16 รายละเอียดของชีวิตในศตวรรษที่ 19 ที่จะทำให้คนรุ่นใหม่ตกตะลึง
ยุควิกตอเรียตั้งชื่อตามสมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย (Queen Victoria) ซึ่งปกครองบริเตนใหญ่ตั้งแต่ปี 1837 จนถึงปี 1901 ซึ่งเป็นที่รู้จักในด้านศีลธรรมอันสูงส่ง กฎเกณฑ์ที่เข้มงวด และการฝ่าฝืนกฎก็จะถูกประณาม นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าผู้คนในสหราชอาณาจักรเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นมาก ๆ ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เช่น พวกเขามีเมตตาต่อสัตว์ คนป่วยทางจิต และอาชญากรมากขึ้น
ในขณะเดียวกันก็เป็นยุคมือถือสากปากถือศีล บางทีอาจเป็นเรื่องยากที่จะหายุคประวัติศาสตร์ที่ชอบสำบัดสำนวนกันไปมากกว่านี้ แล้วนั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทางชีวิตสดใสไม่สามารถผ่านเลยไป โดยที่ไม่ค้นหาว่าชีวิตของผู้คนในสมัยนั้นเป็นอย่างไรกันบ้างนะ
- สิ่งที่ปกติธรรมดาที่สุดในตู้เสื้อผ้าของพวกหนุ่ม ๆ ถูกเรียกกันว่า “อธิบายไม่ได้” และ “พูดไม่ได้” ทั้งหมดล้วนเป็นเพราะมันปกปิดส่วนของร่างกายที่ถือกันว่าหยาบคาย ซึ่งเรานั้นกำลังพูดถึงกางเกง ประเด็นก็คือทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับแขนและขาถูกจัดว่าไม่เหมาะสม แต่แทนที่จะใช้คำปกติทั่วไป ๆ เหมือนที่เราใช้เพื่ออธิบายสิ่งเหล่านี้ในปัจจุบัน คนในสมัยนั้นกลับเรียกว่า “สิ่งที่ยื่นออกมา”
- เด็ก ๆ ไม่ค่อยได้เจอพ่อแม่ เพราะพวกเขาใช้เวลาส่วนใหญ่กับพี่เลี้ยงในห้องของตัวเอง เด็ก ๆ ควรตื่นเช้าเพราะการนอนบนเตียงถือเป็นสัญญาณของความเกียจคร้านและเป็นบาป เด็กหลายคนเจอพ่อแม่ตัวเองไม่เกินวันละครั้ง แต่บางครอบครัว พ่อกับแม่ยังคงให้ความสนใจกับลูก ๆ ของตัวเองอยู่ คือแม่สอนลูก ๆ เรื่องอ่านเขียน ส่วนพ่อสอนภาษาละติน
- สติปัญญาไม่ถือว่าเป็นจุดแข็งสำหรับผู้หญิง บางคนถึงกับเชื่อว่าการเรียนวิทยาศาสตร์เป็นอันตรายต่อร่างกายของเด็กสาวที่แสนบอบบาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อระบบสืบพันธุ์ของพวกเธอ อย่างเช่น เลดี้แคโรไลน์ แลมบ์ (Lady Caroline) จำได้ว่าเธอไม่ถูกสอนให้อ่านหรือเขียนจนกระทั่งอายุ 10 ขวบ เพราะพ่อแม่กลัวว่าเธอจะมีอาการทางประสาท ส่วนนักคณิตศาสตร์เจน ซอมเมอร์วิลล์ (Jane Somerville) พ่อของเธอก็กังวลเรื่องสุขภาพจิตของลูกสาว เมื่อรู้ว่าเธออ่านหนังสือตอนกลางคืน
- หญิงสาวไม่ได้ถูกบอกให้รู้ว่าลูก ๆ เกิดมาจากไหน หรือมีสิ่งใดรอพวกเธออยู่หลังแต่งงาน มีนักเขียนที่ชื่อว่ามารี สโตปส์ (Marie Stopes) เกิดในปี 1880 แม่ของเธอเป็นสตรีที่เรียกร้องสิทธิเลือกตั้ง โดยเธอจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยและต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี แต่ถึงอย่างนั้น ลูกสาวของเธอไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในการแต่งงาน มารีแต่งงานตอนอายุ 31 ปี และ 2 ปีต่อมา เป็นเพราะหนังสือที่ทำให้เธอรู้ว่าตัวเธอกับสามีไม่เคยข้ามพรมแดนความสัมพันธ์แบบฉันท์เพื่อนเลย ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
มารี สโตปส์ (Marie Stopes)
- ในศตวรรษที่ 19 บริเตนถูกกระแสอียิปต์มาเนียแซงหน้า เพราะบรรดานักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่ร่ำรวยได้หลั่งไหลมาอียิปต์ แล้วพยายามนำมัมมี่ของแท้ติดมือกลับมาเพื่อเป็นของที่ระลึก เมื่อกลับจากพักผ่อน พวกเขาได้จัดงานเลี้ยงเกี่ยวกับการแกะของที่ระลึก แถมยังมีแม้กระทั่งรูปถ่ายคำเชิญเข้าร่วมงานเหล่านี้ที่ได้เก็บรักษาไว้ อย่างกำหนดการเปิดมัมมี่ตอนเวลา 02:00 น.
