ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

คุณรู้ไหมว่าไข่ตัวเมียเป็นผู้เลือกอสุจิ ไม่ใช่ในทางตรงกันข้าม

ไข่เจอกับอสุจิ การปฏิสนธิเกิดขึ้น และทารกก็ก่อกำเนิดขึ้น ง่ายใช่ไหมล่ะ ก็ไม่เชิงนะ! มาทำความรู้จักกับแนวคิดในมุมมองของผู้หญิง หรืออิสระในการเลือกของผู้หญิงกันดีกว่า เมื่อจำกัดวงให้แคบยิ่งขึ้น ไข่ของผู้หญิงก็เป็นผู้เลือกจริง ๆ ตามที่สกอต กิลเบิร์ท (Scott Gilbert) นักชีววิทยาด้านพัฒนาการที่วิทยาลัยสวาทช์มอร์เชื่อว่า “ไข่มีส่วนร่วมกับอสุจิมากกว่าแค่การหยุดมันไว้” ดังนั้นการปฏิสนธิไม่ใช่การเอาชนะ แต่เป็นการแข่งขันที่ยุติธรรม

จากงานวิจัยจำนวนมาก ได้มีการพิสูจน์ว่าไข่มีแนวโน้มที่จะดึงดูดอสุจิบางประเภทถ้ามีความเป็นไปได้

ที่ชีวิตสดใส เราตื่นเต้นที่ได้พบงานวิจัยที่พิสูจน์ว่าไข่ก็ช่างเลือกอสุจิและมีเงื่อนไขของมันเองเมื่อเป็นเรื่องของอสุจิ

แนวคิดยอดนิยม การแข่งขันของอสุจิ

คู่รักทุกคู่ที่วางแผนจะขยายครอบครัว มักจะมีความเชื่อว่าอสุจิวิ่งเข้าหาไข่ เรามาเริ่มกันตั้งแต่ต้นเลยนะ อสุจิทั้งหมดพร้อม ไข่มีความสมบูรณ์ที่สุดและการแข่งขันเริ่มขึ้น อย่างที่เราได้เรียนในโรงเรียน อสุจินับล้านวิ่งตรงไปยังเซลล์ของไข่เพียงใบเดียว เมื่อ x เจอกับ x เป็นผู้หญิง เมื่อ x เจอกับ y เป็นผู้ชาย

งั้นเรามาเริ่มศึกษาสิ่งที่ไม่ได้เรียนมากันเถอะ

ไข่เพศเมียไม่ยอมจำนน มันมีบทบาทสำคัญในการเลือกอสุจิด้วยตัวเอง

การแข่งขันเหรอ? เดี๋ยวก่อนนะ! มันเคยเป็นการแข่งขันเพราะมีการเลือกผู้ชนะไว้แล้ว พูดง่าย ๆ ก็คือไข่ได้เลือกประเภทของอสุจิที่มันจะอนุญาตให้เข้ามาไว้แล้ว

มีการวิจัยและอธิบายจากนักวิทยาศาสตร์ ดร.โจเซฟ เอช นาโด (Dr. Joseph H. Nadeau) ไข่ไม่ยอมจำนนและว่าง่าย แต่มันมีบทบาทสำคัญในกระบวนการสืบพันธุ์ และตรงข้ามกับแนวคิดยอดนิยมที่ว่าอสุจิวิ่งแข่งกันเพื่อพิชิตไข่ ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่เลย

สถาบันวิจัยแปซิฟิคนอร์ทเวสต์ได้อธิบายว่า มันขึ้นอยู่กับไข่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบอสุจินั้นและทำให้การเลือกเพศในระดับเซลล์นั้นซับซ้อนยิ่งขึ้น

แปลกแต่จริงที่กระบวนการที่ชัดเจนนี้ถูกให้ความเห็นผิด ๆ มาโดยตลอด

กฎของเมนเดลถูกนิยามไว้ว่าอย่างไร

ตามนิยามแล้วกฎของเมนเดลคือกฎของการแบ่งแยก หรืออีกอย่างหนึ่งคือกฎการถ่ายทอดทางพันธุกรรมคือการที่พ่อแม่แต่ละคนมีสำเนา 2 อันของแต่ละยีน ขั้นตอนต่อไปคือกระบวนการ ‘การปฎิสนธิแบบสุ่ม’ ซึ่งยีนเหล่านี้จะถูกแบ่งแบบสุ่มให้เป็นเซลล์สืบพันธุ์ที่มีเพียงสำเนาเดียว อย่างไรก็ตาม งานวิจัยล่าสุดก็ได้ยกเลิกแนวความคิดนี้ไปเช่นกัน

