ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

แพทย์ได้เผยถึงเหตุการณ์ที่ดูไม่สมจริงที่สุดในหนัง ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง

หลาย ๆ ครั้งในภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ เราได้เห็นว่าเครื่องกระตุ้นหัวใจได้ทำให้คนฟื้นคืนชีพได้ยังไง เมื่อมีบางคนหัวใจหยุดเต้นและแพทย์ตะโกนว่า “เคลียร์ !” และทำให้ผู้ป่วยสะดุ้งและพวกเขาก็รอดชีวิตอย่างปาฏิหาริย์ ถึงอย่างนั้นนี่มันไม่ใช่วิธีที่ใช้ในชีวิตจริง เครื่องกระตุ้นหัวใจไม่ได้รักษาชีวิตของคนนั้นไว้ได้ ยังมีอีกหลายสิ่งที่เป็นไปได้แค่ในภาพยนตร์ แต่ไม่ใช่ในชีวิตจริง

พวกเราที่ชีวิตสดใสรู้สึกทึ่งกับฉากทางการแพทย์ในภาพยนตร์และโทรทัศน์ แต่ก็ยังมีอีกหลายช่วงเวลาที่มันไม่สมจริง

1. CPR ช่วยชีวิตคนได้เสมอและค่อนข้างรวดเร็วมาก

วิธีที่การที่ถูกต้องในการทำ CPR คือการปั๊มหัวใจ 30 ครั้งและตามด้วยการผายปอด 2 ครั้งจนกว่ารถฉุกเฉินจะมาถึง มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องมั่นใจว่าคุณได้กดหน้าอก 100 ถึง 120 ครั้งต่อนาที และถ้า CPR ถูกทำโดยแพทย์ พวกเขาอาจจะต้องทำมากกว่า 30 นาทีก่อนที่ผู้ป่วยจะได้สติกลับมา

ในโทรทัศน์อัตราการรอดชีวิตหลังจากการ CPR อยู่ที่ประมาณ 70% แต่ในชีวิตจริงนั้นต่ำกว่านี้ และตัวละครมักจะตื่นขึ้นมาและเริ่มพูดคุยหลังจากการปั๊มหัวใจเพียงไม่กี่ครั้ง ซึ่งมันหายากมากในชีวิตจริง ตัวอย่างเช่นในเรื่อง เกมล่าเกม 2 แคทชิ่ง ไฟเออร์ มันใช้เวลาน้อยกว่า 1 นาทีในการที่พีต้า (Peeta) ได้ลุกขึ้นมาและรู้สึกเป็นปกติ หลังจากที่ฟินนิค (Finnick) เริ่มปั๊มหัวใจ

2. เครื่องกระตุ้นหัวใจทำให้คนกลับมามีชีวิตได้

เพื่อให้เครื่องกระตุ้นหัวใจทำงาน จำเป็นจะต้องมีภาวะที่มีคลื่นหัวใจ โดยจะได้ผลก็ต่อเมื่อการเต้นของหัวใจไม่ปกติและมันจำเป็นต้องกลับมาสู่ภาวะที่ปกติ ในภาพยนตร์ เครื่องกระตุ้นหัวใจมักจะถูกใช้เพื่อทำให้คนที่ไม่มีจังหวะการเต้นของหัวใจเลยกลับมาเต้นอีกครั้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิด เครื่องกระตุ้นหัวใจไม่ได้ก่อให้เกิดคลื่นหัวใจ จริง ๆ แล้วมันเป็นการหยุดภาวะคลื่นหัวใจที่ผิดปกติ

3. แพทย์มีความเห็นของตัวเองเกี่ยวกับการปลอดเชื้อ

ในห้องผ่าตัด ทุกคนต้องสวมหน้ากากและถุงมือ เมื่อใส่ถุงมือแล้ว คุณจะถอดหรือสัมผัสพื้นผิวอื่น ๆ ไม่ได้ แม้กระทั่งหน้ากาก ถ้าศัลยแพทย์จำเป็นจะต้องปรับหน้ากากหรือสัมผัสอุปกรณ์ทางการแพทย์ คนอื่นที่ไม่ได้ใส่ถุงมือที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อจะต้องเป็นคนทำให้เขา ในภาพยนตร์ผู้คนมักจะลืมกฎข้อนี้

ตัวอย่างเช่น ตอนต้นของฉากการผ่าตัดในเรื่อง ดอกเตอร์สเตรนจ์ มีแค่คนเดียวเท่านั้นที่สวมหน้ากาก เราจะเห็นได้ว่าถุงมือที่ผ่านการฆ่าเชื้อได้สัมผัสกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ไม่ได้ฆ่าเชื้อ และมีผู้ช่วยที่ถอดถุงมือหนึ่งข้างเพื่อปรับแว่นของดอกเตอร์สเตรนจ์ หลังจากนั้นเราจะเห็นได้ว่าทุกคนในห้องสวมหน้ากาก แต่พวกเขาต้องจับหน้ากากด้วยถุงมือที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วเพื่อใส่หน้ากากเข้าไป ซึ่งศัลยแพทย์ตัวจริงจะไม่มีทางทำแบบนั้น