- วันวาเลนไทน์ในรูปแบบที่เรารู้จักในปัจจุบันเกิดขึ้นในอังกฤษช่วงยุควิกตอเรีย เป็นเพราะการปฏิรูปกิจการไปรษณีย์ ที่สามารถส่งการ์ดวาเลนไทน์ได้ทุกที่ในประเทศด้วยเงินเพียง 0.4 บาท ทำให้หนึ่งปีหลังจากการปฏิรูปกิจการ การ์ดประกาศความรักและแสดงความเห็นอกเห็นใจ 400,000 ใบได้ถูกส่งไปทั่วบริเตนใหญ่
- การ์ดวันวาเลนไทน์แบบล้อเลียนกลายเป็นการโต้ตอบการ์ดแบบซาบซึ้ง เพราะมันถูกส่งไปยังเหล่าศัตรูและคนที่ไม่ชอบใจกัน เนื้อหาในการ์ดเหล่านี้มีตั้งแต่ตลกขบขันไปจนถึงก้าวร้าวมาก ๆ โดยมันถูกผลิตขึ้นสำหรับคนเกือบทุกประเภทที่คนอื่น ๆ อาจไม่ชอบ ตั้งแต่พนักงานขายของกับเจ้าของบ้านที่น่ารำคาญ ไปจนถึงนายจ้างผู้วางอำนาจ ตัวการ์ดอาจเยาะเย้ยทั้งอาชีพและรูปร่างหน้าตาของผู้รับ
- การ์ดโดยทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ์ดคริสต์มาสเป็นที่นิยมมากในสมัยนั้น แต่เนื้อหาที่ปรากฎอยู่บนการ์ดเหล่านั้นค่อนข้างแปลกและถึงขั้นน่ากลัว เช่น กบที่ลื่นล้มบนน้ำแข็ง คนที่มีหัวเป็นนก และหัวบีทรูทขนาดยักษ์ที่มีหัวเป็นคน
- คริโนไลน์ (Crinoline) เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์แห่งยุควิกตอเรียที่ถูกนำเสนอโดยชายชาวอังกฤษชื่อว่าชาร์ลส์ เวิร์ธ (Charles Worth) เรียกได้ว่าเป็นนักออกแบบเสื้อผ้ามืออาชีพคนแรก มีนักประดิษฐ์บางคนได้แสดงกระโปรงชั้นในที่ยืดไปบนห่วงเหล็ก 3 ห่วงให้เวิร์ธได้ดู ซึ่งเขาชอบแนวคิดนี้และไม่นานลูกค้าของเขาก็ยอมรับมันด้วยเช่นกัน โดยโครงเหล็กนี้มีข้อดีอย่างมาก คือสาว ๆ ไม่จำเป็นต้องสวมกระโปรงชั้นในหลาย ๆ ชั้น
- ยิ่งคริโนไลน์มีขนาดใหญ่มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งถือว่าทันสมัยมากขึ้นเท่านั้น โดยเส้นผ่านศูนย์กลางของมันสามารถมีขนาดได้ถึง 70 นิ้ว มีหลายกรณีที่สาว ๆ เสียชีวิตเพราะกระโปรงที่พองฟู เช่น ในปี 1863 หนังสือพิมพ์ เดอะไทมส์ ได้รายงานอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับสาวใช้คนหนึ่งที่สวมชุดที่ “ขยายด้วยคริโนไลน์” ถูกไฟไหม้ นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ตรงกันข้าม เช่น ในปี 1885 ซาร่าห์ แอนน์ เฮ็นลีย์ (Sarah Ann Henley) รอดชีวิตหลังจากตกลงมาจากความสูง 250 ฟุต บางคนเชื่อว่าคริโนไลน์ช่วยชีวิตเธอไว้ โดยที่ทำหน้าที่เป็นร่มชูชีพ
