ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

15 เคล็ดลับดับกลลวงทางการตลาด ที่จะช่วยให้คุณมีสติเวลาช็อปปิ้งมากยิ่งขึ้น

เชื่อหรือไม่ว่าเราเสียเงินกันไปมากถึงปีละ 177,000 บาท ($5,000) หมดไปกับการซื้อของแบบไม่ยั้งคิด แต่จะโทษเราฝ่ายเดียวก็ไม่ได้หรอกนะ เพราะผู้ผลิตและผู้ขายต่างทำการศึกษาเรามาเป็นอย่างดีจนชอบยั่วเย้ากระตุ้นให้เราเกิดความปรารถนาที่จะจับจ่ายซื้อของแบบขาดสติ อย่างไรก็ตาม ก็ยังพอมีวิธีที่มีประสิทธิภาพอยู่บ้าง ที่จะทำให้เราสามารถยืนหยัดต่อสู้กับแรงยั่งยุเหล่านี้ และเริ่มเก็บเงินได้สักที

ชีวิตสดใสตัดสินใจที่จะตามหาว่ากลยุทธ์ที่ดีที่สุดคืออะไรที่จะทำให้เราสามารถกำเงินของเราไว้ให้ได้แน่นที่สุดระหว่างการช็อปปิ้ง ซึ่งตอนนี้เราอดใจไม่ไหวแล้วที่จะแชร์เคล็ดลับดี ๆ เหล่านี้ให้กับคุณ เตรียมตัวจดกันดี ๆ ล่ะ !

1. ใส่ส้นสูงไปช็อปปิ้ง

อ้างอิงจากผลการศึกษาเล็ก ๆ ชิ้นหนึ่งซึ่งกล่าวว่า การที่เราต้องทุ่มเทความสนใจไปกับการทรงตัวเมื่อสวมส้นสูงอาจจะมีผลต่อจำนวนเงินที่เราจะใช้จ่ายได้ การใส่รองเท้าส้นสูงจะทำให้ผู้บริโภคคิดคำนวณพิจารณาสินค้าต่าง ๆ อย่างละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้น และเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีราคาปานกลางแทนที่จะซื้อสิ่งของที่มีราคาแพง และสิ่งที่น่าสนใจมากก็คือ การไปช็อปปิ้งหลังจากเล่นโยคะหรือขึ้นบันไดเลื่อนก็จะได้ผลลัพธ์ในแบบเดียวกัน

2. เก็บธนบัตรใบใหม่ไว้ในกระเป๋าตังค์

มีผลการศึกษาอีกชิ้นหนึ่งกล่าวไว้ว่ารูปลักษณ์ของเงินก็มีผลต่อการจับจ่ายใช้สอยของเรานะ ผู้คนมีแนวโน้มที่จะหยิบธนบัตรที่ดูเก่า สกปรกและขาดมาใช้ก่อนเสมอ ดังนั้นให้พยายามเก็บธนบัตรใบใหม่ไว้ในกระเป๋าเสีย และฝากเงินที่เหลือเข้าบัญชีธนาคารไปเลย

3. การผัดวันประกันพรุ่งก็อาจเป็นเรื่องดีนะ

ก่อนที่จะคลิกปุ่ม “เสร็จสิ้นการสั่งสินค้า” ในขณะที่ช็อปปิ้งออนไลน์ คุณสามารถลองปิดเว็บไซต์ทิ้งไว้สักสองสามชั่วโมงหรือทิ้งไว้ข้ามคืนเสียก่อน อาจเป็นไปได้ว่าคุณอาจจะลืมสิ่งของชิ้นนั้นที่เคยเลือกไว้ไปเลยก็ได้ ซึ่งนั่นแปลว่าจริง ๆ แล้วคุณไม่ได้ต้องการมันขนาดนั้นหรอก คุณสามารถทำแบบเดียวกันนี้ได้กับร้านค้าที่มีหน้าร้านทั่วไป โดยการเก็บสิ่งของชิ้นนั้นเข้าที่ไปก่อนและออกไปเดินเล่นไกล ๆ ร้านสักครู่

4. หลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์นาน ๆ กับพนักงานขาย

การมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับลูกค้าเป็นหนึ่งในกฎที่ร้านค้ามากมายปฏิบัติตามกันอย่างเคร่งครัด ยิ่งพนักงานขายมีปฏิสัมพันธ์พูดคุยกับลูกค้าได้มากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ลูกค้าอยู่ในร้านตนเองได้ยาวนานขึ้นมากเท่านั้น และยิ่งมีความเป็นไปได้มากขึ้นที่ลูกค้าคนนั้นจะซื้อสินค้ามากเกินกว่าที่ตัวเองตั้งใจจะมาซื้อ เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ตอนนี้ก็ลองพยายามลดการมีปฏิสัมพันธ์ให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หรือไม่ต้องไปมีปฏิสัมพันธ์ใด ๆ ไปเสียเลย

