ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

8 อาหารเพื่อสุขภาพที่เราไม่ควรกินมันมากเกินไป

นับตั้งแต่การกินอาหารเมดิเตอเรเนียนได้รับการพิสูจน์แล้วว่าดีต่อสุขภาพ ผู้คนก็ตระหนักดีว่าอาหารนั้นเกี่ยวข้องกับสุขภาพมากแค่ไหน แต่น่าเสียดายที่ความนิยมส่วนใหญ่เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารแบบใหม่นี้มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มการกินอาหารเพียงชนิดเดียว แต่แม้กระทั่งสิ่งที่เรียกว่าซูเปอร์ฟู้ด (superfoods) หรือสุดยอดอาหารก็ไม่สามารถให้สารอาหารและประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งหมดของมื้ออาหารได้สมดุล

วันนี้ที่ชีวิตสดใส พวกเราจะพาคุณมาดูกันว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อคุณทานอาหารเพื่อสุขภาพมากเกินไป

1. แครอท

แครอทอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน ซึ่งร่างกายของคุณจะเปลี่ยนมันเป็นวิตามินเอ แล้ววิตามินเอที่มากเกินไปนั้นก็ไม่มีอยู่จริง เพราะว่าร่างกายของคุณเปลี่ยนเบต้าแคโรทีนเป็นวิตามินเอได้เฉพาะที่ต้องการ น่าเสียดายที่เบต้าแคโรทีนที่มากเกินไปในร่างกายของคุณสามารถทำให้เกิดภาวะแคโรทีนมีเนีย (carotenemia) ได้ ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้ผิวหนังของคุณเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และมันจะค่อย ๆ หายไปเองเมื่อแคโรทีนถูกแปรสภาพและไม่ก่อให้เกิดอันตราย

2. ชาหมักคอมบูชา

เครื่องดื่มของชาวจีนที่พิชิตโลกของนักกินนับพันปีชนิดนี้มีประโยชน์ในการย่อยอาหารและกล่าวกันว่าช่วยเพิ่มแบคทีเรียในลำไส้ แต่ทว่ามันยังมีสารประกอบที่เรียกว่า FODMAP ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการหมักของยีสต์ ซึ่งหากบริโภคในปริมาณมาก ๆ อาจทำให้ท้องอืดและมีปัญหาทางเดินอาหาร

3. น้ำ

น้ำที่มากเกินไปสามารถสร้างความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ได้ โดยการส่งระดับโซเดียมให้ทั่วถึงทั้งร่างกาย เมื่อไตของคุณไม่สามารถจัดการได้อีกต่อไป ผลที่ตามมาอีกอย่างหนึ่งก็คือการสะสมของน้ำในสมอง ซึ่งทำให้สมองบวมและเพิ่มแรงบีบอัด เนื่องจากกะโหลกศีรษะมนุษย์ไม่สามารถยืดขยายออกได้ แม้ว่าจะพบได้ยากมาก แต่ทั้งสองกรณีนี้พบได้ในนักกีฬาที่รู้สึกว่าจำเป็นต้องได้รับน้ำคืนหลังจากที่มีการฝึกซ้อมเป็นเวลานานหรือในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไต

4. อะโวคาโด้

อะโวคาโด้มีไฟเบอร์และวิตามินมากมาย นอกจากนี้ยังสามารถช่วยให้คุณลดไขมันเลว (LDL) ได้และรักษาเซลล์ของคุณ เพราะมันมีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวที่สูง แต่ทว่าไขมันก็ยังคงทำให้อ้วน โดยอะโวคาโด้หนึ่งลูกมี 240 แคลอรี ซึ่งคิดเป็นประมาณ 10% −20% ของปริมาณแคลอรี่ตามหลักของคนเรา และการบริโภคแคลอรี่ที่มากเกินไปสามารถทำให้เกิดปัญหาหลอดเลือดอุดตันได้ ดังนั้นควรกินอะโวคาโด้ประมาณครึ่งลูกหรือ 1 ลูกต่อวันถ้ากินสด (ไม่ใช่ปริมาณสำหรับแผ่นอะโวคาโด้อบกรอบ)