นี่คือหน้าตาของคริโนไลน์ที่อยู่ใต้กระโปรง
- ในช่วงยุค 70 ของศตวรรษที่ 19 คริโนไลน์ถูกแทนที่ด้วยที่ถ่างกระโปรง โดยอุปกรณ์นี้มีรูปทรงแบบวางซ้อนทับอยู่บนแผงด้านหลังใต้เอวช่วงบนของกระโปรง ซึ่งทำให้เกิดโครงร่างที่มีลักษณะเฉพาะและมีความนูนตรงช่วงล่างของหุ่น เอวจึงดูเล็กลงเพราะสิ่งที่ทันสมัยนี้ แต่ผู้หญิงคนนั้นต้องใช้เคล็ดลับมากมายเพื่อที่จะนั่งลง
- เอวที่บางถือเป็นจุดสูงสุดของแฟชั่นและสาว ๆ ก็สวมคอร์เซ็ทเพื่อสร้างหุ่นที่ดูทันสมัย แต่ทว่านอกจากเอวแล้ว มันยังกดอวัยวะภายในเอาไว้แน่น ซึ่งทำให้เกิดปัญหาการไหลเวียนของเลือด จึงทำให้สาว ๆ เป็นลม ภาพจากผลเอ็กซ์เรย์แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของผู้หญิงเมื่อสวมคอร์เซ็ทอยู่ตลอดเวลา และได้ช่วยชีวิตผู้หญิงในสมัยนั้นจากสิ่งนี้
- มีตำนานเล่าว่าชาววิกตอเรียจะรัดเอวให้เหลือ 18 นิ้ว แต่จากข้อมูลของนักวิจัยและนักสะสมคอร์เซ็ท ดอริส แลงลีย์ มัวร์ (Doris Langley Moore) กล่าวว่าเสื้อผ้าเหล่านี้แทบจะไม่เคยรัดให้แน่นจนเกิน 24 นิ้วเลย
- หมวกทรงสูงเป็นหนึ่งในเครื่องแต่งกายของหนุ่ม ๆ ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในยุควิกตอเรียของอังกฤษ แต่ทว่าหมวกนี้ให้ความอุ่นมากเกินไป อึดอัดมาก และใช้งานจริงไม่ได้ ซ้ำยังต้องการการดูแลเป็นพิเศษ คือต้องรีดไปในทิศทางที่แน่นอนเพื่อให้ขนบนหมวกเรียบลงอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ยังต้องเช็ดเบา ๆ ด้วยผ้าไหมหากใส่ไปโดนฝน แต่ในขณะเดียวกัน หมวกทรงสูงก็เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความมีเกียรติของสุภาพบุรุษอย่างแท้จริง
- สิ่งที่เรียกว่า “สาวผู้อดอาหาร” กำลังก่อให้เกิดความวุ่นวายระดับชาติช่วงยุควิกตอเรีย โดยพวกเธอเป็นเด็กสาววัยรุ่นที่จู่ ๆ ก็ปฏิเสธที่จะกิน และเชื่อว่าพวกเธอจะอยู่ได้โดยปราศจากอาหาร ซ้ำยังอ้างว่ามีพลังวิเศษ ซึ่งแพทย์ในสมัยนั้นถือว่าพฤติกรรมแปลก ๆ ของเด็กสาวนั้นเกิดจากการหลอกลวงหรือโรคฮิสทีเรีย ในขณะที่นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีแนวโน้มที่จะเชื่อว่าเหล่าสาว ๆ บริสุทธิ์คงจะป่วยหนัก เพราะน่าจะเป็นโรคกลัวอ้วน
คุณอยากไปเยี่ยมชมยุควิกตอเรียของอังกฤษหรือไม่ ? แล้วคุณอยากไปยุคไหนอีกหรือเปล่านะ ?
เครดิตภาพพรีวิว Wikimedia Commons
แชร์บทความนี้