ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

10 เคล็ดลับในการเอาตัวรอดที่ใช้ได้ผลราวกับคาถาผู้พิทักษ์

ในสหรัฐอเมริกามีการโทรหาสายด่วน 911 จำนวน 240 ล้านครั้งในแต่ละปี โดยคิดเป็นการโทรมากกว่า 600,000 สายต่อวัน เพราะผู้คนมักตกอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินอยู่บ่อย ๆ แล้วก็แน่นอนว่าเป็นไปไม่ได้ที่เราจะคาดเดาอนาคตเพื่อเตรียมพร้อมในทุก ๆ เรื่อง แต่คุณสามารถก็จดบันทึกเคล็ดลับมากมายเหล่านี้ไว้ได้ เพราะในอนาคตมันอาจได้ช่วยเหลือคุณหรือเพื่อนของคุณ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการจุดไฟให้อยู่ได้นาน หรือไม่ก็วิธีการส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือด้วยโทรศัพท์ของคุณ

หลังจากที่เราได้ศึกษาสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ผู้คนสามารถเอาตัวรอดมาได้ แม้จะติดอยู่ในสถานการณ์ที่อันตรายถึงชีวิตก็ตาม ดังนั้นทางชีวิตสดใสจึงได้รวบรวมกลเม็ดเคล็ดลับที่คุณควรรู้ เพื่อที่คุณจะได้เอาตัวรอดได้อย่างปลอดภัย

1. ใช้เก้าอี้สำนักงานเคลียร์ทางเดินหายใจให้โล่ง

การปฐมพยาบาลไฮม์ลิค (Heimlich maneuver) เป็นวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในการป้องกันการสำลักได้อย่างรวดเร็ว โดยอาการสำลักจะเกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งแปลกปลอม เช่น อาหาร ของเล่น ของชิ้นเล็ก ๆ และอื่น ๆ ไปปิดกั้นทางเดินหายใจ ซึ่งการปฐมพยาบาลด้วยวิธีนี้ คุณจะต้องทำดังต่อไปนี้:

  • ยืนอยู่ข้างหลังคน ๆ นั้น (หากเป็นเด็ก ให้คุกเข่าลงจะดีกว่า)
  • เอาแขนโอบรอบเอวพวกเขา แล้วเอนหน้าอกไปข้างหน้าเล็กน้อย
  • ให้กำมือข้างหนึ่ง แล้วเอามืออีกข้างกุมกำปั้นไว้อีกที โดยวางอยู่ในตำแหน่งเหนือสะดือเล็กน้อย
  • ให้กระทุ้งเร็ว ๆ เหมือนกับคุณกำลังพยายามยกคนขึ้น และให้ทำแบบนี้จนกว่าทางเดินหายใจจะโล่ง

หากคุณคือคนที่หายใจไม่ออก แล้วไม่มีใครอยู่ใกล้ ๆ ที่พอจะช่วยคุณได้ คุณก็สามารถใช้พนักเก้าอี้ช่วยดัน เพราะจากการศึกษาพบว่าสิ่งนี้จะสร้างแรงกดคล้ายกับที่คนใช้ในการช่วยเหลือ

2. ใช้หูฟังหรือสายชาร์จในการห้ามเลือด

หากคุณหรือคนอื่น ๆ มีเลือดออกจากเส้นเลือดใหญ่ (เส้นสีแดงสดที่เต้นเป็นจังหวะ) คุณสามารถห้ามเลือดชั่วคราวได้ด้วยสายรัด ซึ่งจะดีกว่าหากใช้สายรัดห้ามเลือดโดยเฉพาะ (โดยทั่วไปจะมีอยู่ในชุดปฐมพยาบาลอย่างน้อยหนึ่งเส้น) แต่หากคุณไม่มีมัน และไม่สามารถไปหาหมอได้ทันที คุณก็สามารถลองทำสายรัดห้ามเลือดแบบชั่วคราวได้

สายเส้นบาง ๆ อย่างเช่นสายชาร์จแบตโทรศัพท์และสายหูฟังนั้นมีขนาดสายที่บางมาก ๆ ดังนั้นคุณจึงต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง และใช้มันเป็นทางเลือกสุดท้าย (โปรดจำไว้ว่าให้ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ ถ้าหากคุณมีโอกาส):

