กว่า 15 คำรหัสที่ผู้โดยสารไม่ควรรู้
ทุกคนที่เคยเดินทางโดยเครื่องบินหรือเรือคงเคยได้ยินพนักงานคุยกันแปลกๆ ประเด็นคือพนักงานใช้คำและวลีพิเศษที่เป็นคำรหัสสำหรับสถานการณ์ต่าง ๆ ข้อความรหัสเหล่านี้ช่วยให้ผู้โดยสารไม่สติแตกและหลีกเลี่ยงความตื่นตระหนกได้
1. “5 วันในเดนมาร์ก” (“5 days in Denmark”)
คุณอาจเคยได้ยินพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินพูดถึงการใช้เวลา เช่น 5 วันในเดนมาร์กและคุณคงเดาไม่ออกว่าในความเป็นจริง พวกเขาไม่ได้พูดถึงการพักร้อนจริง ๆ แต่พูดถึงผู้โดยสารคนหนึ่ง ในกรณีนี้ ตัวเลขหมายถึงแถวและตัวอักษรตัวแรกในชื่อประเทศหมายถึงหมายเลขที่นั่ง นี่คือรหัสสำหรับผู้โดยสารที่นั่งใน 5D ด้วยวลีนี้ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินก็นินทาผู้โดยสารอย่างเผ็ดร้อนได้โดยไม่มีใครรู้
2. “น้ำสีฟ้า” (“Blue juice”)
พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินใช้วลี “น้ำสีฟ้า” เมื่อพูดถึงความผิดปกติของห้องน้ำ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจึงสร้างรหัสนี้ขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงความอึดอัดใจ มีโอกาสที่คุณจะได้ยินพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินบอกนักบินประมาณว่า “น้ำสีฟ้าหมดแล้ว” ตอนนี้คุณรู้แล้วว่าพวกเขาหมายถึงอะไร
3. “เมย์เดย์” (“Mayday”)
รหัสนี้ใช้โดยนักบินและกัปตันเรือเพื่อส่งสัญญาณถึงสถานการณ์ที่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่ในบางประเทศ นักดับเพลิง ตำรวจและองค์กรขนส่งบางแห่งก็ใช้มันเช่นกัน รหัสจะถูกทำซ้ำ 3 ครั้งติดต่อกันเสมอ (Mayday! Mayday! Mayday!) เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่สับสนกับวลีที่ออกเสียงคล้ายกัน
เมย์เดย์เป็นคำถอดความภาษาอังกฤษของวลีภาษาฝรั่งเศส Venez m’aider! (มาช่วยฉันที !)
4. “Pan-pan”
นี่คือสัญญาณฉุกเฉินบนเรือหรือบนเครื่องบินและมาจากคำภาษาฝรั่งเศส panne ที่แปลว่าเสีย แต่ก็มักจะใช้เพื่อระบุสถานการณ์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้คน แต่ก็ยังต้องการการแก้ไขอยู่
5. “Code red”
เราหวังว่าคุณจะไม่เคยได้ยินวลีนี้ในชีวิตจริงและได้ยินเฉพาะในภาพยนตร์เท่านั้น Code Red ใช้สำหรับสถานการณ์ที่ยากลำบากและรุนแรงที่สุดบนเครื่องบินและส่วนใหญ่แล้ว สถานการณ์นี้เกี่ยวข้องกับปัญหาทางเทคนิคร้ายแรงหรือการลงจอดฉุกเฉิน
6. จำนวนเสียง
นอกจากรหัสคำแล้ว ยังมีเสียงแจ้งเตือนพิเศษอีกด้วย ผู้โดยสารก็ใช้ได้ เช่น เมื่อต้องการเรียกพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินโดยพวกเขาต้องกดปุ่มเหนือที่นั่ง แต่ในสถานการณ์อื่น ๆ เสียงนี้อาจมีความหมายแตกต่างออกไป
