ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

10 ธรรมเนียมอันเป็นเอกลักษณ์จากทั่วโลกที่ผู้คนภาคภูมิใจและยังคงปฏิบัติอยู่

ขนบธรรมเนียมสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของและเป็นเหตุผลที่ดีในการทำให้เราใกล้ชิดกับเพื่อนฝูง ครอบครัว และชุมชนที่เราอาศัยอยู่ได้มากขึ้น ซึ่งบางทีนั่นก็อาจเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้คนถึงยังคงปฏิบัติตามสิ่งเหล่านั้นกันอยู่ ไม่ว่าพวกมันจะดูเก่าหรือล้าสมัยเหมือนชุมชนที่อยู่ห่างไกลมากแค่ไหนก็ตาม อีกทั้งการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมเนียมยังทำให้เราใกล้ชิดกับอดีตและมีส่วนร่วมกับมันมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การใกล้ชิดกับอดีตยังจะช่วยให้เราก้าวไปสู่อนาคตและสร้างคุณลักษณะและอัตลักษณ์ในแบบฉบับของเราเอง

1. ในกรีซ พ่อแม่โยนฟันน้ำนมของลูกขึ้นบนหลังคา

ในสหรัฐอเมริกา เด็ก ๆ จะเก็บฟันของตัวเองเอาไว้ใต้หมอนจนกว่านางฟ้าฟันน้ำนมจะมารับไป แต่ในกรีซ พวกเขากลับทำสิ่งที่ต่างออกไป นั่นก็คือเมื่อฟันน้ำนมของเด็กหลุด เด็ก ๆ และพ่อแม่จะเอาฟันแต่ละซี่โยนขึ้นไปบนหลังคาบ้าน แล้วในขณะที่เด็กกำลังโยนฟันขึ้นไป พวกเขาก็อธิษฐานเรื่องอนาคตอีกด้วย โดยเชื่อกันว่าฟันจะนำความโชคดีมาสู่คนทั้งครอบครัว

2. ในอินโดนีเซีย คู่แต่งงานต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด

ในชุมชนติดง (Tidong) ที่อินโดนีเซีย คู่แต่งงานไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ห้องน้ำเป็นเวลานาน 3 วันหลังจากแต่งงาน โดยการอดกลั้นไว้นานขนาดนี้เชื่อว่าจะนำโชคมาสู่คู่บ่าวสาวที่จะสามารถกุมความสุขไว้ได้นานหลายปี แล้วในทางกลับกัน หากฝ่าฝืนกฎนี้ เชื่อกันว่าโชคของพวกเขาจะอยู่ได้ไม่นาน

ในระหว่าง 3 วันนี้จะมีคนอื่น ๆ มีหน้าที่คอยจับตาดูพวกเขา ดังนั้นจึงคู่บ่าวสาวจึงแอบโกงไม่ได้ พวกเขาให้อาหารกับน้ำในปริมาณเล็กน้อย ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเข้าห้องน้ำ อีกทั้งพวกเขายังต้องทำให้แน่ใจว่าทั้งคู่จะไม่แอบไปขับถ่ายแบบลับ ๆ

3. ในเดนมาร์ก พวกเขาอาบน้ำคนโสดด้วยอบเชย

การมีอายุครบ 25 ปีขณะที่อยู่ในเดนมาร์กและยังโสดหรือยังไม่แต่งงานอาจเป็นช่วงเวลาที่ไม่น่ารื่นรมย์สำหรับผู้คนเลยก็ว่าได้ นั่นเป็นเพราะว่าเพื่อน ๆ ของพวกเขาอาจตัดสินใจอาบน้ำให้ จากนั้นก็เริ่มโยนผงอบเชยใส่ตัวพวกเขา แล้วน้ำก็ช่วยให้อบเชยเกาะติดได้ดีขึ้น ถึงแม้จะดูเหมือนเป็นการลงโทษคนโสด แต่จริง ๆ แล้ว กลับเป็นวิธีที่ตลก ๆ สำหรับคนอื่นในการแกล้งเพื่อนของพวกเขา

ประเพณีนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อหลายร้อยปีก่อน ตอนที่คนขายเครื่องเทศเดินทางไปทั่วประเทศเพื่อขายสินค้าของตนและไม่สามารถแต่งงานได้ตั้งแต่อายุยังน้อย ทุกวันนี้ในเดนมาร์ก อายุเฉลี่ยของการแต่งงานอยู่ที่ 34 ปี แต่ธรรมเนียมปฏิบัติก็ยังคงทำต่อ ๆ กันมาสำหรับบางคนเพียงเพื่อความสนุกสนาน