  • วางผ้าเอาไว้เหนือแผลประมาณหนึ่งนิ้ว มันจะช่วยให้ผิวถูกทำร้ายจากสายรัดที่บางได้น้อยลง
  • มัดสายรัดให้แน่น

เลือดควรหยุดไหลภายใน 2 นาที และหากเป็นไปได้ อย่าลืมรัดไว้ให้นานกว่า 2 ชั่วโมง

3. ใช้โทรศัพท์ของคุณในการส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ

มือถือสมาร์ทโฟนส่วนใหญ่มีไฟฉายในตัว แต่ถ้าแบตเตอรี่หมด โทรศัพท์ของคุณก็ยังคงมีประโยชน์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยสามารถใช้หน้าจอสำหรับสะท้อนแสงอาทิตย์หรือแสงจันทร์ได้ เพราะเงาสะท้อนของมันสามารถมองเห็นได้ในระยะไกล ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วมันเป็นเหมือนกับไฟฉาย ดังนั้นหากคุณเห็นเรือหรือเครื่องบิน ให้เหยียดแขนออกและทำสัญลักษณ์สันติภาพหรือชูสองนิ้ว คือวางโทรศัพท์ไว้ระหว่าง 2 นิ้วของคุณ โดยคุณจะต้องกำหนดทิศทางของการสะท้อนตรงจุดนั้น

จะยิ่งดีหากคุณจำรหัสมอร์สสำหรับส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ (SOS) เอาไว้ คือ 3 จุด/กะพริบไฟเร็ว ๆ, 3 ขีด/กะพริบไฟนานขึ้น และ 3 จุด/กะพริบไฟเร็ว ๆ อีกครั้ง

4. จุดไฟด้วยถ่านก้อนและกระดาษห่อหมากฝรั่ง

หากคุณอยู่ในป่าและต้องการไฟ แต่คุณไม่มีไม้ขีดไฟหรือไฟแช็กติดตัวเลย ขออย่าเพิ่งตื่นตระหนกไป เพราะถ้าคุณมีถ่านก้อนขนาด AA และฟอยล์กระดาษห่อหมากฝรั่ง โอกาสที่คุณจะจุดไฟได้ก็มีมากขึ้น โดยให้คุณตัดฟอยล์เป็นแถบยาวบาง ๆ จากนั้นให้พับครึ่งแล้วตัดตามแนวทแยงผ่านแถบที่พับไว้ ซึ่งจะทำให้ตรงกลางของแถบเป็นจุดที่บางที่สุดเมื่อคลี่ออก (ดังที่แสดงในภาพ)

เชื่อมกระดาษด้านที่มีสีเงินเข้ากับด้านบวกและด้านลบของถ่านก้อน และรอจนกว่ากระดาษห่อหมากฝรั่งจะติดไฟ

5. นอนคว่ำหน้าเพื่อให้ปลอดภัยจากการโจมตีของนกกระจอกเทศ

หากนกกระจอกเทศวิ่งไล่ตามคุณ แต่คุณหาที่กำบังไม่ได้ในตอนนั้น การวิ่งหนีก็คงไม่ช่วยอะไรเลย เพราะพวกมันสามารถวิ่งได้เร็วกว่าคน ดังนั้นขอให้คุณนอนคว่ำหน้าลงกับพื้นและแกล้งตาย โดยให้ยกแขนทั้งสองข้างขึ้นมาปิดหัว เพื่อปกป้องกะโหลกศีรษะ จากนั้นเตรียมตัวให้พร้อม เพราะนกกระจอกเทศจะสัมผัสตัวคุณหรือถึงขั้นขึ้นมายืนบนตัวคุณ ถึงแม้พฤติกรรมนี้อาจทำให้คุณบาดเจ็บได้ แต่ว่าความเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บก็ต่ำกว่ามาก ๆ เมื่อคุณนอนลง

6. ใช้กางเกงเป็นอุปกรณ์ช่วยพยุงตัวให้ลอยน้ำ

ทันทีที่คุณตกน้ำและไม่มีวัตถุลอยน้ำให้คุณสามารถยึดเกาะได้ ให้ถอดกางเกงออก มัดขากางเกงเป็นปมแบบง่าย ๆ จากนั้นให้จับขอบกางเกง แล้วดึงมันขึ้นเหนือน้ำและเติมลมเข้าไปในกางเกงให้เต็มอย่างรวดเร็ว จากนั้นจับขอบกางเกงให้แน่น เพื่อไม่ให้อากาศไหลออกไป

