ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

9 เคล็ดลับการเลี้ยงลูกโดยที่ไม่ให้เด็กน้อยกลายเป็นเด็กดื้อ

เด็กทำตัวไม่ดีก็เพราะหลาย ๆ เหตุผล แต่เหตุผลที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็เพราะว่าพวกเขาเกิดเบื่อขึ้นมา พวกเขารู้ว่านิสัยของพวกเขาทำแล้วได้ผล ทำแล้วทุกอย่างเป็นไปตามที่ต้องการหรือได้ในสิ่งที่ดีต้องการ บางครั้งความต้องการอำนาจก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลของความดื้อดึงของพวกเขา เพราะนั่นเป็นวิธีการที่เด็ก ๆ จะได้ยืนยันว่าพวกเขามีอำนาจในการควบคุม ดังนั้น การรู้ว่าควรจะลงสนามนี้อย่างไรเมื่อเจอการกระทำเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก รวมถึงควรรู้ว่าจะจัดการพฤติกรรมเหล่านี้อย่างไรให้ถูกทางด้วยเช่นกัน

ชีวิตสดใสชอบที่จะช่วยให้ชีวิตของคุณในฐานะพ่อแม่ดีขึ้นเล็กน้อย เราจึงอยากจะนำเสนอ 9 เคล็ดลับเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอาละวาดที่น่าชังเหล่านี้

1. แสดงให้พวกเขาเห็นว่ามีวิธีที่เราจะเข้าหาพวกเขาได้อย่างใจเย็นขึ้น ในสถานการณ์เหล่านี้

เด็ก ๆ มักจะชอบเลียนแบบพ่อแม่ ดังนั้นเราควรที่จะเป็นแบบอย่างพฤติกรรมและการกระทำของพวกเขา โดยการสอนให้พวกเขารู้จักที่จะใจเย็น หากพวกเขาเริ่มเอะอะโวยวายอาละวาด และคุณเริ่มตะโกนกลับไปบ้าง สิ่งเหล่านี้แหละที่จะเริ่มกลายเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับพวกเขา ดังนั้น จงแสดงให้พวกเขาเห็นว่ายังมีวิธีอื่นอีกที่จะจัดการกับอารมณ์ของพวกเขาเอง

2. ให้ทางเลือก พวกเขาจะได้มีสิทธิ์ตัดสินใจว่าอยากทำอะไร

อ้างอิงจากผู้ช่วยศาสตราจารย์แแอนจี้ ที เครนอร์ (Angie T. Cranor) การให้ทางเลือกกับลูกจะช่วยทำให้พวกเขาสมปรารถนาความต้องการที่อยากจะเป็นฝ่ายควบคุมของพวกเขา ดังนั้น ถ้าพวกเขาจะต้องเก็บของเล่นและแปรงฟัน ให้ถามเขาว่าพวกเขาอยากจะทำอะไรก่อนกัน

3. พกขนมติดตัวไปด้วย

นิสัยไม่ดีหรือทัศนคติแย่ ๆ มักจะเกิดมาจากความหิว ดังนั้น ถ้าคุณและลูกของคุณอยู่ข้างนอก ให้พกขนมติดตัวไปด้วย มันจะช่วยคุณได้จากการอาละวาดที่มีสิทธิ์จะเกิดขึ้นได้ และยังช่วยทำให้ลูกของคุณอารมณ์ดีได้ตลอดเวลา

4. ทำให้พวกเขารู้ถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดผลลัพธ์ที่เลวร้าย

“เพราะฉันสั่ง” นี่ไม่ใช่เหตุผลที่ดีที่ควรมอบให้เด็ก ๆ เมื่อไหร่ก็ตามที่พวกเขาถามกลับมาว่าทำไมพวกเขาถึงไม่ควรทำอะไรบางอย่าง ให้พยายามที่จะพูดคุยกับพวกเขาและอธิบายว่าอะไรอาจจะเกิดขึ้นได้หากพวกเขาประพฤติตัวไม่ดี และทำไมพวกเขาถึงไม่ควรทำบางสิ่งบางอย่าง ทำให้พวกเขาตระหนักถึงผลลัพธ์ของการกระทำของตนเองที่อาจเกิดขึ้นตามมาโดยธรรมชาติ พวกเขาจะได้เรียนรู้ และตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมในภายหลัง

5. สร้างกิจวัตรที่บ้านที่พวกเขาจะต้องทำตาม และให้รางวัลพวกเขาเมื่อปฏิบัติตามสิ่งนั้น