5. บางทีก็ให้ทิ้งบัตรเครดิต/เดบิตไว้ที่บ้านบ้าง

มีอีกหนึ่งการศึกษาที่ได้ออกมาเปิดเผยว่าผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะจ่ายเงินมากขึ้นเมื่อจ่ายด้วยบัตรเดบิต เมื่อเทียบกับการจ่ายด้วยเงินสด เพราะเมื่อเราจ่ายเงินด้วยเงินสด เราจะได้เห็นจำนวนจริง ๆ ที่เราใช้จ่ายไป ซึ่งอาจทำให้เจ็บปวดใจเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การจ่ายด้วยบัตรต่าง ๆ ยังทำให้ติดตามการใช้จ่ายต่าง ๆ ได้ยากขึ้นด้วย

6. ซื้อของแบบผู้เยี่ยมชม

เมื่อช็อปปิ้งออนไลน์ ให้หลีกเลี่ยงที่จะลงทะเบียนเปิดบัญชีใหม่ และหลีกเลี่ยงที่จะให้แอปนั้นจดจำข้อมูลเลขบัญชีของคุณเสีย การใช้ข้อมูลที่บันทึกไว้หมายความว่าเราสามารถคลิกซื้อของได้หลายครั้ง และยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายแบบไม่ยั้งคิดอีกด้วย แต่หากว่าคุณดำเนินการซื้อของในฐานะผู้เยี่ยมชม คุณจะต้องป้อนหมายเลขบัตรและข้อมูลอื่น ๆ เอง ซึ่งหมายความว่า อาจมีโอกาสที่คุณอาจจะเกิดขี้เกียจขึ้นมา ไม่อยากจะเดินไปดูหมายเลขบัตร และจบลงที่ตัดสินใจไม่สั่งสินค้าแล้วก็ได้

7. เวลาจะซื้อของแพงให้อ่านรีวิวก่อนเสมอ

การซื้อของแพงแบบไม่ยั้งคิดและมานั่งเสียใจทีหลังนี่เป็นความรู้สึกที่น่าเจ็บปวดมากเลยนะ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสิ่งนี้ ให้คุณลองหาข้อมูลออนไลน์เพื่อดูว่าคนอื่น ๆ คิดว่าของแพง ๆ ที่คุณกำลังจะซื้อนั้นเป็นอย่างไรกันบ้าง บางครั้งคุณอาจจะพบว่าลูกค้าคนอื่นส่วนใหญ่ไม่พอใจกับของสิ่งนั้นเท่าไรนัก ดังนั้นคุณก็อาจจะตัดสินใจไม่ซื้อมันเช่นกัน

8. อมลูกอมรสมินต์ไว้ตอนเดินเข้าร้าน

ร้านค้ามากมายมักใช้กลยุทธ์พิเศษที่เรียกว่า “การทำการตลาดด้วยกลิ่น (scent marketing)” เพื่อสร้างประสบการณ์การช็อปปิ้งที่น่าพึงพอใจมากยิ่งขึ้นให้กับลูกค้า โดยพวกเขาจะใช้กลิ่นอย่างมะกรูด วานิลลา ชาขาว หรือต้นไผ่ เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนใช้จ่ายเงินให้มากขึ้น ลูกอมรสมินต์หรือหมากฝรั่งสามารถกลบกลิ่นหอมรอบตัวคุณ และช่วยให้คุณไม่ต้องใช้จ่ายมากเกินกว่าที่ตั้งใจไว้ได้

9. เปิดเพลงของตัวเอง

อีกหนึ่งเคล็ดลับที่ล่อลวงให้เราใช้จ่ายมากขึ้นคือการได้ยินเสียงหรือเพลงต่าง ๆ ที่น่าพึงพอใจในร้านค้า ซึ่งเรื่องนี้เคยมีการศึกษากันมายาวนานแล้ว และได้รับการพิสูจน์เป็นที่เรียบร้อยแล้วว่าจังหวะและประเภทของดนตรีบางอย่างสามารถมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการจับจ่ายซื้อของได้จริง เพื่อไม่ให้ถูกกลลวงนี้ล่อลวงได้ง่าย ๆ คุณอาจจะใช้ที่อุดหูอุดหูไว้เวลาไปเดินช็อปปิ้ง หรือฟังเพลงที่คุณรู้อยู่แล้วว่าจะไม่ส่งผลต่ออารมณ์ของคุณมากเกินไปนัก

10. หลีกเลี่ยงที่จะแตะต้องตัวสินค้ามากเกินไป

นักวิจัยค้นพบว่าหากลูกค้าได้รับอนุญาตให้มองดูหรือสัมผัสสินค้าชนิดต่าง ๆ ในร้านค้าแล้วละก็ เป็นไปได้ที่พวกเขาจะตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น เพราะการสัมผัสมีผลต่อการตัดสินใจจับจ่ายใช้สอยมากจริง ๆ และผู้ขายก็ใช้ประโยชน์จากเรื่องนั้น ดังนั้นเมื่อเวลาไปช็อปปิ้ง พยายามสัมผัสแต่ของที่คุณตั้งใจจะมาซื้อก็พอนะ

