอังกฤษ เขาบอกคณะกรรมการว่า บรรดาเจ้าหน้าที่ที่สังเกตการณ์ไม่มีกล้องส่องทางไกล และเขาบอกว่าถ้ามี “เราก็จะเห็นมัน (ภูเขาน้ำแข็งในที่นี้) เร็วกว่าเดิมแค่นิดเดียว”

แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าต่อให้มีกล้องส่องทางไกลก็คงจะไม่เห็นภูเขาน้ำแข็งทันเวลาอยู่แล้ว ฟลีทเองลงเรือกู้ชีพลำเดียวกันกับมอลลีบราวน์ผู้ไม่มีวันจมและถูกลืมเลือน (The Unsinkable Molly Brown) และเขารอดตายจากเรือไททานิค

ชาร์ลส ไลท์โทเลอร์ (Charles Lightoller)

ชาร์ลส ไลท์โทเลอร์เป็นผู้ช่วยอันดับสองของกัปตันเรือไททานิค เมื่อเรือเริ่มจม เขาเป็นคนกระโดดออกจากเรือเอง แล้วก็ปีนขึ้นเรือกู้ชีพกับผู้ชายอีก 29 คน เขาเป็นคนสอนให้บรรดาชายเหล่านั้นคุมเรือให้สมดุลเพื่อไม่ให้เรือจม ไม่ใช่ทุกคนที่จะรอเรือช่วยชีวิตลำใหญ่ให้มารับได้ บางคนก็ร่วงลงน้ำไปเพราะความเหนื่อยอ่อนหมดแรง

ไลท์โทเลอร์เป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสในบรรดาผู้รอดชีวิตทั้งหมด และหลังจากโศกนาฏกรรม เขาก็ได้ให้คำแนะนำมากมายเรื่องความปลอดภัยของเรือ เขายืนยันว่าเรือชูชีพควรจะมีมากกว่านี้ และแนะนำด้วยว่าควรจะมีหนังสือเล่มเล็ก ๆ คอยสอนว่าจะใช้อย่างไร ให้ติดต่อวิทยุกับเรืออื่น ๆ อย่างสม่ำเสมอและส่งสัญญาณหากสภาวะอากาศดูเป็นอันตราย

เจ้าสัว อาร์ชิบัลด์ เกรซีที่สี่ (Archibald Gracie IV)

เจ้าสัว อาร์ชิบัลด์ เกรซีที่สี่เป็นนักเขียน เป็นนักประวัติศาสตร์มือสมัครเล่น และเป็นผู้โดยสารชั้นเฟิร์สคลาสของเรือไททานิค เมื่อตอนที่เรือชนภูเขาน้ำแข็ง เขาได้ช่วยชาร์ลส ไลท์โทเลอร์นำผู้หญิงและเด็ก ๆ ลงเรือชูชีพไป หลังจากเรือจม เขาก็ช่วยเหลือตัวเองด้วยการไปเกาะเรือเล็กที่คว่ำ แล้วก็กลับไปนิวยอร์ก เริ่มเขียนหนังสือเกี่ยวกับประสบการณ์บนเรือไททานิคซึ่งภายหลังได้กลายเป็นแหล่งข้อมูลอันมีค่าสำหรับนักประวัติศาสตร์และนักวิจัยทั้งหลาย

สุขภาพของเขานั้นได้รับผลกระทบจากอาการไฮโปเทอร์เมีย และหลังจากนั้น 8 เดือน เขาก็เสียชีวิตด้วยโรคแทรกซ้อนและโรคเบาหวาน เกรซีนั้นหมกมุ่นคิดแต่เรื่องเรือไททานิคจม และคำสุดท้ายของเขาคือ “เราต้องพาทุกคนลงเรือเล็ก เราต้องพาทุกคนลงเรือเล็กให้หมด”

จอห์น “แจ็ก” ฟิลิปส์ (John “Jack” Phillips)

