ทำไมเราจึงไม่ควรรอจนหิวแล้วค่อยกิน
ความหิวอาจเป็นสัญญาณที่ดีที่แสดงว่าเมตาบอลิซึมของคุณยังคงทำงานอยู่ และร่างกายของคุณก็ยังทำงานได้ดีในแบบที่มันควรจะเป็น แม้ว่าความหิวจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่มันก็ไม่ได้เป็นแค่สัญญาณที่บอกว่ามันถึงเวลาที่ต้องกินอาหารแล้วเท่านั้น ถ้าคุณกินอาหารแค่ตอนที่เหลือพลังงานน้อยมากแล้วและร่างกายของคุณถึงกับต้องขอร้องให้คุณจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้น ผลที่ตามมาอาจเป็นอะไรที่เลวร้ายได้
ชีวิตสดใสสนับสนุนวิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพและอยากจะแบ่งปันเหตุผลบางอย่างที่ว่าทำไมความหิวจึงอาจส่งผลต่อนิสัยการกินของเราอย่างมากได้ และคุณยังจะได้เรียนรู้ว่าความหิวไม่ได้มีอยู่จริงเสมอไปในโบนัสของแถมที่ท้ายบทความ
1. ความหิวส่งผลให้กินเยอะเกินไป
คนที่กินอาหารไม่ครบทุกมื้อหรือกินอาหารในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนมักจะกินเยอะเกินไปเพื่อชดเชยในมื้อที่พวกเขาไม่ได้กิน ร่างกายของมนุษย์ต้องการสารอาหารที่สม่ำเสมอทุก ๆ 3-4 ชั่วโมงเพื่อไม่ให้ระบบเผาผลาญทำงานช้าลง, พลังงานลดลง, เกิดความหงุดหงิดและความอยากอาหาร ยิ่งคุณอยู่โดยที่ไม่กินอาหารนานมากเท่าไหร่ ระดับน้ำตาลในเลือดของคุณก็จะลดลงมากเท่านั้นและส่งผลให้ต้องการน้ำตาลจากอาหาร
2. ความหิวไม่ได้ช่วยในเรื่องการลดน้ำหนัก
หลายคนคิดว่าการที่พวกเขาอดอาหารคือการที่พวกเขากำลังลดน้ำหนักอยู่ แต่ในความเป็นจริง ถ้าโภชนาการที่คุณได้รับในแต่ละวันนั้นยังทำให้คุณรู้สึกอยากอาหารอยู่ คุณจะทำมันได้ไม่นาน การกินอาหารที่มีแคลอรี่น้อยเกินไปจะกระตุ้นให้ร่างกายของคุณปรับเข้าสู่โหมดฉุกเฉินและทำให้เกิดการสะสมไขมันและมีการเผาผลาญแคลอรี่น้อยลง เพราะร่างกายของคุณคิดว่ามันจำเป็นต้องดูแลตัวเองและกักเก็บแคลอรี่ไว้ใช้ในอนาคต
3. มีแนวโน้มน้อยมากที่คุณจะเลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
อย่างที่โฆษณาสนิกเกอร์สบอกไว้ “คุณไม่ได้เป็นตัวเองในตอนที่คุณหิว” และเมื่อคุณหิวคุณก็มีแนวโน้มที่จะคว้าแคนดี้บาร์อันนั้นมากกว่าที่จะหยิบขนมที่ดีต่อสุขภาพ เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดลง คนเราจะควบคุมตัวเองไม่ได้ในการหยิบอาหารเข้าปากและจะเลือกกินสิ่งที่อยู่ตรงหน้า และสำหรับคนส่วนใหญ่แล้วมันก็จะจบลงด้วยการหยิบขนมขบเคี้ยวที่มีน้ำตาลซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพ
โดยรวมแล้ว การกินอาหารในแบบดังกล่าวไม่ได้ส่งผลดีต่อไลฟ์สไตล์ในการกินอาหารที่ดี
4. คุณจะไม่สามารถรับรู้ถึงความหิวได้ตลอดไป
มีฮอร์โมนสองตัวที่ส่งผลต่อความหิว หนึ่งคือเกรลินซึ่งกระตุ้นความอยากอาหารและเลปตินที่ยับยั้งความอยากอาหาร เมื่อคุณไม่ได้กินอาหารมาระยะหนึ่ง ระดับของเกรลินจะเพิ่มขึ้นและหลังจากที่คุณกินเข้าไปแล้วเลปตินจะบอกร่างกายของคุณว่ามันอิ่มแล้ว
มาตรวัดความหิวนั้นไม่ได้ถูกต้องเสมอไป ในบางครั้งโดยเฉพาะหลังจากรับประทานอาหารแค่พออิ่ม ผู้คนไม่ได้ยินสิ่งที่ร่างกายกำลังพยายามบอกพวกเขา สมองจะเรียนรู้ที่จะกินพออิ่มตามไลฟ์สไตล์ของคน ๆ หนึ่ง ดังนั้นคนที่มักจะกินอาหารแค่วันละหนึ่งครั้งจึงทำธุระได้โดยที่ไม่รู้สึกอยากอาหาร แต่มันก็ไม่ได้ทำให้การกินอาหารแค่วันละหนึ่งมื้อเป็นเรื่องปกติ
5. ความหิวไม่ดีต่อสุขภาพของคุณ
ความอยากอาหารส่งผลกระทบกับร่างกายในระยะยาว และอาจสร้างความเสียหายได้ตั้งแต่ปัญหาสุขภาพจิตไปจนถึงการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง และถ้าคุณรู้สึกหิว คุณก็มักจะรู้สึกไม่สบายตัวและมีอาการบางอย่างที่มาพร้อมกับความหิว
- การจดจ่อได้อย่างยากลำบาก
- อาการโหวงในช่องท้อง
- ความอ่อนแอ
- อาการวิงเวียนศีรษะ
- อาการคลื่นไส้อาเจียน
- ความหงุดหงิด
- ปวดหัว
- ท้องร้อง
- ปัญหาการนอนหลับ
โบนัส: การระบุอาการหิวของคุณ
นักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งความหิวออกเป็น 3 ประเภทคือความหิวทางร่างกาย, ทางจิตวิทยา และไม่ได้หิวแต่อยากกิน ความหิวทางร่างกายเป็นแรงกระตุ้นปกติในการกินเมื่อคุณมีอาหารในท้องไม่เพียงพอ ในทางกลับกัน ความหิวทางจิตวิทยาถูกขับเคลื่อนด้วยอารมณ์และสิ่งสำคัญคือมันเป็นการโหยหาอย่างอื่นมากกว่าแค่อาหาร มันเป็นความต้องการที่จะรู้สึกดีขึ้นหรือมีความสุขมากขึ้น หรืออาจจะเป็นความรู้สึกที่รุนแรงอื่น ๆ ที่แสดงออกถึงความหิวโหย
สุดท้ายคือไม่ได้หิวแต่อยากกิน พอคุณเห็นอาหารวางอยู่และคุณก็คว้าเข้าปากซึ่งคุณไม่ได้รู้สึกหิวเลย แต่อาหารมันวางอยู่ตรงนั้น ทำไมถึงจะไม่กินล่ะ สรุปแล้วก็คือสิ่งสำคัญคือคุณต้องไม่เข้าใจผิดว่าอาการที่รู้สึกส่า “ฉันจำเป็นต้องเติมพลังงานให้กับร่างกาย” นั้นคือความหิวจริง ๆ หรือแค่อยากกิน
คุณกินบ่อยแค่ไหน ? คุณมีมื้ออาหารที่ชัดเจนหรือคุณจะกินก็ต่อเมื่ออยากกินเท่านั้น ?