8 สิ่งอันละเอียดอ่อนที่ส่งผลต่อรูปลักษณ์ของลูกตัวน้อยของคุณ
พันธุกรรมไม่ใช่แค่ปัจจัยเดียวที่ส่งผลต่อรูปลักษณ์ของเด็กที่เกิดมา เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ก็มีอิทธิพลต่อสุขภาพและหน้าตาของพวกเขาได้เช่นกัน ตั้งแต่อาหารที่แม่กินไปจนถึงเงื่อนไขรอบตัว และมันยังมีปัจจัยที่น่าประหลาดใจที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กทารกได้ด้วย
ชีวิตสดใสได้รวบรวม 8 สิ่งที่ไม่ได้โดดเด่นที่อาจส่งผลต่อลักษณะทางร่างกายของเด็กทารกได้ และเราหวังว่ามันจะช่วยให้ผู้หญิงใส่ใจในเส้นทางการตั้งครรภ์ของพวกเธอมากขึ้น
1. ฤดูที่เด็กทารกเกิด
งานวิจัยพบว่าเด็กทารกที่เกิดในฤดูร้อนจะมีน้ำหนักแรกเกิดโดยเฉลี่ยที่สูงกว่า และมีค่าเฉลี่ยของส่วนสูงในวัยผู้ใหญ่ที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับคนที่เกิดในช่วงฤดูหนาว ในความเป็นจริง เด็กทารกที่เกิดในฤดูหนาวจะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงเลยด้วย
2. ระดับน้ำตาลของแม่
ความกระหายในช่วงตั้งครรภ์เป็นเรื่องปกติมาก แต่คุณอาจจะอยากลดของหวานลงถ้าคุณไม่อยากให้การบริโภคน้ำตาลของคุณส่งผลให้ลูกของคุณตัวกลมดิ๊ก โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างการตั้งครรภ์อาจส่งผลต่อเจ้าตัวน้อยที่ต้องพึ่งพาสารอาหารจากคุณ
เด็กน้อยอาจกักเก็บน้ำตาลส่วนเกินให้เป็นไขมันได้ ซึ่งทำให้พวกเขามีความเสี่ยงสูงในการมีน้ำหนักตัวที่เกินขนาด, เป็นเบาหวานและโรคดีซ่าน (สภาวะที่ทำให้ผิวหนังมีสีออกเหลือง) ได้ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้จัดการกับโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ด้วยการกินอาหารที่เหมาะสมและการออกกำลังกาย หรือในกรณีที่สุด ๆ จริง ๆ ก็คือการใช้อินซูลินหรือใช้ยาร่วมด้วย แต่โปรดจำไว้ว่าการปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อเป็นแนวทางในการรักษาที่เหมาะสมนั้นดีที่สุด
3. การบริโภคนมต่อวัน
มีความเชื่ออันยาวนานที่บอกว่าการดื่มนมจะทำให้ผิวของเด็กทารกสว่างขึ้น ซึ่งไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นข้อพิสูจน์สำหรับความเชื่อนี้ แต่สิ่งที่งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ได้กล่าวไว้คือเรื่องของความเชื่อมโยงระหว่างการบริโภคนมและน้ำหนักแรกเกิดที่เหมาะสม วารสารทางการแพทย์เล่มหนึ่งกล่าวว่าผู้หญิงที่ดื่มนมหนึ่งแก้ว (หรือน้อยกว่านั้น) ต่อวันจะให้กำเนิดเด็กที่ตัวเล็กกว่าคนที่ดื่มนมมากกว่านั้น และจำนวนแก้วที่เพิ่มมากขึ้นก็จะเพิ่มน้ำหนักได้ 41 กรัม
4. การบริโภคคาเฟอีน
สมาคมสูตินรีแพทย์ของประเทศสหรัฐอเมริกา (ACOG) แนะนำว่าหญิงตั้งครรภ์ควรบริโภคกาแฟให้น้อยกว่า 200 มิลลิกรัมต่อวัน (หรือประมาณแก้วละ 350 มล.) เนื่องจากคาเฟอีนดูดซึมอย่างรวดเร็วและจะถูกส่งต่อไปยังรกในครรภ์ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการสะสมในระดับสูงได้ ถ้ามีการบริโภคที่มากเกินไป โดยสิ่งนี้อาจขัดขวางการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และเป็นสาเหตุของเด็กทารกที่น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ได้