4. ในฟิลิปปินส์ ผู้คนจะกราบไหว้ผู้สูงอายุ

ธรรมเนียมนี้เรียกว่า “มาโน” (Mano) หรือ “ปักมามาโน” (Pagmamano) และสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น เมื่อคนที่อายุน้อยทักทายผู้สูงอายุ พวกเขาจะก้มตัวลงข้างหน้าและจับมือแล้ววางบนหน้าผาก ในระหว่างการทักทายนี้ คนที่อายุน้อยมักจะขอพรจากผู้อาวุโสด้วย อย่างไรก็ตามทุกคนไม่ได้ใช้ธรรมเนียมนี้ อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับว่ามีใครสอนให้พวกเขาทำแบบนี้ในระหว่างที่โตขึ้นมาหรือเปล่า

5. ในประเทศไทย พวกเขาจัดบุฟเฟ่ต์ให้ลิง

วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายนของทุก ๆ ปี ผู้คนจะจัดบุฟเฟ่ต์อาหารมากมายให้กับลิงแสมนับพันตัวในพื้นที่ได้กินเท่านั้น พิธีเริ่มต้นด้วยการแสดงของคนที่แต่งกายในชุดลิง จากนั้นลิงก็เข้ามา โดยมีผักและผลไม้หลากหลายอย่างวางอยู่บนโต๊ะ แล้วพวกมันก็สามารถกินอะไรก็ได้ตามที่ต้องการ

คนไทยให้ความเคารพลิงเป็นอย่างมาก โดยพวกเขาเชื่อว่าสัตว์ชนิดนี้นำความโชคดีมาให้ แล้วต้นกำเนิดของความรักและความเคารพที่มีต่อลิงนั้นก็ย้อนกลับไปเมื่อ 2,000 ปีก่อน

6. ในประเทศเยอรมนี พวกเขาทำลายข้าวของที่หน้าบ้านแม่เจ้าสาว

ประมาณหนึ่งสัปดาห์ก่อนที่คู่บ่าวสาวจะแต่งงาน เพื่อนฝูง ครอบครัว และแทบทุกคนสามารถมาที่บ้านพ่อแม่ของเจ้าสาวและเริ่มขว้างปาสิ่งของใส่ได้ โดยผู้คนมักจะขว้างสิ่งของที่ไม่ต้องการแล้ว ซึ่งมีทั้งจาน เครื่องเคลือบดินเผาหรือเซรามิก อย่างไรก็ตามไม่อนุญาตให้โยนแก้วหรือกระจก เนื่องจากเชื่อว่าจะนำโชคร้ายมาให้

หลังจากส่วนนี้จบลง คู่รักที่กำลังจะแต่งงานในไม่ช้าก็ต้องกวาดเศษพวกนี้ทั้งหมดทิ้งไปด้วยกัน สิ่งสำคัญก็คือพวกเขาร่วมกันทำความสะอาดเพื่อเป็นสัญญาณว่าตลอดชีวิตที่เหลือพวกเขาจะเผชิญอุปสรรคและแก้ไขปัญหาร่วมกัน

7. ในบอสเนีย พวกเขาเฉลิมฉลองการเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิด้วยเมนูไข่คน

ในการเฉลิมฉลองฤดูใบไม้ผลิ ผู้คนจากเซนิก้าจะมารวมตัวกันที่แม่น้ำบอสน่าและสร้างกองไฟขนาดใหญ่ แล้วบนกองไฟเหล่านี้ พวกเขาวางกระทะเหล็กขนาดใหญ่สำหรับทำไข่คน โดยใช้ไข่หลายร้อยฟองเพื่อให้เพียงพอสำหรับเลี้ยงทุกคนที่มาเข้าร่วมเทศกาล ขั้นตอนทั้งหมดเริ่มต้นตั้งแต่เช้าตรู่ และไข่ก็เป็นสัญลักษณ์ของชีวิตใหม่ เพราะการมาถึงของฤดูใบไม้ผลิได้นำพาอากาศที่อุ่นขึ้นมา

