ซัลมา ฮาเย็กเล่าเรื่องราวที่ครั้งหนึ่งเคยให้นมกับเด็กอ่อนของคนแปลกหน้าที่กำลังหิว
การเป็นแม่นมเป็นเรื่องที่ทำกันโดยทั่วไปก่อนที่จะมีการประดิษฐ์นมผงสำหรับเด็กและขวดนม ยิ่งไปกว่านั้น ผู้หญิงที่มีร่างกายที่ผลิตอะไรบางอย่างออกมาได้ตามธรรมชาติก็มีทางเลือกที่จะใช้สิ่งนั้นในวิธีที่ทรงพลังและเป็นบวกได้ และนี่ก็เป็นเหมือนกับที่นักแสดงเรื่อง ผู้หญิงคนนี้ ฟรีด้า และสุดยอดบุคคลที่ส่งเสริมสวัสดิการของผู้หญิงมายาวนาน ซัลมา ฮาเย็ก (Salma Hayek) ได้ทำโดยการเสนอตัวขอให้นมกับเด็กอ่อนที่ขาดสารอาหารและหิวโหยอย่างมากของคนที่เธอไม่เคยรู้จักเลย พวกเราชอบยกย่องนักแสดงที่อุทิศตนให้กับการกุศลคนนี้เป็นอย่างมากและนี่ก็คือเรื่องราวอบอุ่นหัวใจของนักแสดงฮอลลีวูดที่แสดงให้เราเห็นว่าบางครั้งก็ใช้อะไรไม่มากเลยในการสร้างความเปลี่ยนแปลงใหญ่ ๆ
การกระทำที่ไม่มีอัตตาและมีเกียรติอย่างแท้จริง
นักแสดงและโปรดิวเซอร์ ซัลมา ฮาเย็ก มาถึงสาธารณรัฐเซียร์ราลีโอนเมื่อเดือนกันยายน ปี 2008 ไม่ใช่ในฐานะคนดัง แต่เป็นในฐานะนักมนุษยชน เพื่อมีส่วนร่วมกับภารกิจการกุศลให้กับแอฟริกา ในขณะที่กำลังเยี่ยมโรงพยาบาลหนึ่ง เธอได้เจอกับคุณแม่คนหนึ่งที่ไม่มีน้ำนมแล้ว ฮาเย็กที่ตอนนั้นมีลูกสาววัยหนึ่งขวบ อุ้มทารกอายุหนึ่งสัปดาห์ที่ขาดสารอาหารขึ้นของคนแปลกหน้าขึ้นมาแล้วเริ่มให้นมกับเขาแม้ว่าจะมีตากล้องหลายคนอยู่รอบตัวเธอก็ตาม
ส่งเสริมให้ลูกสาวของเธอโตขึ้นมาเป็นคนใจกว้างและใส่ใจผู้อื่น
หลังจากเหตุการณ์การให้นมครั้งนั้น เธอก็ยอมรับว่าเธอมีความรู้สึกที่ปนเปกันว่าเธออาจจะไม่ซื่อสัตย์ต่อลูกสาวของตัวเองโดยการเอานมเธอไปให้คนอื่น แต่อย่างไรก็ตาม ตอนนั้นเธอคิดว่าลูกสาวของเธอคงไม่มีปัญหากับการแบ่งนมของเธอ แต่เธอพูดว่า “ที่จริงฉันคิดว่าลูกของฉันคงจะภูมิใจที่ได้แบ่งปันนมของเธอ” เธอยังกล่าวด้วยว่าเมื่อลูกเธอโตขึ้น เธอจะส่งเสริมให้ลูกเป็นคนใจกว้างและใส่ใจผู้อื่น และเธอก็ยังเสริมอย่างภาคภูมิใจอีกด้วยว่า “ฉันคิดว่านั่นเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ฉันจะให้เธอได้ในฐานะแม่”
ความใจดีและความไม่มีอัตตาเป็นสิ่งที่มีอยู่ในครอบครัวฮาเย็ก
นอกจากนั้น ฮาเย็กยังอธิบายถึงแนวคิดของการช่วยเด็กในแนวทางนี้เป็นธรรมเนียมที่ทำกันมานานในครอบครัวของเธอ อันที่จริง หลายปีมาแล้วในหมู่บ้านเม็กซิกัน คุณทวดเธอช่วยเด็กอดยากที่ร้องไห้ที่ปลอบอย่างไรก็ไม่หยุดโดยการให้นมเด็กคนนั้นที่หยุดร้องไห้ได้ในทันทีเลย
การให้นมเอง: ทางเลือกไม่ใช่ตราอคติ
ฮาเย็กกล่าวว่าการตัดสินใจในการให้นมลูกของคนแปลกหน้านั้นยังเป็นความพยายามที่จะกำจัดตราที่มาประทับบนผู้หญิงในเรื่องให้นมบุตร และการกระทำที่เต็มไปด้วยความใจดีนั้น เธอก็ยังได้จุดประเด็นได้เสียงดังและชัดเจนในเรื่องที่ผู้หญิงควรจะมีตัวเลือกและไม่กลัวร่างกายของตัวเอง
คุณมีความคิดอย่างไรต่อการให้นมกับเด็กที่ไม่ใช่ลูกของคุณ ? เราอยากได้ยินความเห็นของคุณในช่องแสดงความคิดเห็นด้านล่างล่ะ