11. เวลาไปซื้อของในซูเปอร์ อย่าใช้ตะกร้าหรือรถเข็น

บางร้านทำแม้กระทั่งการเปลี่ยนขนาดรถเข็นช็อปปิ้งเลยนะ ยกตัวอย่างเช่น มีการค้นพบว่าการทำให้ขนาดของรถเข็นใหญ่ขึ้นสามารถส่งผลให้ลูกค้าจับจ่ายซื้อของได้มากขึ้น วิธีที่ดีที่สุดในการประหยัดเงินของตัวเองมากที่สุด ก็คือให้ใช้ตะกร้าหรือไม่ก็ใช้ถุงช็อปปิ้งส่วนตัวจะดีกว่ามาก และอย่าลืมเตรียมรายการของที่ต้องซื้อไว้ด้วยนะ

12. หลีกเลี่ยงการช็อปปิ้งช่วงคนเยอะ ๆ

เมื่อนักช็อปอยู่ในร้านค้าที่มีผู้คนหนาแน่น พวกเขามักจะไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ซึ่งสามารถนำไปสู่การใช้จ่ายเงินจำนวนมากขึ้น นอกจากนี้ คนจำนวนมากจะลงท้ายด้วยการซื้อของมากเกินความจำเป็นเมื่อออกไปช็อปปิ้งกับเพื่อน ๆ เพราะอยากจะซื้อให้ทันเพื่อนเท่านั้นเอง ดังนั้น พยายามไปซื้อของที่ตัวเองต้องการเท่านั้น โดยให้เลือกช่วงเวลาที่ห้างเกือบจะปราศจากผู้คน และถ้าจะให้ดีก็ไปคนเดียวเถอะนะ

13. อย่าชิมฟรีเด็ดขาด

ตัวอย่างอาหารที่เอามาให้ชิมฟรี ๆ ในร้านต่าง ๆ จะได้รับความนิยมอย่างสูงด้วยเหตุผลบางอย่าง นั่นก็คือ มันจะไปกระตุ้นความรู้สึกว่าควรจะตอบแทนอีกฝ่าย หากเราได้ลองกินอะไรที่มันอร่อย เราอาจรู้สึกว่าเราอยากจะให้อะไรกลับไป ยิ่งไปกว่านั้น อาหารฟรียังจะกระตุ้นความหิวของเราให้เราอยากซื้อของมากขึ้นอีกด้วย

14. ตรวจสอบสินค้าที่เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้เป็นนิสัย

หลายบริษัทชอบเปลี่ยนดีไซน์บรรจุภัณฑ์ของตัวเองอยู่เสมอ แต่การทำแบบนี้อาจซ่อนกลลวงบางอย่างไว้ด้วย นั่นก็คือปริมาณสินค้ายังไงล่ะ หมั่นตรวจสอบปริมาณสินค้าบนบรรจุภัณฑ์ที่เปลี่ยนใหม่ให้เป็นนิสัยนะ เพื่อดูว่าปริมาณมันลดน้อยลงรึเปล่า เพื่อให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้กำลังถูกบีบให้จ่ายเงินเกินจริง

15. ตรวจดูตู้เสื้อผ้าของคุณอีกครั้งก่อนจะไปช็อปปิ้ง

บางครั้งเมื่อไปช็อปปิ้งเสื้อผ้า เราอาจลงท้ายด้วยการซื้อของที่เหมือน ๆ กับสิ่งที่เราเคยมีอยู่แล้วมาก็ได้ ดังนั้น ก่อนที่คุณจะโลดแล่นออกไปยังร้านค้าเหล่านั้น ให้ลองตรวจสอบตู้เสื้อผ้าของคุณให้ดี ๆ เพื่อดูว่าคุณมีชุดไหนอยู่แล้วบ้าง การทำแบบนี้จะทำให้คุณรู้เสมอว่าคุณมีของอะไรอยู่ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้ซื้อของที่คล้ายกันมา

คุณรู้เคล็ดลับวิธีเก็บเงินแบบอื่น ๆ อีกบ้างไหม ? แบ่งปันความรู้ให้เราฟังได้ในช่องคอมเมนต์เลย !

เครดิตภาพพรีวิว MEGA/EAST NEWS, MEGA/Mega Agency/East News
ชีวิตสดใส/ทริป & เคล็ดลับ/15 เคล็ดลับดับกลลวงทางการตลาด ที่จะช่วยให้คุณมีสติเวลาช็อปปิ้งมากยิ่งขึ้น
แชร์บทความนี้