11 ภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องจริงที่มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเพื่อจุดประสงค์ทางการละคร
ภาพยนตร์ที่สร้างมาจากเหตุการณ์จริงอาจจะน่าสนใจมากและทำให้เรามองเห็นชีวิตของบุคคลที่เราชื่นชม หรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เราอยากรู้ได้ชัดเจนขึ้น แต่เราก็ต้องระลึกเอาไว้เสมอว่าบางครั้งสิ่งที่เกิดขึ้นก็ไม่ใช่เรื่องจริงทั้งหมด เพื่อที่จะทำให้มีความเป็นบทละครหรือทำให้พล็อตเรื่องมีความสนุกสนานมากขึ้น ก็มีหลายครั้งที่สิ่งที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์นั้นไม่ได้ตรงกับเหตุการณ์จริง
ชีวิตสดใสพบภาพยนตร์หลายเรื่องที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงหรือมีข้อผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ แต่ถึงอย่างไรมันก็ไม่ได้ทำให้ภาพยนตร์ได้รับความนิยมน้อยลงและไม่ได้ทำให้คนดูรู้สึกแย่
1. ในเรื่องทฤษฎีรักนิรันดร เรื่องราวความรักของสตีเฟน ฮอว์กิงมีการเปลี่ยนแปลง
ภาพยนตร์บอกเล่าเรื่องราวความรักของสตีเฟน ฮอว์กิง (Stephen Hawking) นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์และเจน (Jane) ภรรยาของเขา และยังมีเรื่องของความท้าทายที่ยากลำบากที่พวกเขาต้องเผชิญเป็นเวลา 30 ปีเนื่องจากอาการจากโรคที่แย่ลงเรื่อย ๆ ของสตีเฟน ในภาพยนตร์สตีเฟนและเจนเจอกันที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในสหราชอาณาจักร แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง
ตัวเจนเองบอกว่าจริง ๆ แล้วทั้งคู่เจอกันที่เซนต์อัลบานส์ตอนที่เธออยู่ชั้นมัธยมปลาย และตั้งแต่ตอนนั้นความรักของพวกเขาก็ได้ก่อตัวขึ้น เธอยังคงบอกด้วยว่าภาพยนตร์ไม่ได้กล่าวถึงการเดินทางไปต่างประเทศอย่างต่อเนื่องและเหน็ดเหนื่อย และความยากลำบากของเธอที่จะต้องดูแลทุกอย่างให้พร้อม
2. การชิงดีชิงเด่นของนักแข่งในเรื่องอัดเต็มสปีดนั้นเกินจริงไปหน่อย
ภาพยนตร์เล่าถึงชีวิตของนิกิ เลาด้า (Niki Lauda) และเจมส์ ฮันท์ (James Hunt) นักแข่งรถที่แข่งขันชิงแชมป์ฟอร์มูล่าวันในช่วงยุค 70 ในภาพยนตร์การแข่งขันและความเกลียดชังกันนั้นถูกแสดงออกอย่างเกินจริง ในขณะที่ชีวิตจริง นักแข่งทั้งสองมีมิตรภาพที่เหนียวแน่นและยั่งยืนและถึงกับอยู่บ้านเดียวกันด้วย
3. มีข้อผิดพลาดมากมายและการบิดเบือนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนักรบผู้กล้าผ่าแผ่นดินทรราช
ภาพยนตร์ชิ้นเอกในปี 2000 ที่ทำให้ผู้ชมนับพันต้องตกใจจากการสังเกตเห็นข้อผิดพลาดมากมาย หนึ่งในฉากนั้นก็คือมีการแจกใบปลิวกระดาษที่พิมพ์ออกมาให้กับผู้ชมในโคลอสเซียม ซึ่งเป็นสิ่งที่ยังไม่น่าเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ข้อผิดพลาดอีกอย่างก็คือในช่วงจักรวรรดิโรมัน โคลอสเซียมรู้จักกันในชื่อว่าทวิอัฒจันทร์ฟลาเวียน และชื่อปัจจุบันของมันก็เป็นที่นิยมตั้งแต่ยุคกลางเป็นต้นมา
แต่ข้อผิดพลาดที่โดดเด่นที่สุดก็คือการตายของจักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส (Emperor Marcus Aurelius) และความสัมพันธ์อันซับซ้อนกับก็อมมอดุส (Commodus) ลูกชายของเขาซึ่งรับบทโดยวาคีน ฟินิกซ์ (Joaquin Phoenix) ในชีวิตจริงจักรพรรดิโรมันเสียชีวิตจากอาการป่วยตามธรรมชาติ และลูกชายของเขาก็ดูแลจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต ซึ่งตรงกันข้ามกับสิ่งที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์ที่ก็อมมอดุสมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมาก ๆ กับพ่อของเขาและปกครองจักรวรรดิรวมกันกับเขา