8. ในกลอสเตอร์เชียร์ ผู้คนกลิ้งชีสลงมาจากเนินเขา

งานกลิ้งชีสคูเปอร์ ฮิลล์ ชีส โรล (Cooper’s Hill Cheese Roll) เป็นการแข่งขันที่ได้รับความนิยมอย่างมากที่เกิดขึ้นในช่วงต้นของกลอสเตอร์ โดยใช้ก้อนชีสดับเบิ้ลกลอสเตอร์แบบกลมที่มีมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 3-4 กิโลกรัม (6.6-8.8 ปอนด์) ก้อนชีสสามารถกลิ้งได้เร็วถึง 112 กม./ชม. (70 ไมล์ต่อชั่วโมง) ผู้คนต้องกลิ้งชีลลงเขา 200 ฟุต (182 ม.) เพื่อชัยชนะ โดยคนที่ไปถึงสุดเนินก่อนจะเป็นผู้ชนะและนำชีสโรลไปด้วย

เนินเขาค่อนข้างชัน ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้คนจำนวนมากหกล้มและบางคนถึงกับแขนหัก อีกทั้งยังเชื่อกันว่าการแข่งขันนี้เริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อ 600 ปีก่อน แต่หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรระบุว่าครั้งแรกคือตอนปี 1826

9. ในแคนาดา พวกเขามีการแข่งขันแช่แข็งผม

การแข่งขันแช่แข็งผมอีคลิปส์ นอร์ดิก ฮอท สปริง แฮร์ฟรีซซิ่ง คอนเทสต์ (Eclipse Nordic Hot Springs Hair Freezing Contest) เป็นงานประจำปีที่ทุกคนสามารถเข้าร่วมได้ อุณหภูมิภายนอกในบริเวณนั้นอยู่ที่ −20 องศาเซลเซียส (-4 องศาฟาเรนไฮต์) แต่ผู้เข้าแข่งขันแช่อยู่ในบ่อน้ำพุร้อน โดยขั้นตอนแรกคือการจุ่มศีรษะลงในน้ำร้อนและตรวจดูให้แน่ใจว่าผมของคุณสะอาดและเปียก จากนั้นปล่อยให้ศีรษะอยู่เหนือน้ำจนกว่าขนบนใบหน้าทั้งหมดที่มีทั้งคิ้วและหนวดเคราแข็งตัว

แนะนำให้ทำให้ใบอุ่นด้วยการจุ่มลงในน้ำร้อนเป็นระยะ เมื่อผมของคุณแข็งตัวเต็มที่แล้ว คุณสามารถกดกริ่งที่อยู่ติดกับบ่อน้ำ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะเข้าไปถ่ายรูป

10. ในเม็กซิโก พวกเขากดใบหน้าเจ้าของวันเกิดลงบนเค้ก

ธรรมเนียมนี้ระบุไว้ว่าเจ้าของวันเกิดถูกมัดมือไว้ข้างหลังและคนรอบข้างก็กดหน้าเขาลงบนเค้ก เพื่อให้เจ้าของวันเกิดได้กินเค้กคำแรก ส่วนคนรอบ ๆ ต่างร้องว่า “มอร์ดิด้า ! มอร์ดิด้า ! มอร์ดิด้า !” ซึ่งมีหมายความว่า “ลองชิมดู” แม้แต่ดาราสาวซัลมา ฮาเย็ก (Salma Hayek) ก็มีส่วนร่วมในธรรมเนียมนี้ในปี 2021 ขณะที่ถ่ายทำหนังเรื่อง ฮีโร่พลังเทพเจ้า (Eternals) เธอได้ขอให้แองเจลีน่า โจลี่ (Angelina Jolie) เพื่อนนักแสดงของเธอกดหน้าของเธอลงบนเค้กวันเกิดของเธอเอง

คุณมีธรรมเนียมอะไรที่เป็นเอกลักษณ์ในประเทศหรือเมืองของคุณบ้างมั้ยนะ ? แล้วทุกคนทำตามหรือเปล่า หรือขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าจะเลือกเข้าร่วมมั้ย ?

เครดิตภาพพรีวิว Thiều Hoàng Phước / Pexels
ชีวิตสดใส/สถานที่/10 ธรรมเนียมอันเป็นเอกลักษณ์จากทั่วโลกที่ผู้คนภาคภูมิใจและยังคงปฏิบัติอยู่
แชร์บทความนี้