ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

สิทธิ์วันลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรในประเทศต่าง ๆ ให้ลากันนานแค่ไหนนะ (สาว ๆ ชาวโครเอเชียโชคดีมาก ๆ เลยแหละ)

นักจิตวิทยาและกุมารแพทย์มักพูดเสมอว่าพ่อแม่จำเป็นต้องสื่อสารกับทารกแรกเกิดและใช้เวลากับลูกให้มากที่สุดในช่วงเดือนแรกของชีวิต ซึ่งรัฐบาลในแต่ละประเทศต่างสนับสนุนความคิดนี้และอนุญาตให้เหล่าคุณแม่สามารถลาคลอดได้ แต่ความยาวของวันหยุดเหล่านี้ล้วนแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ

ชีวิตสดใสได้ลองคำนวณดูแล้วว่าตกลงในแต่ละประเทศให้คุณแม่สามารถลาคลอดได้กี่วันกันแน่ และยังได้ค้นพบว่ารัฐบาลในแต่ละประเทศมีเงื่อนไขอย่างไรบ้างให้กับ (หรือบังคับ) คุณพ่อคุณแม่หล่านั้น

11. บริเตนใหญ่

ระยะเวลาที่สามารถลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร: 365 วัน

คุณพ่อคุณแม่ชาวอังกฤษได้รับอนุญาตให้แบ่งวันลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรกันได้ โดยคุณแม่มีภาระผูกพันกับวันลาคลอดเพียงแค่ 2 สัปดาห์ ส่วนเวลาที่เหลือ จะแบ่งให้คุณพ่อหรือคุณแม่เป็นคนลามาเลี้ยงลูกน้อยก็ได้

10. สวีเดน

ระยะเวลาที่สามารถลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร: 240 วัน

คุณพ่อคุณแม่ชาวสวีเดนสามารถแบ่งวันลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรกันได้ แต่อย่างไรก็ตาม คุณพ่อมีวันลาของคุณพ่ออยู่แน่ ๆ 60 วัน ซึ่งถ้าคุณพ่อไม่ใช่สิทธิ์นี้ สิทธิ์นี้ก็จะ “หมดอายุ” ไป

9. โครเอเชีย

ระยะเวลาที่สามารถลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร: 410 วัน

ในประเทศนี้ สิทธิลานั้นคลอดยอดเยี่ยมสุด ๆ เพราะมีวันลาให้มากกว่าหนึ่งปีเสียอีก แถมกองทุนประกันสุขภาพยังจ่ายเงินให้คุณแม่ 100% ของเงินเดือนจนกว่าเด็กน้อยจะมีอายุได้ 6 เดือนอีกด้วย

8. คาซัคสถาน

ระยะเวลาที่สามารถลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร: 126 วัน

ในกรณีที่การคลอดบุตรมีความซับซ้อนหรือเด็กที่จะคลอดมีมากกว่า 2 คนขึ้นไป ส่วนหนึ่งของวันลาหลังคลอดจะสามารถขยับขยายไปได้อีกถึง 10 สัปดาห์ นอกจากนี้ คุณแม่ยังได้รับอนุญาตให้ลาเพื่อไปเลี้ยงดูบุตรได้จนลูกอายุครบ 3 ขวบเลย

7. ฟินแลนด์

ระยะเวลาที่สามารถลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร: 126 วัน

แทนที่จะให้เป็นวันลาคลอด คุณแม่สามารถพาลูก ๆ ไปเข้าโรงเรียนเตรียมอนุบาลหรือจ้างพี่เลี้ยงที่รัฐบาลจัดหาไว้ให้ได้

6. โปรตุเกส

ระยะเวลาที่สามารถลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร: 120 วัน

ว่ากันตามกฎหมายแล้ว ไม่อนุญาตให้คุณพ่อใช้เวลากับลูกน้อยกว่า 5 วัน ไม่เช่นนั้นคุณพ่อจะต้องถูกปรับหากคุณพ่อหลีกเลี่ยงที่จะทำหน้าที่ของตัวเอง