4. ในเรื่องถอดรหัสลับอัจฉริยะพลิกโลก พวกเขาได้เปลี่ยนชื่อของเครื่องยนต์
ภาพยนตร์บอกเล่าเรื่องราวชีวิตอันน่าทึ่งของอลัน ทัวริ่ง (Alan Turing) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษที่ได้ประดิษฐ์เครื่องยนต์เพื่อไขรหัสลับของฝ่ายเยอรมันและทำให้สงครามถึงจุดจบ ในภาพยนตร์ เครื่องยนต์ถูกตั้งชื่อว่า “คริสโตเฟอร์” โดยน่าจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากคริสโตเฟอร์ มอร์คอม (Christopher Morcom) ซึ่งเป็นชื่อของคนรักในช่วงวัยรุ่นของทัวริ่ง แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องจริงเนื่องจากชื่อของเครื่องยนต์ในเหตุการณ์จริงคือ “เดอะ บอมบ์”
สำหรับคริสโตเฟอร์ ไม่มีหลักฐานว่าเขาเป็นคนรักของทัวริ่ง ถึงแม้ว่าพวกเขาจะมีมิตรภาพที่ใกล้ชิดกันและการตายของเขาก็ส่งผลต่อนักวิทยาศาสตร์อย่างมาก ข้อเท็จจริงอีกอย่างที่ไม่ได้ถูกกล่าวถึงในภาพยนตร์ก็คือทัวริ่งไม่ได้สร้างเครื่องยนต์เพียงลำพัง แต่ได้รับความช่วยเหลือจากกอร์ดอน เวลช์แมน (Gordon Welchman) นักคณิตศาสตร์
5. วิลเลียม วอลเลซไม่ใช่เบรฟฮาร์ทตัวจริง
ถึงแม้ว่าวิลเลียม วอลเลซ (William Wallace) ตัวละครระดับตำนานที่รับบทโดยเมล กิปสัน (Mel Gibson) จะมีอยู่จริง แต่ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ของเขานั้นไม่ตรงกับความเป็นจริง และการสูญเสียภรรยาก็ถูกแต่งขึ้นเพื่อเพิ่มความดราม่า ฉายา “เบรฟฮาร์ท” จริง ๆ แล้วเป็นของพระราชาโรเบิร์ตที่หนึ่ง (King Robert l) แห่งสกอตแลนด์ซึ่งรับบทโดยแองกัส แม็กเฟเดียน (Angus Macfadyen) ไม่ใช่วอลเลซ
6. เรื่องจังโก้ โคตรคนแดนเถื่อนล้ำหน้าช่วงเวลาจริงไปมาก
เจมี ฟ็อกซ์ (Jamie Foxx) ได้ทิ้งข้อผิดพลาดทางการแสดงของเขาในการรับบทเป็นจังโก้ (Django) อย่างไม่ต้องสงสัย และหนึ่งในสิ่งที่เราจะไม่มีวันลืมก็คือสไตล์อันเป็นเอกลักษณ์ของเขา ในช่วงเกือบตลอดทั้งเรื่อง ตัวละครสวมแว่นกันแดดซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง เนื่องจากเครื่องประดับชิ้นนี้เริ่มสวมใส่กันอย่างแพร่หลายในยุค 20 ซึ่งเป็นเวลาอย่างน้อย 60 ปีหลังจากช่วงเวลาในภาพยนตร์
7. ไพเรทส์ ออฟ ดิ แคริเบียน มีข้อผิดพลาดจำนวนมากทางด้านเสื้อผ้าและสถานที่
เป็นเพราะความตลกขบขันและการผจญภัยที่ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จไปทั่วโลก แต่ในความเป็นจริงมันก็ยังมีข้อผิดพลาดทางด้านการจัดการและด้านเสื้อผ้ามากมาย ภาพยนตร์เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าพอร์ตรอยัลเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองและเป็นท่าเรือที่สำคัญของอังกฤษในปี 1720 แต่ความจริงก็คือเมืองนี้ถูกทำลายจากแผ่นดินไหวร้ายแรงในปี 1692 และถึงจะพยายามมากแค่ไหนก็ไม่อาจสร้างขึ้นใหม่ได้
และอีกหนึ่งเรื่องก็คือเครื่องแต่งกายที่เจ้าหน้าที่ราชนาวีสวมใส่ยังไม่เกิดขึ้นในช่วงเวลาในภาพยนตร์ กฎเกณฑ์เริ่มขึ้นครั้งแรกในปี 1748 ซึ่งกำหนดโดยพลเรือเอกจอร์จ แอนสัน (Admiral George Anson)
