ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

7 ปัญหาการนอนที่คู่รักหลายคู่มักพบเจอ และวิธีการประนีประนอมเพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้น

การนอนหลับกับใครอีกคนไม่เพียงทำให้เรารู้สึกมั่นคงปลอดภัย ช่วยเพิ่มความผูกพันและความใกล้ชิดกันมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วยนะ อย่างการลดระดับคอร์ติซอล หรือช่วยลดการอักเสบต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นการเสริมประสบการณ์ที่ดีเลยทีเดียวแหละ เมื่อพิจารณารวมถึงประโยชน์ทุกอย่างที่เราจะได้รับแล้ว

แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีบางคนที่ไม่สามารถนอนด้วยกันได้ ไม่ว่าจะด้วยวงจรการนอนหลับที่ต่างกัน เสียงกรน การชอบแย่งผ้าห่ม และอื่น ๆ อีกมากมายที่เป็นอุปสรรคของการนอนหลับ ซึ่งนำไปสู่ระดับคอร์ติซอลที่ต่ำลงได้ แต่อย่าเพิ่งยอมแพ้เลยนะ ยังมีวิธีประนีประนอมที่เราสามารถทำได้เพื่อจะได้ครอบครองเตียงอย่างมีความสุข

เวลาที่ชีวิตสดใสเห็นว่าความสัมพันธ์ต่าง ๆ ต้องถูกทำลายลงไปแค่เพราะปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ นั้น เรารู้สึกเจ็บปวดใจเป็นอย่างมาก ดังนั้น เราจึงรวบรวมปัญหาที่พบเห็นได้บ่อยที่จะส่งผลกระทบต่อคู่รักในยามนอนหลับ และอยากจะมาแบ่งปันเรื่องราวเหล่านี้กับทุกคน

1. สงครามแย่งผ้าห่ม

คนบางคนเวลานอนหลับก็ชอบที่จะแชร์ผ้าห่มกับอีกฝ่าย คุณอาจจะแบ่งเตียงกับคู่รักแบ่งผ้าห่มกันแบบ 50/50 แต่แล้วพอตื่นขึ้นมากลางดึกกลับพบว่าตัวเองหนาวจัด ซึ่งคุณได้แต่ต้องขดตัวหนาวสั่นอยู่ที่มุมหนึ่งของเตียง เพราะผ้าห่มฝั่งของคุณไม่เหลืออยู่เลย ! และก็เปล่าประโยชน์ที่จะไปดึงผ้าห่มกลับมา เพราะหัวขโมยก็คงจะดึงกลับไปอยู่ดีนั่นแหละ แม้การตีกันแย่งผ้าห่มนี่จะดูกตลกยังไงก็ตาม แต่จริง ๆ แล้วกลับทำให้ความสัมพันธ์มึนตึงขึ้นได้ แถมยังส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับของคุณอีกต่างหาก

  • แนวทางการแก้ปัญหา: หาเตียงที่ใหญ่ขึ้นและแยกผ้าห่มกันใช้ก็หมดเรื่อง ! เมื่อทำแบบนี้แล้วคุณทั้งสองคนก็จะมีอุปกรณ์ในการนอนหลับเป็นของตัวเองโดยไม่ต้อง “ขโมย” จากอีกฝ่าย ลองถามคู่รักของคุณดูว่าพวกเขานอนหลับสบายดีหรือเปล่า บางทีอาจเป็นเพราะอีกฝ่ายกำลังหนาวมากก็ได้ถึงได้แย่งผ้าห่มไปมากซะขนาดนั้นน่ะ

2. เสียงกรน

ลองนึกภาพดูสิว่าในขณะที่คุณกำลังงีบหลับอยู่บนเตียงที่แสนสบายและอบอุ่น แต่ทันใดนั้นก็ได้ยินเสียงหวูดรถไฟดังสนั่นหวั่นไหวอยู่ข้างหู เปล่าเลย นี่ไม่ใช่สัญญาณเตือนสถานการณ์ฉุกเฉินแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะว่าสุดที่รักของคุณไม่สามารถสูดอากาศเข้าทางจมูกได้อย่างที่ควรจะเป็นเท่านั้น

