ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

ทำไมถึงยังไม่ควรเจาะหูให้ลูกของคุณจนกว่าจะถึงช่วงอายุหนึ่ง อ้างอิงตามหลักวิทยาศาสตร์

ฮิลลารี่ ดัฟฟ์ (Hilary Duff) คุณแม่คนดังของลูก ๆ 3 คนได้โพสต์ภาพลูกสาววัย 8 เดือนของเธอ น้องมาเอะ (Mae) กับภาพที่สาวน้อยได้รับการเจาะหูมาแล้ว ซึ่งทำให้เราอดที่จะพูดถึงเรื่องนี้ไม่ได้ ในขณะที่ภาพความน่ารักของเด็กน้อยนั้นเป็นที่ชัดเจนอยู่แล้ว แต่ต่างหูคู่เล็ก ๆ บนหูของมาเอะก็ยังอดทิ้งคำถามไว้ในใจเราไม่ได้ว่าเราควรเจาะหูให้เด็กอายุเพียงเท่านั้นแล้วหรือยังนะ

ชีวิตสดใสอดไม่ได้ที่จะลองมาชั่งน้ำหนักระหว่างคำโต้เถียงทั้งสองฝ่ายดู และทำรายการเหตุผลออกมาให้ดูว่า ทำไมถึงยังไม่ควรเจาะหูเด็กน้อยจนกว่าพวกเขาจะเติบโตขึ้นจนถึงช่วงอายุหนึ่งเสียก่อน

1. มันเปิดโอกาสให้เกิดการติดเชื้อได้

ทุกครั้งที่คุณจิ้มเข็มหรือเจาะผิวหนังของลูกคุณ มันจะเป็นการเปิดโอกาสให้มีการติดเชื้อเข้าไปในร่างกายของลูกน้อยของคุณได้ ไม่ว่าจะมีการเตรียมการป้องกันความปลอดภัยไว้ดีแค่ไหนแล้วก็ตาม ระบบภูมิคุ้มกันของทารกที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาอาจได้รับผลกระทบได้ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี

ถ้าคุณเจาะหูลูกของคุณไปแล้ว ก็ให้ลองมองหาสัญญาณว่ามีอาการบวม คัน หรือมีสีแดงเรื่อขึ้นมาบ้างไหม ซึ่งนั่นอาจเป็นไปได้ว่าหูของเด็กน้อยกำลังติดเชื้อ ในกรณีนี้ ให้ติดต่อแพทย์อย่างเร่งด่วนทันที และหมั่นดูแลอยู่เสมอหากต้องมีการให้ยาใด ๆ

2. การให้ลูกได้เป็นฝ่ายตัดสินใจว่าจะเจาะหูตัวเองหรือไม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุด

เรื่องการจะเจาะหูหรือไม่นั้นมักเป็นการตัดสินใจส่วนบุคคล ในการทำเช่นนี้ มันจะทำให้พวกเขาสามารถควบคุมจัดการรูปร่างหน้าตาตัวเอง ตลอดจนเลือกจุดที่อยากจะเจาะได้เองอีกด้วย

หากคุณปล่อยให้ลูกของคุณได้ตัดสินใจเกี่ยวกับการเจาะหูของตัวเอง มันยังอาจช่วยให้พวกเขาใส่ใจเฝ้าคอยดูแลมันอยู่เสมอ ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจเขียนรายละเอียดสิ่งที่ลูกของคุณต้องทำเพื่อทำให้หูของพวกเขาไม่ติดเชื้อแล้วมอบให้พวกเขา ซึ่งรวมถึงการล้างใบหูด้วยสบู่ที่อ่อนโยนวันละสองครั้ง และให้พวกเขาทำความสะอาดต่างหูคู่นั้นด้วยแอลกอฮอลฆ่าเชื้อโรค (rubbing alcohol) และสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide)

3. ผิวของพวกเขาอาจจะยังบอบบางเกินไป

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเด็กน้อยของคุณอาจจะต้องรู้สึกว่าการเจาะหูตอนโตขึ้นมาหน่อยนั้นเจ็บปวดกว่าแน่นอนอยู่แล้ว ถึงแม้ว่าการเจาะจะเป็นการต้องจิ้มเข็มเข้าไปผ่านผิวหนังของลูกคุณ แต่ต่างหูเม็ดเล็กเหล่านี้มักจะสร้างความรู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัวเพียงแค่ไม่กี่วันเท่านั้น

