ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

8 ไอเดียเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์ที่เราไม่เคยตั้งคำถามสงสัย

ทุกความเชื่อต่าง ๆ ล้วนเริ่มต้นมาจากตรรกะของสามัญสำนึกส่วนหนึ่งและผสมด้วยข้อมูลผิดพลาดอีกนิดหน่อย และเนื่องจากผู้คนมักมีแนวโน้มที่จะแบ่งปันความเชื่อผิด ๆ เหล่านี้และนำเสนอว่าเป็นข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ ในตอนนี้เราจึงรายล้อมไปด้วยข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้องมากมายเกี่ยวกับร่างกายของเรา แต่โชคดีที่ยังมีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่คอยช่วยให้เราตรวจสอบคำกล่าวอ้างเหล่านั้นได้จริง

เราชาวชีวิตสดใสเชื่อว่ามันมีความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างวิทยาศาสตร์และตำนานความเชื่อที่บางครั้งมันสามารถช่วยเราได้ และด้วยเหตุนี้ เราจึงอยากนำเสนอคำกล่าวอ้างผิด ๆ 8 ข้อเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์ซึ่งได้ถูกหักล้างโดยหลักการทางวิทยาศาสตร์แล้ว

1. การรับกลิ่นของสุนัขไม่ได้ดีไปกว่าของคุณเท่าไหร่นัก

เรามักจะได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับประสาทการรับกลิ่นที่เหนือชั้นกว่าของสุนัขกันมามาก ตำนานนี้อาจเริ่มต้นโดย พอล โบรกา (Paul Broca) นักประสาทกายวิภาคศาสตร์ในยุคศตวรรษที่สิบเก้า ผู้ที่ตอกย้ำว่ามนุษย์ “ไม่ใช่นักดมกลิ่น” แม้ว่าโบรกาจะไม่ได้ทำการทดสอบทางประสาทสัมผัสใด ๆ เพื่อสนับสนุนคำกล่าวอ้างดังกล่าว แต่มันก็ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ อย่างไรก็ตาม ความจริงก็คือว่าสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่าง ๆ สามารถระบุกลิ่นประเภทต่าง ๆ ได้ต่างกัน ดังนั้นสุนัขเพื่อนรักของเราจึงไม่มีประสาทสัมผัสด้านการดมกลิ่นที่รุนแรงกว่าเรา แต่ด้วยความที่จมูกของเรามีความต่างกัน นั่นจึงหมายความว่าเราไวต่อกลิ่นประเภทต่าง ๆ แตกต่างกันไป

2. ลายนิ้วมือของคุณอาจซ้ำกับคนอื่นได้

ความเข้าใจผิดที่ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวางอีกอย่างหนึ่งมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 คือเรื่องที่ว่าลายนิ้วมือของเราเป็นอะไรที่ซ้ำกับคนอื่น ด้วยเหตุนี้ ลายวงแหวน ส่วนเว้า และส่วนโค้งบนนิ้วของเราจึงมีบทบาทสำคัญในการสืบสวนทางนิติเวชมานานกว่าศตวรรษ อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยว่านี่อาจเป็นวิธีการระบุตัวตนที่มีข้อบกพร่อง เนื่องจากมีทุกสิ่งที่ลดความแม่นยำลง นอกจากนี้ การศึกษาในปี 2005 ได้ให้รายละเอียดว่ามีคดี 22 คดีที่เกิดความผิดพลาดจากลายนิ้วมือ ทำให้ผู้คนถูกกล่าวหาว่าก่ออาชญากรรมทั้งที่พวกเขาเป็นผู้บริสุทธิ์

3. มันไม่มีการแยก “ส่วนรับรสชาติ” บนลิ้นของคุณ

แผนภาพการแบ่งการรับรสชาติของลิ้นมักเป็นภาพประกอบที่เราพบเห็นได้บ่อย ๆ เวลาที่เราเรียนรู้เรื่องการรับรส เด็ก นักเรียนมักจะบอกได้ว่าลิ้นของเรามีหน้าที่รับรสหวาน เค็ม เปรี้ยวและขมแตกต่างกันไปตามส่วนต่าง ๆ ที่อยู่บนลิ้น อันที่จริงแล้ว แนวคิดเกี่ยวกับ “ส่วนรับรสชาติ” นี้เป็นการตีความที่ผิดในเรื่องของการศึกษาว่ารสชาติที่เราได้รับต้องเข้มข้นแค่ไหน เพื่อให้สามารถถูกบันทึกไปในส่วนต่าง ๆ ของปากได้ หลักการทางวิทยาศาสตร์ได้หักล้างความเชื่อนี้เมื่อนานมาแล้วโดยแสดงให้เห็นว่าตุ่มรับรสชาติต่าง ๆ กระจายอยู่ทั่วในปากของเรา