5. ฝรั่งเศส

ระยะเวลาที่สามารถลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร: 112 วัน

วันลานี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน (2 เดือนก่อนวันคลอดและ 2 เดือนหลังวันคลอด) หรือคุณแม่สามารถจะขอใช้เวลากับลูกหลังคลอดมากกว่าก็ได้ หากเป็นคุณแม่ที่แข็งแรงและรู้สึกดีเยี่ยม คุณแม่อาจใช้วันลาเพียงแค่ 3 สัปดาห์ก่อนกำหนดคลอดก็ได้ โดยคุณแม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานได้จนกว่าจะอายุครรภ์จะครบ 36 สัปดาห์เท่านั้น

4. จีน

ระยะเวลาที่สามารถลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร: ตั้งแต่ 90 วัน

“ตั้งแต่” หมายความว่าระยะเวลาลาคลอดนั้นขึ้นอยู่กับอายุของมารดาเป็นสำคัญ ยิ่งมารดาอายุมากเท่าไหร่ วันลาของเธอก็จะมีมากยิ่งขึ้นเท่านั้น

3. ไอซ์แลนด์

ระยะเวลาที่สามารถลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร: 90 วัน

ในกรณีที่มีการให้วันลาคลอดแก่คุณแม่เท่านั้น วันลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรก็จะต้องตามมาด้วยโดยใช้สูตร “3-3-3” ซึ่งก็คือ 3 เดือนให้คุณพ่อ 3 เดือนให้คุณแม่ และอีก 3 เดือนที่เหลือให้คุณพ่อและคุณแม่แบ่งกันเอาเอง

2. อินเดีย

ระยะเวลาที่สามารถลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร: ตั้งแต่ 84 วัน

“ตั้งแต่” หมายความว่าระยะเวลาลาคลอดในอินเดียนั้น ขึ้นอยู่กับจำนวนเด็กที่คลอด คุณแม่จะได้รับวันลา 182 วันหากลูกที่กำลังจะคลอดนั้นเป็นลูกคนแรกหรือคนที่ 2 แต่ถ้าคุณแม่กำลังจะให้กำเนิดลูกคนที่ 3 เป็นต้นไป วันลาคลอดของคุณแม่จะเหลือเพียง 84 วันเท่านั้น

1. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

ระยะเวลาที่สามารถลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร: ตั้งแต่ 45 วัน

“ตั้งแต่” หมายความว่าวันลาคลอดในประเทศยูเออี (UAE) นั้น ขึ้นอยู่กับงานของเธอเป็นหลัก หากคุณแม่ทำงานอยู่ในบริษัทเอกชน ก็อาจได้วันลาอยู่ที่ 45 วันรวมก่อนและหลังคลอด แต่ถ้าคุณแม่ทำงานให้กับรัฐบาล คุณแม่อาจได้วันลาถึง 90 วันเลยทีเดียว

อ้างอิงจากมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศในทุกวันนี้แล้วนั้น รัฐบาลของประเทศส่วนใหญ่มักจะปกป้องสิทธิของคนเป็นแม่โดยให้พวกเธอได้ใช้เวลาอยู่กับลูกแรกคลอดและมีการวางกฎระเบียบให้มีการสนับสนุนทางด้านการเงินที่จำเป็นต่าง ๆ

มีเพียงแค่ 2% ของประเทศต่าง ๆ เท่านั้น (ซึ่งรวมถึงสหรัฐอเมริกา) ที่กฎเกณฑ์การให้การสนับสนุนทางด้านการเงินและค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตรไม่ได้มีการบังคับควบคุมโดยกฎหมายแต่อย่างใด

คุณชอบระบบของประเทศไหนที่สุดกันนะ? ทำไมล่ะ?

เครดิตภาพพรีวิว Pexels, Depositphotos
แชร์บทความนี้