ผู้เชี่ยวชาญส่วนมากต่างลงความเห็นว่าควรทาครีมที่ก่อให้เกิดอาการชาทิ้งไว้ 15 นาทีก่อนที่จะทำการเจาะ เพื่อช่วยลดความเจ็บปวดจากการจิ้มธรรมดา ๆ เหล่านี้ โดยครีมที่ทำให้เกิดอาการชาเหล่านี้ส่วนมากมักมีส่วนผสมของลิโดเคน (lidocaine) ซึ่งเป็นยาชาที่ช่วยให้สูญเสียความรู้สึกบริเวณผิวหนังได้

อีกวิธีที่คุณทำได้ก็คือการใช้กระดาษเช็ดปากห่อน้ำแข็งและให้นวดบริเวณใบหู การทำเช่นนี้จะช่วยป้องกันความไวของปลายประสาทและลดอาการเจ็บปวดได้ โดยคุณสามารถทำขั้นตอนเหล่านี้ ก่อนที่จะลงมือเจาะหูในทันที หรืออาจพยายามดึงความสนใจของเด็ก ๆ ไปทางอื่นเพื่อไม่ให้พวกเขารู้สึกถึงความไม่สบายตัวที่จะเกิดขึ้น

4. สิ่งนี้อาจทำให้เจ้าตัวน้อยของคุณออกไปสนุกกับกิจกรรมข้างนอกที่ตนชื่นชอบไม่ได้

การเจาะหูลูกตั้งแต่ยังเล็กมาก ๆ อาจทำให้พวกเขาไม่สามารถออกไปสนุกกับกิจกรรมโปรดนอกบ้านของพวกเขาได้ เช่น การว่ายน้ำ แถมต่างหูที่มีขนาดใหญ่ขึ้นอาจยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเกี่ยวติดกับเสื้อผ้า หรือถูกเด็กคนอื่น ๆ ดึงเอาได้ ดังนั้น รอให้ลูกของคุณโตจนถึงช่วงอายุหนึ่งก่อนจะดีกว่า เมื่อเขาถึงวัยที่สามารถหักดิบหยุดเล่นกีฬาหรือกิจกรรมสุดโปรดของพวกเขาได้สักสองสามเดือน

หลักการง่าย ๆ ทั่วไปเลยก็คือ จนกว่าที่แผลจากการเจาะหูจะหายดีนั้น แนะนำว่าห้ามเข้าร่วมกิจกรรมทางร่างกายใด ๆ ที่จะต้องมีการถึงเนื้อถึงตัวหรือออกแรงดึงดันกับเด็กคนอื่น ๆ เป็นอันขาด และจะยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อ เพราะเด็ก ๆ มักจะชอบจับต่างหูด้วยมือที่สกปรก

5. อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้

อาการแพ้นิกเกิ้ล (nickel allergy) ค่อนข้างเป็นอาการที่เกิดได้ทั่วไปในเด็ก ๆ ที่มีใบหูที่บอบบาง และยังมีเรื่องสำคัญที่ควรทราบไว้ด้วยว่าแม้กระทั่งในเครื่องประดับที่เป็นทองคำก็มักจะมีสารนิกเกิ้ลปะปนอยู่ด้วยเช่นกัน เครื่องประดับที่ชุบเงินมักจะปลอดภัยกว่าและมีการดูแลอย่างดีเพื่อให้หูของเด็ก ๆ ไม่ต้องติดเชื้อ คุณอาจลองปรึกษาคุณหมอเด็กของคุณดูก่อนพาลูกของคุณไปเจาะหูก็ได้ เพื่อให้แน่ใจว่าลูก ๆ จะปลอดภัยจากอาการแพ้ต่าง ๆ หลังจากไปเจาะหู

คุณคิดว่ายังไงที่ฮิลลารี่ ดัฟฟ์เจาะหูให้กับลูกสาววัย 8 เดือนของเธอ? คุณมีเรื่องอื่น ๆ ที่คล้ายกับเรื่องนี้บ้างไหม? คุณเจาะหูของคุณตอนที่อายุเท่าไหร่กัน? เราอยากฟังเรื่องของคุณนะ !

เครดิตภาพพรีวิว hilaryduff/Instagram
ชีวิตสดใส/ครอบครัว & เด็ก/ทำไมถึงยังไม่ควรเจาะหูให้ลูกของคุณจนกว่าจะถึงช่วงอายุหนึ่ง อ้างอิงตามหลักวิทยาศาสตร์
แชร์บทความนี้