4. คนไข้ฟื้นตัวจากอาการโคม่าทันที

เมื่อคนเราตื่นจากอาการโคม่า พวกเขาต้องใช้เวลาเพื่อฟื้นตัว สำหรับบางคนอาจจะต้องใช้เวลาหลายปีในการทำกายภาพบำบัดเพื่อดูพัฒนาการ แต่ในโทรทัศน์ ตัวละครที่เคยอยู่ในอาการโคม่าฟื้นตัวค่อนข้างเร็ว ตัวอย่างเช่น ในเรื่อง คิล บิล 1 หรือเรื่อง เดอะ วอล์คกิ้ง เดธ ตัวละครหลักฟื้นจากอาการโคม่าและเริ่มลุกเดินหลังจากแค่ไม่กี่นาที

5. การทำผิดพลาดเป็นเรื่องปกติ

บ่อยครั้งที่ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ในรายการทีวีทำผิดพลาด แต่ไม่ได้ถูกลงโทษอย่างรุนแรง ตัวอย่างเช่นในเรื่องแพทย์มือใหม่หัวใจเกินร้อย อิซซี่ (Izzie) ซึ่งรับบทเป็นแพทย์ประจำในเรื่อง ตกหลุมรักกับคนไข้ จากนั้นเธอก็จงใจทำให้อาการของเขาแย่ลงเพื่อเลื่อนเขาไปอยู่ในตำแหน่งบน ๆ ของรายชื่อผู้บริจาค ซึ่งทำให้เธอได้รับการตำหนิ

ในชีวิตจริงเธอจะไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นแพทย์ประจำหรือประกอบวิชาชีพเวชกรรมอีกต่อไป เธออาจจะโดนฟ้องและติดคุกได้

6. คนไข้ไม่มีเทปปิดตาในระหว่างการผ่าตัด

ในขณะที่คนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดกำลังหลับด้วยยาสลบในระหว่างการผ่าตัด มีการแนะนำว่าเปลือกตาของพวกเขาจะต้องถูกปิดด้วยเทป เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจเกิดกับดวงตาได้ ในหนัง มาตรฐานการดูแลนี้มักจะถูกละเลย อย่างไรก็ตามในภาพยนตร์เรื่อง อะเวค ได้มีการทำอย่างถูกต้อง

7. พยาบาลได้รับเครดิตเพียงเล็กน้อย

พวกเราคุ้นเคยกับการเห็นแพทย์เป็นตัวละครหลักในรายการโทรทัศน์ พวกเขาตรวจผู้ป่วยและทำงาน “สำคัญ” ทั้งหมดที่โรงพยาบาล ในทางกลับกัน พยาบาลมักจะอยู่เบื้องหลัง พวกเขามักจะถูกมองว่าไม่สำคัญ นอกจากนั้นในชีวิตจริง พยาบาลจะให้การดูแลทางการแพทย์ที่สำคัญ และพวกเขาเป็นคนที่มีปฏิสัมพันธ์กับคนไข้มากที่สุด

ยิ่งไปกว่านั้น งานมากมายที่ทำโดยแพทย์ในรายการโทรทัศน์ที่คนดูมองว่าเป็นเรื่องที่เจ๋ง มักจะถูกทำโดยพยาบาล ตัวอย่างเช่น ในเรื่องเฮ้าส์เอ็มดี มีผู้ป่วยที่มีอาการชักโดยไม่ทราบสาเหตุ ดร.เฮ้าส์ (Dr. House) และทีมของเขาพบว่าผู้ป่วยติดเชื้อจากพยาธิตัวตืด และผู้ชมมองว่าเขาเป็นอัจฉริยะ ถึงอย่างนั้นพยาบาลที่มีประสบการณ์วินิจฉัยโรคได้เช่นเดียวกัน

8. อาการชักควรถูกรับมือในทางตรงกันข้าม

เมื่อมีคนที่มีอาการชัก แพทย์ในทีวีมักจะวางผู้ป่วยลงและใส่อะไรบางอย่างเข้าไปในปากของพวกเขา เพราะว่าสิ่งนี้จะป้องกันผู้ป่วยจากการกลืนลิ้นของตัวเอง

ในความเป็นจริงพวกเขาไม่จำเป็นต้องทำสิ่งเหล่านี้ มันเป็นไปไม่ได้ที่คนที่มีอาการชักจะกลืนลิ้นของตัวเอง และการใส่ของเข้าไปในปากอาจจะทำให้ฟันของพวกเขาแตกได้ แพทย์ไม่ควรยับยั้งการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย สิ่งที่พวกเขาทำได้ก็คือการพลิกตัวผู้ป่วยอย่างช้า ๆ ไปอีกด้านหนึ่งเพื่อช่วยให้พวกเขาหายใจได้ง่ายขึ้น และวางสิ่งของที่นุ่ม ๆ ไว้ใต้หัวของพวกเขา

คุณรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ที่ไม่สมจริงเหล่านี้หรือไม่ ? สิ่งไหนที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์ที่ไม่สามารถทำได้ในชีวิตจริง ? ความแม่นยำทางการแพทย์มีความสำคัญกับคุณเมื่อดูภาพยนตร์และรายการทีวีหรือเปล่า ? บอกความคิดเห็นของคุณในช่องคอมเมนต์หน่อย !

เครดิตภาพพรีวิว The Walking Dead / AMC
ชีวิตสดใส/ภาพยนตร์/แพทย์ได้เผยถึงเหตุการณ์ที่ดูไม่สมจริงที่สุดในหนัง ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง
แชร์บทความนี้