คุณสามารถทำขั้นตอนนี้ซ้ำ ๆ ได้ เพื่อรวบรวมอากาศให้ได้มากที่สุด จากนั้นให้คุณเอาหัววางไว้ตรงหว่างขากางเกงและใช้เป็นเสื้อชูชีพเหมือนในรูปภาพด้านบน

7. การหนีออกจากตัวอาคารหลายชั้นโดยใช้ผ้าปูที่นอน

หากคุณต้องการหนีออกจากอาคารที่สูงกว่า 2 ชั้น และมีทางออกแค่ทางเดียวคือหน้าต่างหรือระเบียง ให้รวบรวมผ้าต่าง ๆ เท่าที่หาได้ แล้วนำมาผูกไว้กับโครงเตียงหรือของหนักชิ้นใหญ่อื่น ๆ จากนั้นให้ทำเข็มขัดสำหรับโรยตัวแบบชั่วคราว (ใช้ผ้าปูที่นอนก็ได้) ตามที่แสดงในภาพประกอบด้านบน โดยให้คุณผูกปลายเชือกหรือผ้าเข้ากับเข็มขัดนี้

ให้วางหมอนไว้ตรงด้านล่างขอบหน้าต่างเหมือนในภาพประกอบด้านบน เพื่อหลีกเลี่ยงแรงเสียดสีระหว่างเชือกกับขอบหน้าต่างที่มากเกินไป

8. ในการทำแพเล็ก ๆ ให้คลุมกิ่งไม้ด้วยผ้าใบกันน้ำ

หากคุณต้องการข้ามแม่น้ำหรือทะเลสาบ แล้วคุณก็มีผ้าใบกันน้ำ ขอแนะนำให้ทำแพชั่วคราว โดยปูผ้าใบกันน้ำไว้บนพื้น จากนั้นรวบรวมกิ่งไม้ขนาดเล็กที่มีน้ำหนักเบา (ใส่วัสดุที่ลอยน้ำได้และมีช่องอากาศอยู่ในนั้น) วางไว้ตรงกลาง ผูกปลาย และมัดแพทั้งหมดด้วยเชือกหรือเส้นอะไรก็ได้ แล้วก็อย่าลืมทดสอบแพของคุณก่อนที่จะนำมันลงน้ำลึก เพื่อให้มั่นใจว่ามันจะสามารถรับน้ำหนักของคุณได้และแพไม่แตก

9. ทำแผงวงจรให้เป็นของมีคม

อันนี้เป็นเคล็ดลับของชาวเน็ต โดยคุณสามารถลองทำลูกศรหรือหัวหอกชั่วคราวจากแผงวงจรเก่า ๆ ได้ แต่เนื่องจากมันเป็นโลหะ จึงอาจจะตัดและขึ้นรูปได้ยากนิดหน่อย แต่เมื่อคุณลับมันให้คมแล้ว มันจะกลายเป็นเครื่องมือชั้นยอด

10. ทำเตาแบบพกพาจากกระป๋อง

เคล็ดลับนี้เป็นสิ่งที่ชาวเน็ตค้นพบเช่นกัน โดยมีแค่กระป๋องเปล่าขนาดใหญ่กับมีดที่แข็งแรงก็สามารถช่วยให้คุณทำเตาขนาดเล็กได้ โดยให้ตัดฝาออกและกรีดเป็นแนวตั้งเล็ก ๆ ตามรูปภาพด้านบน จากนั้นให้งอครึ่งหนึ่งเข้าด้านในและทิ้งไว้อีกครึ่งหนึ่งเพื่อทำขาตั้งแบบชั่วคราวสำหรับวางกระทะหรือหม้อ อีกทั้งให้ตัดรูด้านข้างเพื่อเอาไว้ใส่ไม้และคอยมองดูไฟ

คุณรู้เคล็ดลับอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ที่สามารถเพิ่มลงไปในลิสต์พวกนี้บ้างหรือไม่ ? เรายินดีที่จะอ่านความคิดเห็นของคุณในคอมเมนต์ด้านล่างนะ !

ชีวิตสดใส/สิ่งแปลกๆ/10 เคล็ดลับในการเอาตัวรอดที่ใช้ได้ผลราวกับคาถาผู้พิทักษ์
แชร์บทความนี้