ในวันที่เกิดโศกนาฏกรรม แจ็ก ฟิลิปส์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่โทรเลขได้รับโทรเลขมากมายจากผู้โดยสารเพราะว่าวิทยุเสียก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน ตัวเขาเองเหนื่อยมากจนไม่ได้เตือนกัปตันว่าเรือใหญ่ลำอื่นเตือนมาแล้วว่ามีภูเขาน้ำแข็ง ฟิลิปส์ไม่ได้ฟังข้อความซึ่งอาจจะช่วยไม่ให้เกิดโศกนาฏกรรมให้ครบเพราะว่าข้อความไม่ได้รับการทำเครื่องหมายว่า “สำคัญมาก”

พอเรือชน กัปตันก็สั่งให้เจ้าหน้าที่ทุกคนส่งสัญญาณ SOS และแจ็ก ฟิลิปส์ก็ไม่ได้หยุดส่งเลยจนกระทั่งห้องน้ำท่วมแล้ววิทยุก็ทำงานไม่ได้อีกต่อไป เขาไม่รอดชีวิต แต่แฮโรลด์ ไบรด์ (Harold Bride) ที่ทำงานกับเขาจำได้ว่าเขาทึ่งมากที่ได้เห็นฟิลิปส์ทำงานวันนั้น ในขณะที่ทุกคนสติแตกกันหมดแล้ว เขาบอกว่าเขาจะไม่มีวันลืมการทำงานในนาทีสุดท้ายของฟิลิปส์ในวันนั้นเลย

ไอดา (Ida) และไอซิดอร์ สเตราส์ (Isidor Straus)

ฉากในหนังที่คู่รักคนแก่กอดกันแน่นตอนที่เรือกำลังจมนั้นยากจะลืมเลือน และตัวละครสองคนนี้ก็มีต้นแบบมาจากคนจริง ๆ นั่นก็คือไอดา (Ida) และไอซิดอร์ สเตราส์ (Isidor Straus) ทั้งคู่รักกันเหลือเกิน และตัวไอซิดอร์เองเป็นทั้งนักธุรกิจและนักการเมือง ตอนที่เขาไม่อยู่บ้านเพราะต้องทำงาน เขาส่งจดหมายกลับบ้านหาเธอทุกวัน

เจ้าหน้าที่ของเรือไททานิค เมื่อพิจารณาอายุของทั้งคู่แล้ว ก็พร้อมจะให้ทั้งคู่ลงเรือกู้ชีพได้ แต่ไอซิดอร์ปฏิเสธเพราะเขาต้องการทำอย่างที่ผู้ชายบนเรือทำ เขาพยายามให้ภรรยาตัวเองลงเรือไป แต่เธอไม่ต้องการทิ้งสามีไว้คนเดียวบนเรือที่กำลังจม เธอบอกว่า “เราอยู่ด้วยกันมาตั้งหลายปี คุณไปไหน ฉันไปด้วย” และก็ได้มีคนเห็นทั้งคู่ยืนกอดกันแน่นบนดาดฟ้าเรือเป็นภาพสุดท้าย

วอลเลซ ฮาร์ทลีย์ (Wallace Hartley)

ฉากในหนังตอนที่แม้ว่าทุกคนจะตื่นตระหนกเพราะเรือล่ม แต่กลุ่มนักดนตรีออเคสตราก็ยังคงเล่นดนตรีให้ทุกคนฟัง เรื่องนี้ก็คืออิงมาจากเรื่องจริง เพราะว่าวอลเลซ ฮาร์ทลีย์ที่เป็นหัวหน้าวงออเคสตรานั้นได้นำนักดนตรีทั้งหลายให้ยังคงเล่นดนตรีต่อหลังเรือชนภูเขาน้ำแข็ง เพื่อดึงสติผู้โดยสารให้ใจเย็น ๆ ไว้

พยานหลายคนบอกว่าวงออเคสตราเล่นต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเรือจม และไม่มีนักดนตรีคนไหนรอดชีวิตเลย มีการพบร่างของฮาร์ทลีย์พร้อมกับไวโอลินติดตัวอยู่ และไวโอลินนั้นมีข้อความสลักหลังไว้ว่า “สำหรับวอลเลซ เป็นของขวัญวันหมั้นของเรา จากมาเรีย”

เรื่องราวของคนไหนที่เรารวบรวมมาให้จับใจคุณที่สุด? แบ่งปันความเห็นในช่องคอมเมนต์ข้างล่างได้เลย!

แชร์บทความนี้