ลำพังแค่การกรนอย่างเดียวมันก็คงไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรนักหรอก แต่ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด นี่อาจเป็นอาการของปัญหาที่ใหญ่กว่าก็ได้ สิ่งนี้จะทำลายช่วงเวลานอนหลับของทั้งสองฝ่าย ทำให้เจ้าตัวคนกรนต้องปวดหัว เหนื่อยล้า และยังมีสัญญาณของการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอในวันต่อมา

  • แนวทางการแก้ปัญหาระยะสั้น: เปลี่ยนท่านอนเสีย เพราะปกติแล้วการกรนจะเกิดขึ้นได้บ่อยถ้านอนหงาย ยกศีรษะขึ้นให้สูงหน่อยก็อาจจะช่วยได้เช่นกัน หรือเข้านอนก่อนคนกรนแล้วสวมที่อุดหูเสีย นอนเขยิบห่างออกมาสักหน่อยก็ได้ถ้าจำเป็น
  • แนวทางการแก้ปัญหาระยะยาว: เปลี่ยนไลฟ์สไตล์เสียใหม่ ลดน้ำหนักลงสักนิด นอนให้เป็นเวลา และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงสูบบุหรี่ นอกจากนี้ยังมีการรักษาบางอย่างที่สามารถช่วยได้อีกด้วย หากมีอาการกรนเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ให้พบแพทย์จะดีกว่า

3. การชอบนอนในอุณหภูมิที่ต่างกัน

อุณหภูมิ 66°F ถึง 69°F (19°C ถึง 20.5°C) ถูกมองว่าเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการนอนหลับสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่บางครั้งก็ต่างกันออกไปบ้างเหมือนกัน บางครั้งคุณอาจจะพบว่าคู่รักของคุณชอบ “ตั้งค่าการนอนหลับ” ในรูปแบบที่แตกต่างกับคุณอย่างสิ้นเชิง ซึ่งหากต้องนอนในอุณหภูมิแวดล้อมที่ไม่รู้สึกสบายตัว กว่าจะนอนหลับลงได้ก็ต้องใช้เวลายาวนานขึ้น แถมกว่าจะหลับลึกก็ยากลำบากมากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นอาจทำให้คุณมีปัญหานอนหลับได้ตลอดคืน

  • แนวทางการแก้ปัญหา: ทางที่ดีควรนอนแยกกันเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของคุณทั้งคู่ มันยากที่จะหลับตาลงได้หากคุณรู้สึกร้อนเกินไป ดังนั้นฝั่งไหนที่ชอบอุณหภูมิที่อบอุ่นกว่าควรเป็นฝ่ายประนีประนอมจะง่ายกว่า หากคู่รักของคุณชอบนอนในอุณหภูมิที่ต่ำกว่าคุณ ให้เลือกห่มผ้าหนา ๆ หลาย ๆ ชั้น หรือสวมชุดนอนอุ่น ๆ เอาก็ได้

4. การสะดุ้งตื่นจากฝันร้าย

การที่ต้องสะดุ้งตื่นขึ้นมากลางดึกไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติอะไร นี่อาจเป็นสัญญาณของโรคนอนไม่หลับ หรือเป็นผลมาจากความเครียด การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า การต้องนอนหลับในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรืออาจเป็นช่วงเวลาการนอนที่เฉพาะตัวอย่างหนึ่ง เมื่อคุณตื่นขึ้นมาและไม่สามารถหลับตาลงไปได้อีกหลังจากผ่านไป 15 — 20 นาที ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะนอนนิ่ง ๆ อยู่เฉย ๆ แบบนั้นอีกต่อไป และถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง สิ่งแรกที่คุณควรจะจดจำไว้ก็คือคุณควรจะมีน้ำใจต่อคนที่นอนอยู่ข้าง ๆ คุณด้วย

