ผลการศึกษาพบว่าคนที่ร้องไห้ระหว่างดูหนังมีอารมณ์อ่อนไหวเป็นอย่างมาก
เรื่องราวอย่าง Hachi: A Dog’s Tale หรือ The Notebook ทำให้หลายคนต้องดึงทิชชู่มาซับน้ำตาอย่างน้อยหนึ่งครั้ง อย่างไรก็ตาม หลายคนเชื่อว่าการร้องไห้ระหว่างดูหนังเป็นสัญญาณของความอ่อนแอ ก็นะ รู้อะไรไหม คิดแบบนั้นผิดมหันต์เลยล่ะ! พอล เจ แซ็ค (Paul J. Zak) นักประสาทเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยบัณฑิตแคลร์มอนต์ (Claremont Graduate University) ได้ทำการศึกษาโดยยืนยันว่าผู้ที่ร้องไห้ระหว่างดูหนังมีความเข้าถึงความรู้สึกของผู้อื่นและเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากกว่า พวกเขารู้วิธีจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ดีกว่า และพวกเขาแข็งแกร่งกว่าเมื่อต้องเผชิญกับความท้าทายในแต่ละวัน
พวกเราชีวิตสดใสชอบเรื่องราวที่สร้างความเข้าอกเข้าใจและความเห็นใจผู้อื่น เราจึงอยากอธิบายให้คุณฟังว่าจริงๆ แล้วเกิดอะไรขึ้นกันแน่เวลาที่มีคนร้องไห้ระหว่างดูหนัง และทำไมจึงทำให้พวกเขาแข็งแกร่งขึ้น
1. พวกเขารู้ดีว่าเรื่องราวเหล่านี้เป็นเรื่องสมมติหรือแต่งขึ้นมา แต่พวกเขาไม่สามารถเก็บความรู้สึกไว้ข้างในได้
แซ็คพูดอย่างมุ่งมั่นว่า แม้ว่าพวกเขาจะรู้ดีว่าหนังเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องจริงและเรื่องราวที่พวกเขาได้ดูบนหน้าจอเป็นเรื่องสมมุติขึ้นมา แต่พวกเขาก็ยังหนีไม่พ้นการร้องไห้เมื่อได้ดูฉากที่สะเทือนอารมณ์มากๆ
2. ออกซิโทซิน คือตัวการของเรื่องนี้ด้วย
ฮอร์โมนนี้ทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทและรับผิดชอบต่อสิ่งที่เรารู้สึกเมื่อเราดูฉากที่กินใจ เราเชื่อมโยงเรื่องราวเข้ากับความรู้สึก และต่อมาก็เชื่อมโยงเข้ากับการกระทำเชิงบวก นั่นเป็นเหตุผลที่ฮอร์โมนนี้ทำให้เรารู้สึกเข้าถึงและเห็นอกเห็นใจมากขึ้น มันทำให้เรามีทัศนคติที่เปิดกว้างต่อโลกมากขึ้น แถมยังทำให้เรารู้สึกมีความสุขมากขึ้นด้วย
3. คนเหล่านี้ไม่กลัวที่จะแสดงอารมณ์ออกมา
อันที่จริงแล้ว ผู้คนที่ไม่รู้สึกอายที่จะร้องไห้ระหว่างดูหนังมีจิตใจที่แข็งแกร่งกว่าคนที่พยายามซ่อนน้ำตาเอาไว้ นั่นเป็นเพราะพวกเขากล้าแสดงความรู้สึกที่แท้จริงออกมา พวกเขาไม่กลัวที่จะถูกตัดสินหรือวิพากษ์วิจารณ์ ตามที่แซ็คได้กล่าวไว้ นี่เป็นผลจากออกซิโทซินเช่นกัน และเนื่องจากมีความเห็นอกเห็นใจจากคนรอบข้าง มนุษย์จึงไม่กลัวที่จะยืนหยัดเพื่อสิ่งที่พวกเขาคิดว่าถูกต้อง
4. พลังของน้ำตา
การค้นพบของแซ็คยังแสดงให้เห็นว่าคนที่ร้องไห้ตอนดูหนังนั้นรู้เกี่ยวกับพลังเยียวยาของน้ำตา การร้องไห้ทำให้เราเชื่อมต่อกับผู้อื่น เราเรียนรู้และได้เห็นว่ามันมีเหตุการณ์ที่สามารถส่งผลในแง่บวกและผลในแง่ลบต่อสิ่งแวดล้อมของเราได้ และเราก็อ่อนไหวต่อสิ่งนั้น
5. พวกเขาไม่เลี่ยงที่จะเผชิญกับอารมณ์ของตัวเอง
คนที่ร้องไห้ระหว่างดูหนังยังยอมรับด้วยว่ามันเป็นเรื่องสำคัญที่จะรักษาทัศนะมุมมองบางอย่างเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราเอาไว้ และบางครั้งมันก็จำเป็นต้องมีช่วงเวลาที่ร้องไห้บ้าง การทำแบบนี้ทำให้พวกเขามีความมั่นคงทางอารมณ์มากกว่าคนที่เก็บซ่อนความรู้สึกไว้
6. พวกเขาไม่สนใจเรื่องบทบาททางเพศหรือความคาดหวัง
เราคงเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “โตแล้วอย่าร้องไห้” เด็กผู้ชายส่วนใหญ่เรียนรู้ตั้งแต่อายุยังน้อยว่าการร้องไห้ในที่สาธารณะจะทำให้ดูอ่อนแอ อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงข้อจำกัดที่ไร้สาระ ทั้งเด็กชายและเด็กหญิง ตอนที่พวกเขายังเด็ก ไม่ว่าจะร้องไห้มากแค่ไหนก็ไม่ได้มีความแตกต่างกัน มันคือการตอบสนองของมนุษย์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเพศใดๆ และนี่เป็นที่รู้กันดีของผู้ที่ไม่กลัวที่จะร้องไห้อย่างเปิดเผย เพราะพวกเขาไม่กลัวที่จะถูกตัดสินโดยคนที่เชื่อว่าการร้องไห้เป็นนิสัยของผู้หญิง
7. พวกเขาสัมผัสกับประสบการณ์ของชีวิตอย่างเต็มที่
ออกซิโทซินเกี่ยวข้องกับความไว้วางใจระหว่างผู้คน ผู้ที่มีความไว้วางใจผู้อื่นมากกว่า จะมีสารสื่อประสาทในร่างกายสูง และมักจะสร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งมากกว่า พวกเขาเห็นคุณค่าของการชื่นชมคนรอบข้าง แถมยังใช้ชีวิตอย่างเต็มที่มากกว่าคนที่ประสบปัญหาเรื่องความไว้วางใจและรู้สึกไม่สบายใจกับความสัมพันธ์ที่พวกเขาสร้างขึ้นกับคนอื่น
หนังเรื่องไหนที่ทำให้คุณร้องไห้ได้บ้าง? คุณรู้สึกอายที่จะร้องไห้ต่อหน้าผู้คนหรือเปล่า? เราชอบที่จะได้อ่านความคิดของคุณในช่องคอมเมนต์นะ