5. การกินถั่วในขณะตั้งครรภ์
งานวิจัยบอกว่าการกินถั่วระหว่างตั้งครรภ์ (แน่นอนว่าว่าที่คุณแม่จะต้องไม่แพ้ถั่ว) จะช่วยลดความเสี่ยงของลูกในการแพ้ถั่วได้ ซึ่งอาการแพ้อาจจะทำให้เกิดผื่นแดงหรือการบวมได้ และอาการแพ้ที่มองไม่เห็นอื่น ๆ ยังรวมถึงปัญหาในการย่อยอาหาร, การหายใจติดขัดและอาการคัดจมูก ซึ่งผลวิจัยชี้ว่าการได้รับอาหารประเภทนี้ตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยป้องกันทารกจากอาการเหล่านี้ได้
6. คุณภาพของอากาศ
อากาศที่สกปรกหรือมีการปนเปื้อนอาจเป็นสาเหตุของปัญหาน้ำหนักตัวของทารกแรกเกิดได้ นักวิจัยบอกว่ามลพิษที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 10 ไมโครกรัม (ต่อลูกบาศก์เมตรของอากาศ) จะทำให้น้ำหนักตัวเฉลี่ยแรกเกิดลดลง 8.9 กรัม (หรือประมาณ 1/3 ออนซ์) หญิงตั้งครรภ์อาจจะลองต่อสู้กับผลกระทบของมลภาวะทางอากาศด้วยการกินอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระ
7. อาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนจะช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตของเส้นผม
เส้นผมของทารกเริ่มเจริญเติบโตตั้งแต่ภายในมดลูกประมาณช่วงสัปดาห์ที่ 14 หรือ 15 โดยโปรตีนดีต่อการเจริญเติบโตของเส้นผมของคุณและเจ้าตัวเล็ก (เนื่องจากคุณส่งต่อสารอาหารไปให้พวกเขา) และไข่ไม่ได้เป็นแค่แหล่งที่มาของโปรตีนที่ยอดเยี่ยมเท่านั้น แต่มันยังมีไบโอตินซึ่งดีต่อเส้นผมด้วย
อาหารอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายของเราก็คือผักโขม (ซึ่งอุดมไปด้วยโฟเลต, เหล็ก และวิตามินเอและซี ซึ่งช่วยทำให้เส้นผมสุขภาพดีและหนังศีรษะชุ่มชื้น) อะโวคาโดและถั่วมีส่วนช่วยในการต่อสู้กับอาการผมร่วง และปลาที่มีไขมันก็เป็นแหล่งที่มาของกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ดีเช่นกัน แต่ว่าที่คุณแม่ควรจะระมัดระวังและปรึกษากับสูตินรีแพทย์ก่อน เนื่องจากปลาบางชนิดนั้นไม่ควรกินในระหว่างตั้งครรภ์
8. การชะลอเวลาในการตัดสายสะดือ
ช่วงเวลาในการตัดสายสะดืออาจส่งผลต่อสีผิวของเด็กทารกในทันทีหลังคลอด แม่คนหนึ่งเล่าว่าเธอสังเกตว่าตอนที่ลูกชายคนโตของเธอเกิดนั้นมีการตัดสายสะดือในทันที และในตอนแรกตัวของเขาก็ดูม่วง ๆ ก่อนที่จะค่อย ๆ กลายเป็นสีชมพู และในตอนที่ลูกสาวของเธอเกิด แม่ก็ตัดสินใจที่จะยังไม่ตัดสายสะดือจนกระทั่งมันหยุดเต้นตุบ ๆ (ใช้เวลาประมาณ 11 นาที) และเด็กหญิงตัวน้อยก็มีสีตัวที่ชมพูมาก ๆ
วิทยาศาสตร์มีหลักฐานสนับสนุนแนวคิดนี้โดยบอกว่าการชะลอการตัดสายสะดือไป 5 นาทีจะช่วยส่งต่อธาตุเหล็กให้กับทารกได้มากขึ้น และอาจจะมีผลกระทบในเชิงบวกต่อโครงสร้างสมองของเด็กด้วย ถึงอย่างนั้นมีบางกรณีที่จำเป็นจะต้องตัดสายสะดือในทันที เช่น มีอาการตกเลือดหรือเด็กต้องการการรักษาทางการแพทย์อย่างเร่งด่วน
คุณทำตามข้อปฏิบัติในการตั้งครรภ์ข้อไหนบ้างที่คุณรู้ว่ามันจะส่งผลกระทบต่อลูก ? เรื่องสืบทอดหรือความเชื่อเกี่ยวกับเด็กในครรภ์อะไรบ้างที่ได้รับความนิยมในประเทศของคุณ ?