  • แนวทางการแก้ไขระยะสั้น: ลุกจากเตียง แยกไปยังอีกห้องหนึ่ง หาอะไรทำให้ตัวเองสงบลงจนกว่าคุณจะรู้สึกง่วงนอนอีกครั้ง แต่อย่าเที่ยวหาอะไรทำขณะที่นอนอยู่ข้าง ๆ คู่ของคุณโดยเด็ดขาด ให้กลับไปที่ห้องนอนก็ต่อเมื่อคุณรู้สึกว่าตัวเองพร้อมที่จะเข้านอนต่อแล้วเท่านั้น
  • แนวทางแก้ไขระยะยาว: ปรับปรุงสุขอนามัยในการนอนหลับของคุณ ให้แน่ใจว่าห้องนอนของคุณมืดสนิท เงียบสงบ และมีอากาศที่สดชื่น เมื่อใกล้เวลานอนให้เลิกมองดูหน้าจอเสีย อย่ากินหรือดื่มอะไรที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนก่อนเข้านอน พยายามทำให้กิจวัตรยามเข้านอนผ่อนคลายอยู่เสมอและตั้งเป้าหมายที่จะเข้านอนให้ตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอ

5. เหงื่อออกตอนกลางคืน

ตอนที่คุณสอดตัวเข้าไปบนเตียงที่เย็นสบายและแสนชื่นใจของคุณ ทุกอย่างก็ดูเรียบร้อยดีไม่มีปัญหา แต่เมื่อเวลาผ่านไป ร่างกายของคนสองคนกลับทำให้สภาพแวดล้อมมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อย ๆ หลายคนจึงเริ่มที่จะมีอาการเหงื่อออก การเหงื่อออกตอนกลางคืนนั้นสามารถนำไปสู่ปัญหาด้านข้อต่อได้อย่างรวดเร็วหากคุณห่มผ้าด้วยกันเพียงผืนเดียว หรือต้องขดตัวยามนอนหลับ แน่นอนว่าการนอนกอดกันหรือแม้แต่นอนแนบชิดกับคนที่เหงื่อออกก็ไม่ใช่ท่านอนหลับที่สบายตัวเลยแม้แต่น้อย

  • แนวทางการแก้ไขปัญหา: เครื่องนอนที่ออกแบบไว้ไม่ดีตลอดจนสภาพแวดล้อมในการนอนหลับ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ทำให้คนรู้สึกร้อนเวลานอนหลับ ให้หาฟูกนอนที่มีคุณสมบัติทำความเย็น และใช้เสื้อผ้ารวมถึงผ้าคลุมเตียงปลอกหมอนที่มีการระบายอากาศได้ดี อย่างผ้าลินินโปร่ง ๆ อย่างไรก็ตาม อาการเหงื่อออกตอนกลางคืนอาจเป็นผลมาจากภาวะทางสุขภาพหลายรูปแบบ ซึ่งในกรณีนั้น ขอแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยจะดีที่สุด

6. เวลานอนตีกัน

สิ่งนี้เรียกว่าเป็นสงครามระหว่างนกที่ตื่นเช้ากับนกฮูกที่ตาสว่างตอนกลางคืนก็ว่าได้ เราทุกคนจะมี “ช่วงเวลาตื่น (chronotype)” แตกต่างกันไปตามแต่นาฬิกาชีวิตของการนอนหลับภายในร่างกายเราเอง ซึ่งช่วงเวลานี้อาจเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเราแก่ตัวขึ้น โดยผู้ใหญ่ที่ยังเป็นหนุ่มเป็นสาวนั้นมักจะตื่นตัวมาก ๆ แบบ “คนนอนดึก” และจะค่อย ๆ เป็น “มนุษย์ตื่นเช้า” เองเมื่อแก่ตัวขึ้น