8. ราชินีแมรี่แห่งสก็อตส์และรสนิยมแปลก ๆ ในการเจาะหูของพระองค์ในเรื่องแมรี่ ราชินีแห่งสก็อตส์
ในหลาย ๆ ฉากเราจะเห็นได้ว่าราชินีแมรี่ สจ๊วต (Queen Mary Stuart) ได้เจาะหูและใส่ต่างหูหลายรู ซึ่งดูเป็นเครื่องประดับในยุคปัจจุบันมากกว่า แต่ก็ไม่รู้ว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นยุคของช่วงเวลาในภาพยนตร์แล้วหรือยัง
ยิ่งไปกว่านั้น ไม่มีรูปถ่ายหรือหนังสือไหน ๆ ที่พบเห็นว่าราชินีแมรี่ที่หนึ่ง (Queen Mary l) แห่งสก็อตแลนด์ได้มีการเจาะหูแบบที่เห็นในภาพยนตร์ แต่สิ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้ก็คือนิยายได้มอบความแข็งแกร่งและบุคลิกภาพที่ไม่มีใครเทียบได้ให้เธอ
9. ความรักไม่ใช่สิ่งที่มอบแรงบันดาลใจให้เชคสเปียร์ในการแต่งเรื่องโรมีโอและจูเลียต
น้อยคนนักที่จะรู้ถึงเรื่องราวส่วนตัวของวิลเลียม เชคสเปียร์ (William Shakespeare) ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่เรื่องรักใคร่ซึ่งถูกบรรยายไว้ในภาพยนตร์เรื่องกำเนิดรักก้องโลกจะเป็นเพียงเรื่องสมมติ สิ่งที่ค่อนข้างคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงก็คือการที่มันเป็นแรงบันดาลใจให้เขาเขียนโรมีโอและจูเลียต ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเอกของเขา ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เชคสเปียร์อ้างอิงมาจากละครยอดนิยมที่เขียนโดยลุยจิ ดา พอร์โต (Luigi Da Porto) นักเขียนชาวอิตาลี
และในช่วงเวลานั้น มันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เช่นกันที่ราชินีจะเดินทางไปดูละคร โรงละครจะต้องเป็นผู้เดินทางไปแสดงต่อหน้าราชสำนักเอง
10. ภาพยนตร์เรื่องอพอลโล 13 ผ่าวิกฤตอวกาศและฮีโร่ที่ถูกลืมที่ไม่มีใครพูดถึง
ภาพยนตร์แสดงให้เราเห็นถึงการเผชิญหน้าและการพูดคุยกันระหว่างนักบินอวกาศและผู้ทำงานของนาซ่าคนอื่น ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วสิ่งนี้ไม่เคยเกิดขึ้น นอกจากนี้การแก้ปัญหาที่ถูกนำเสนอในภาพยนตร์นั้นค่อนข้างเป็นไปตามน้ำเพื่อจัดการกับความตึงเครียด แต่ในชีวิตจริงมีแผนฉุกเฉินและแผนวิกฤตสำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน
ภาพยนตร์ยังลืมกล่าวถึงฮีโร่คนสำคัญอย่างมาก ต้องขอบคุณกลินน์ ลันนีย์ (Glynn Lunney) วิศวกรและผู้อำนวยการการบินที่ทำให้ลูกเรือของยานอพอลโล 13 รอดชีวิต การตัดสินใจที่รวดเร็วและชาญฉลาดของเขาเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่ทำให้นักบินอวกาศกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย
11. เรื่องยิ้มไว้ก่อนพ่อสอนไว้มีการเปลี่ยนแปลงเงินเดือนจริง ๆ ของคริส
ภาพยนตร์บอกเล่าเรื่องราวการต่อสู้ของคริส การ์ดเนอร์ (Chris Gardner) และการเอาชนะสิ่งที่เขาต้องเผชิญในภายหลัง ตัวเอกตกลงที่จะฝึกงานที่บริษัทนายหน้าโดยไม่มีเงินเดือน และนี่คือสิ่งที่เกินจริงอย่างมากเพื่อเพิ่มความดราม่าให้กับตัวภาพยนตร์
จริง ๆ แล้วคริสได้รับเงิน 33,000 บาท (1,000 ดอลลาร์) ถึงแม้ว่ามันจะเป็นเงินที่ไม่มากนักสำหรับพ่อที่ต้องดูแลลูกชายในซานฟรานซิสโก แต่มันก็ไม่ตรงกับสิ่งที่ภาพยนตร์บอกเรา
ภาพยนตร์เรื่องโปรดเรื่องไหนของคุณที่สร้างมาจากเหตุการณ์จริง ? บอกเราในช่องคอมเมนต์ว่าทำไมมันถึงทำให้คุณประทับใจ