5. บีทรูท

บีทรูทเป็นแหล่งวิตามินและแร่ธาตุที่ดี อีกทั้งยังมีไนตริกออกไซด์จำนวนมากที่ร่างกายของคุณเปลี่ยนจะมันเป็น
ไนเตรต ซึ่งสามารถช่วยลดความดันโลหิตของคุณได้ อีกทั้งสารเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนเป็นไนโตรซามีนที่พบได้ในเนื้อสัตว์เช่นกัน ซึ่งหมายความว่าอาจเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคได้ ด้วยเหตุนี้เองทางที่ดีที่สุดคือหลีกเลี่ยงการกินบีทรูทและเนื้อแดงในปริมาณมาก ๆ

6. สาหร่าย

สาหร่ายเป็นตัวอย่างที่หายากของผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่เนื้อสัตว์ที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 12 ซึ่งทำให้ทดแทนเนื้อสัตว์ในอาหารของชาววีแกนและอาหารมังสวิรัติได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังได้รับการโปรโมทให้เป็นซูเปอร์ฟู้ดที่สามารถช่วยให้คุณลดน้ำหนักได้ เนื่องจากมีไอโอดีนและอุดมด้วยไฟเบอร์ แต่การบริโภคไอโอดีนในปริมาณมากอาจนำไปสู่ปัญหาต่อมไทรอยด์และทำให้น้ำหนักขึ้นได้ อีกทั้งสาหร่ายอาจมีสารโลหะหนักจำนวนมากขึ้นอยู่กับว่ามันขึ้นที่ไหน

7. ถั่วเหลืองและสิ่งที่ทำมาจากมัน

อาหารจากถั่วเหลืองอุดมไปด้วยสารอาหาร เช่น วิตามินบี ไฟเบอร์ โพแทสเซียม แมกนีเซียม และโปรตีนคุณภาพสูง ซึ่งถือได้ว่าเป็นโปรตีนที่สมบูรณ์ เพราะมีกรดอะมิโนที่จำเป็นทั้งหมด 9 ชนิดที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นได้ แต่ถ้าคุณเพิ่งเปลี่ยนการกินอาหารเนื่องจากมีปัญหาต่อมไทรอยด์ ข้อควรระวังก็คือถั่วเหลืองอาจรบกวนยาฮอร์โมนที่ใช้รักษาภาวะไทรอยด์ที่ทำงานต่ำในผู้ป่วยหญิงได้ แม้ว่าการศึกษาจะยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ก็ควรที่จะเฝ้าระวังอย่างรอบคอบ

8. เมล็ดเจีย

แม้ว่าเมล็ดเจียจะถูกขายเป็นซูเปอร์ฟู้ดเนื่องจากมีโอเมก้า 3 สูง แต่ก็ยังไม่พบหลักฐานที่บ่งชี้ถึงประโยชน์ต่อสุขภาพของเมล็ดเจีย โดยเฉพาะประโยชน์ที่เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจ โอเมก้า 3 ที่มีอยู่ในเมล็ดเจียนั้นร่างกายดูดซึมได้ยากกว่าชนิดที่ได้จากปลาแซลมอน ดังนั้นถึงแม้ว่าจะมีโอเมก้า 3 ที่มากกว่า แต่คุณก็ต้องกินเมล็ดเจียประมาณ 100 กรัม เพื่อให้ดูดซึมได้มากเท่ากับที่คุณกินกับปลา ซึ่งประเด็นสำคัญเลยก็คือเมล็ดเจีย 100 กรัมมีแคลอรี่ประมาณ 500 แคลอรี่ ซึ่งเท่ากับแฮมเบอร์เกอร์ที่ขายตามร้านฟาสต์ฟู้ด

คุณคิดว่าการกินอาหารในปริมาณมาก ๆ ดีต่อสุขภาพของคุณหรือเปล่า ? แล้วคุณคิดว่าทำไมผู้คนถึงกินอาหารที่ “ดีต่อสุขภาพ” พวกนี้มากเกินไป ? บอกความคิดเห็นของคุณลงในคอมเมนต์ได้นะ !

Please note: This article was updated in April 2022 to correct source material and factual inaccuracies.
ชีวิตสดใส/สุขภาพ/8 อาหารเพื่อสุขภาพที่เราไม่ควรกินมันมากเกินไป
แชร์บทความนี้