ดร.นาโด ได้ทำการทดลอง 2 ครั้งที่ใช้ทฤษฎีที่แตกต่างกัน ความตั้งใจของเขาคือการสร้างอัตราส่วนเฉพาะของการผสมผสานของยีนที่สามารถคาดเดาลักษณะของทายาทได้ (ตามกฎของเมนเดล) อย่างไรก็ตามเขาทำไม่สำเร็จ

ในส่วนหนึ่งของการทดลอง เขาได้ให้ยีนธรรมดากับหนูตัวเมียหนึ่งยีนและยีนกลายพันธุ์ที่เพิ่มโอกาสในการเป็นมะเร็งอัณฑะอีกหนึ่งยีน ส่วนหนูตัวผู้มียีนปกติทั้งหมดซึ่งผลลัพธ์เป็นไปตามกฎของเมนเดล

การทดลองที่ 2: ครั้งนี้ดร.นาโดให้ทำการสลับ โดยเขาได้ให้ยีนมะเร็งกลายพันธุ์กับหนูตัวผู้ ในขณะที่ให้ยีนธรรมดาทั้งหมดแก่หนูตัวเมีย และสิ่งที่เกิดขึ้นก็ทำให้เขาประหลาดใจ มีเพียง 27 เปอร์เซ็นต์ที่ได้รับยีนกลายพันธุ์ ในขณะที่เขาคาดไว้ว่าน่าจะอยู่ที่ 75 เปอร์เซ็นต์

สิ่งที่เราได้เรียนมาเกี่ยวกับความปกติและการกลายพันธุ์ของ DND1 ในแม่และพ่อถูกคำนวณอย่างผิดพลาด สิ่งที่เขาทำทั้งหมดคือการปฏิสนธิที่ไม่ใช่การสุ่ม และเป็นการพิสูจน์การมีอยู่ของกลไกที่ว่าไข่เป็นผู้เลือกอสุจิจากยีนทั่วไป แทนที่จะเป็นยีนกลายพันธุ์ เราเรียกเงื่อนไขทางวิทยาศาสตร์นี้ว่า ‘การปฏิสนธิทางพันธุกรรมที่ลำเอียง’

เรื่องนี้มีความสำคัญยังไง

เรื่องนี้มีความสำคัญยังไง ถ้ามันเป็นอย่างนี้มาตลอด ทำไมมันถึงรอดพ้นสายตาอันเฉียบแหลมของนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำไปได้

ดร.นาโดให้เหตุผลสำหรับทฤษฎีใหม่นี้ว่ามันอาจเป็นไปได้สองทางคือ

1. แรงดึงดูดระหว่างอสุจิและไข่เกี่ยวข้องกันเป็นอย่างมากกับโมเลกุลของกรดโฟลิก การเผาผลาญของวิตามินบีหรือกรดโฟลิกมีความแตกต่างกันในไข่และอสุจิ ความแปรผันเหล่านี้อาจเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดระหว่างอสุจิและไข่

2. อสุจิอยู่ในระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงอยู่แล้ว เมื่อมันมุ่งหน้าไปยังไข่ อาจเป็นไปได้ที่ไข่อาจยังพัฒนาไม่เต็มที่ในช่วงเวลานั้น มันมีความเป็นไปได้ที่ไข่จะมีอิทธิพลต่อการแบ่งเซลล์ เพื่อที่ยีนของมันสามารถเข้ากันได้กับอสุจิ

เราหวังว่านี่จะช่วยให้คุณเข้าใจมากขึ้น คุณคิดว่าข้อมูลนี้ควรจะถูกแบ่งปันให้คนอื่นรับทราบอีกไหม โปรดแบ่งปันมุมมองของคุณเกี่ยวกับความรู้ใหม่ที่ได้ค้นพบหน่อยสิ

แชร์บทความนี้