4. คุณใช้สมองมากกว่า 10% แม้ว่าจะกำลังนอนหลับอยู่ก็ตาม

ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า “ตำนาน 10%” นี้เริ่มต้นมาจากไหน แต่หลายคนก็เชื่อว่ามันเป็นข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ แม้ว่าจะมีการหักล้างเรื่องนี้มาหลายครั้งก็ตาม หนึ่งในวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการทำลายความเข้าใจผิดนี้คือการถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ให้ความคมชัดสูง (fMRI) โดยใช้วิธีนี้ในการตรวจวัดกิจกรรมในสมองในขณะที่บุคคลทำงานต่าง ๆ กัน และผลการทดลองแสดงให้เราเห็นว่าสมองของเราถูกใช้งานเป็นส่วนใหญ่ โดยเปอร์เซ็นต์ที่แน่นอนของสมองที่ใช้งานในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ นั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และยังขึ้นอยู่กับว่าบุคคลนั้นกำลังทำอะไรหรือคิดเกี่ยวกับอะไรด้วย

5. การห่อลิ้นไม่ใช่ลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม

คุณครูวิชาชีววิทยามักสอนนักเรียนว่าความสามารถในการห่อลิ้นนั้นขึ้นอยู่กับยีนเด่น อย่างไรก็ตาม ฟิลิปส์ แมทล็อค (Philip Matlock) นักพันธุศาสตร์ ก็ได้ทำการหักล้างทฤษฎีนี้โดยทำการพิสูจน์ให้เห็นว่ามีฝาแฝด 7 ใน 33 คนที่ไม่ได้ถูกแบ่งปันพรสวรรค์นี้ เนื่องจากฝาแฝดที่เหมือนกันมักจะมียีนเดียวกันและควรจะมีลักษณะเช่นนี้เหมือนกันด้วย ดังนั้นยีนจึงไม่ใช่ปัจจัยที่ตัดสินในการห่อลิ้นได้อย่างชัดเจน น่าเสียดายที่ผู้คนยังคงมีความเข้าใจผิด ๆ นี้อยู่ แม้ว่ามันจะถูกหักล้างไปเมื่อกว่า 6 ทศวรรษที่แล้วก็ตาม

6. คุณมีประสาทสัมผัสมากกว่า 5 อย่าง

ข้อเท็จจริงที่ว่าเรามีประสาทสัมผัสทั้ง 5 นั้นเป็นสิ่งที่มาจากปรัชญากรีกโบราณ โดยได้รับการยืนยันอย่างหนักแน่นจากอริสโตเติล (Aristotle) ว่า “ทุกสัมผัส มีอวัยวะรับความรู้สึก” และแม้ว่าเวลาจะผ่านไปมากกว่า 2,000 ปีแล้ว แต่เด็ก ๆ ก็ยังคงถูกสอนว่ามนุษย์มีเพียงแค่ประสาทสัมผัสทางตา การได้ยิน การรับรส การสัมผัส และการได้กลิ่นเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่ามนุษย์เราอาจมีความรู้สึกได้ถึง 33 สัมผัส ซึ่งรวมถึงความรู้สึกกระหายน้ำ ความสมดุล อุณหภูมิ และอื่น ๆ อีกมากมายที่จำเป็นต่อการอยู่รอด

7. การหักข้อนิ้วไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคข้ออักเสบ

ความคิดที่ว่าการหักข้อนิ้วจะเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคข้ออักเสบนั้นดูเหมือนจะเป็นอะไรที่เชื่อถือได้จริง แต่มันก็ยังไม่มีเหตุผลที่จะทำให้เชื่อว่าการดันข้อนิ้วของคุณเป็นประจำจะทำให้มันเกิดความเสียหายได้ และข่าวดีก็คือไม่มีความเชื่อมโยงระหว่างพฤติกรรมนี้กับโอกาสการเกิดโรคข้ออักเสบที่สูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม มันก็ไม่ได้หมายความว่าคุณควรทำต่อไป เพราะอาจสร้างความรำคาญให้คนรอบข้างได้

8. การลงว่ายน้ำหลังรับประทานอาหารมื้อใหญ่จะไม่ทำให้คุณเป็นตะคริว

แนวคิดทั่วไปที่อยู่เบื้องหลังความเชื่อนี้คือ การรับประทานอาหารมื้อใหญ่นั้นจะทำให้เพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังกระเพาะอาหารแทนที่จะเป็นกล้ามเนื้อ ซึ่งนั่นจะนำไปสู่ความเสี่ยงที่จะเป็นตะคริวของนักว่ายน้ำเพิ่มขึ้นได้ แต่ที่มาของทฤษฎีนี้ก็ยังไม่ชัดเจนนัก และยังไงมันก็ยังเป็นทฤษฎีที่ผิดอยู่ดี จริงอยู่ที่คุณอาจรู้สึกไม่สบายตัวในการลงไปว่ายน้ำทันทีหลังจากรับประทานอาหารมื้อหนัก แต่มันจะไม่เพิ่มโอกาสในการทำให้เกิดตะคริวและจมน้ำ แต่อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารว่างที่มีคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบเล็กน้อยก่อนว่ายน้ำนั้นถือเป็นความคิดที่ดี เพราะมันจะช่วยให้คุณมีพลังงานมากขึ้น

ความเชื่อเหล่านี้ข้อไหนบ้างที่คุณคิดว่ามันเป็นความจริง ?

ชีวิตสดใส/สุขภาพ/8 ไอเดียเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์ที่เราไม่เคยตั้งคำถามสงสัย
แชร์บทความนี้