ช่วยให้พวกเขาพัฒนากิจวัตรประจำวันที่ดี อย่างการไม่ดูทีวีหลังจากช่วงเวลาหนึ่ง ช่วยล้างจาน แปรงฟัน และเข้านอนในเวลาที่เหมาะสม หรือหากคุณอยากจะใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงไปอีกหน่อย คุณอาจจะสร้างเป็นกระดานตารางงานประจำในแต่ละเดือน บอกพวกเขาว่าถ้าพวกเขาสามารถทำตามกิจวัตรทั้งหมดทั้งเดือนได้ (หรือ 1 หรือ 2 สัปดาห์) พวกเขาก็จะได้รางวัลที่พวกเขาอยากได้

6. ให้ผลพวงเชิงตรรกะกับพวกเขาหากพวกเขาไม่ทำตามกฎ

ผลพวงเชิงตรรกะนั้นมักจะโยงใยกับการประพฤติตนที่ไม่ดีบางอย่าง ยกตัวอย่างเช่น หากลูกคุณไม่ต้องการกินผักใบเขียว ก็อย่ายอมให้พวกเขากินขนมหวาน หรือถ้าพวกเขาไม่อยากเก็บของเล่น ก็อย่าปล่อยให้พวกเขาเล่นกับของเล่นเหล่านั้นอีกตลอดวันนั้น สิ่งนี้จะดีกับเด็ก ๆ ที่กำลังงอแงที่จะทำอะไรบางอย่าง อย่างไรก็ตาม หลีกเลี่ยงการบอกถึงผลพวงที่ไม่มีเหตุผล ยกตัวอย่างเช่น ถ้าพวกเขาไม่กินอาหารของตัวเอง อย่าไปบังคับให้พวกเขาไปล้างโรงรถ

7. เบี่ยงความสนใจของเด็ก

อ้างอิงจากสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา บางครั้งเด็ก ๆ สามารถมีพฤติกรรมที่ไม่ดีเพราะพวกเขาเบื่อ และไม่รู้ว่าจะทำอะไรได้ที่ดีไปกว่านี้ ดังนั้น การหาอะไรบางอย่างให้พวกเขาทำ โดยเฉพาะเมื่อสิ่งเหล่านั้นเป็นเรื่องที่พวกเขาสามารถมีส่วนร่วมและรู้สึกเพลิดเพลินไปกับมันได้ นั่นสามารถเบี่ยงเบนความสนใจของพวกเขาไปหาสิ่งที่ดีได้ แทนที่จะซนอย่างอื่น

8. พยายามถามความคิดเห็นและหนทางแก้ปัญหาบางอย่างกับพวกเขา

ถามพวกเขาว่าพวกเขามีปัญหา หรือมีเรื่องอะไรที่รบกวนจิตใจของพวกเขาหรือไม่ ถ้ามีอะไรผิดปกติและพวกเขาเล่าให้คุณฟัง ให้นั่งคุยกับพวกเขาและพูดคุยกันเรื่องนั้น พยายามถามความคิดเห็นของพวกเขาว่าพวกเขาคิดว่าควรทำอย่างไรเพื่อเป็นการแก้ปัญหา หากพวกเขาตอบไม่ได้ก็ให้ช่วยพวกเขาเล็กน้อย แต่จำไว้ว่า ต้องทำให้พวกเขารู้สึกว่าพวกเขาเป็นคนแก้ปัญหาเหล่านั้นด้วยตนเอง นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมาก และสิ่งสำคัญอีกอย่างก็คือการแสดงความยินดีกับเขาและการให้กำลังใจพวกเขา

9. รับรู้อารมณ์ที่พวกเขารู้สึกและพยายามช่วยเหลือพวกเขา

แทนที่จะทำเหมือนพวกเขาเป็นเด็กไม่ดีหรือเป็นเด็กที่ทำพฤติกรรมแย่ ๆ คุณสามารถแสดงให้พวกเขาเห็นว่าคุณเข้าใจและรู้ว่าพวกเขารู้สึกอย่างไร เพราะอารมณ์ความรู้สึกมีบทบาทสำคัญต่อพฤติกรรมของเด็กเป็นอย่างมาก ดังนั้นการรับรู้ความรู้สึกนั้นเป็นเรื่องดีเสมอ ยกตัวอย่างเช่น ประโยคง่าย ๆ อย่าง “แม่รู้ว่าลูกผิดหวังที่เราไปทะเลกันไม่ได้วันนี้ แต่อากาศมันไม่ดีเลย มาทำอย่างอื่นกันดีกว่าที่พอจะชดเชยสิ่งนั้นได้” แบบนี้อาจได้ผลกับลูกคุณก็ได้

คุณรับมืออย่างไรเมื่อลูกของคุณประพฤติตัวไม่ดี ? ช่วยแชร์เคล็ดลับการเลี้ยงลูกเพิ่มเติมให้เรารู้หน่อยสิ ในคอมเมนต์เลยจ้า !

ชีวิตสดใส/ครอบครัว & เด็ก/9 เคล็ดลับการเลี้ยงลูกโดยที่ไม่ให้เด็กน้อยกลายเป็นเด็กดื้อ
แชร์บทความนี้