หากคุณรู้ตัวว่าคุณและคู่รักของคุณมีนาฬิกาชีวภาพที่ตรงข้ามกัน สิ่งสำคัญคือต้องเข้านอนตามเวลานอนของคุณเอง และใช้ชีวิตตามช่วงเวลาตื่นของตัวคุณเอง คนนอนดึกที่พยายามจะนอนเร็ว อาจลงท้ายที่กลายเป็นโรคนอนไม่หลับเพราะมีแรงกดดันที่จะต้องนอนหลับในขณะที่ร่างกายยังไม่พร้อม ยิ่งเป็นการกระตุ้นความเครียดและความหงุดหงิดเข้าไปใหญ่

  • แนวทางการแก้ไขปัญหา: ไม่เป็นไรหรอกนะที่คนสองคนจะเข้านอนในเวลาที่แตกต่างกัน แสงสว่างสามารถช่วยให้ช่วงเวลาการนอนหลับค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนไปได้ ร่างกายของคุณจะเริ่มผลิต “ฮอร์โมนการนอนหลับ” หรือที่รู้จักกันในชื่อเมลาโทนิน เมื่ออยู่ในที่มืด และจะหยุดหลั่งฮอร์โมนตัวนี้เมื่อมีแสงสว่างมากขึ้น เป็นการบอกเราว่าได้เวลาที่จะลืมตาตื่นขึ้นมาแล้ว ดังนั้น การได้สัมผัสแสงสว่างจ้า ๆ ในตอนเช้า และได้สัมผัสกับแสงสว่างเพียงเล็กน้อยในยามค่ำคืนอาจช่วยให้บรรดานกฮูกทั้งหลายปรับเวลานอนของตัวเองได้นิดนึงนะ

7. การมีเด็กอยู่บนเตียง

การต้องแชร์เตียงกับคู่รักคนหนึ่งก็เป็นเรื่องพอทนละนะ ยิ่งเพิ่มเด็กอีกคนเข้ามาอีกด้วย จะสามารถทำลายช่วงเวลานอนในยามค่ำคืนไปได้เลยแหละ คุณจะถูกปลุกให้ตื่นกะทันหัน การนอนจะถูกรบกวน เด็กจะคลานไปทั่วเตียงและกินพื้นที่มากขึ้น ชีวิตแต่งงานสามารถตึงเครียดได้เลยเพราะสิ่งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องเป็นคนผละจากไปเองเพื่อเหลือที่ไว้ให้เด็กน้อยได้นอนสะดวก ซึ่งบ่อยครั้งพ่อแม่หลายคนอาจจะต้องติดแหง็กอยู่ในวังวนเหตุการณ์เหล่านี้

  • แนวทางการแก้ไขปัญหา: ได้เวลาแข็งใจและพาเด็กน้อยกลับไปนอนบนเตียงได้แล้ว นี่เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับเด็ก ๆ เช่นกันที่จะต้องเรียนรู้ที่จะนอนหลับให้ได้เพียงลำพังโดยไม่ต้องพึ่งพิงคนอื่น การกระเตงไปนอนด้วยกันสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมในระยะยาว และยังส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจของเด็กน้อยอีกด้วย แถมยังสามารถทำลายสุขภาพการนอนหลับของคนเป็นพ่อแม่ไปได้อย่างสิ้นเชิง และเด็ก ๆ ก็ไม่น่าจะพัฒนาเติบโตได้ดีจากนิสัยนี้ด้วย

คุณและสมาชิกในครอบครัวมีปัญหาการนอนหลับด้านไหนกันบ้างไหม ?

ชีวิตสดใส/ความสัมพันธ์/7 ปัญหาการนอนที่คู่รักหลายคู่มักพบเจอ และวิธีการประนีประนอมเพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้น
แชร์บทความนี้