- ระหว่างการลงจอด เมื่อรัดเข็มขัดนิรภัยทั้งหมดแล้ว เสียงติ๊งหนึ่งครั้งจะส่งสัญญาณว่ากำลังใช้อุปกรณ์ลงจอด และติ๊งที่สองระหว่างการลงจอดหมายความว่าพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินออกจากที่นั่งได้และควรเริ่มขั้นตอนการนำผู้โดยสารออกจากเครื่องบิน
- เสียงติ๊งสั้น 3 ครั้งหมายความว่าลูกเรือต้องกลับไปที่ที่นั่งและฟังข้อความจากกัปตัน
- เสียงติ๊งสั้น 5 ครั้งเป็นสัญญาณว่าจำเป็นต้องอพยพทันที
7. รหัสตัวเลข
นอกจากตัวอักษรและเสียงแล้ว ยังมีการใช้ตัวเลขด้วย:
- 7,500 เป็นรหัสช่องสัญญาณซึ่งหมายถึงเครื่องบินถูกจี้หรือถูกคุกคามโดยการจี้
- 7,600 หมายถึงวิทยุขัดข้อง
- 7,700 เป็นรหัสฉุกเฉินทั่วไป
พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินอ้างว่ามีคำลับอีกคำหนึ่งที่รู้เฉพาะกับลูกเรือของเที่ยวบินนั้น ๆ รหัสใหม่จะถูกเลือกก่อนแต่ละเที่ยวบินเพื่อให้สัญญาณลับแก่กัปตันในกรณีที่เกิดอันตราย
8. “Ditch”
9. “เอกสารในนาทีสุดท้าย” (“Last-minute paperwork”)
วลีนี้ใช้โดยนักบินก่อนขึ้นบิน (ประมาณว่า “เรามีเอกสารในนาทีสุดท้าย”) จริง ๆ แล้วหมายความว่าเที่ยวบินล่าช้าเนื่องจากสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด ตัวอย่างเช่น ทีมงานซ่อมบำรุงต้องตรวจสอบทุกอย่างเพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องบินพร้อมสำหรับการบิน
10. “Cabin Crew, arm doors and cross check”
ถ้าคุณเคยเดินทางโดยเครื่องบินอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต คุณคงเคยได้ยินวลีที่ว่า “Cabin Crew, arm doors and cross check” ใช้ก่อนเครื่องขึ้นและทันทีหลังจากเครื่องบินลงจอดเพื่อเตือนสมาชิกลูกเรือว่าต้องเปิดและปิดการพองตัวอัตโนมัติของสไลด์
ตามกฎการบิน สไลด์ฉุกเฉินต้องพร้อมเสมอในขณะที่เครื่องยนต์ทำงานเพื่อเริ่มการอพยพถ้าจำเป็น ก่อนเครื่องขึ้น ที่จับพิเศษที่ประตูจะหมุนไปที่ตำแหน่ง “Armed” หรืออัตโนมัติเมื่อการลงจอดเสร็จสิ้น ให้หมุนที่จับอีกครั้งไปที่ตำแหน่ง “Disarmed” เพื่อที่ว่าเมื่อเปิดประตู สไลด์จะไม่พองออกโดยอัตโนมัติ มันดูเหมือนง่าย แต่มีบางกรณีที่พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินลืมหมุนที่จับและสไลเดอร์ก็พองขึ้นในสนามบิน ซึ่งทำให้ผู้โดยสารออกจากเครื่องบินล่าช้า
นี่คือเหตุผลที่พวกเขาใช้โค้ดคำว่า “сross check” เพื่อให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินทุกคนอย่าลืมตรวจสอบที่จับของตนและที่จับที่ประตูด้านหน้าพวกเขา
11. “พูเรล, พูเรล, พูเรล”
“พูเรล” เป็นแบรนด์เจลทำความสะอาด แต่บนเครื่องบินหรือเรือ รหัสนี้จะใช้คำนี้ซ้ำ 3 ครั้งเพื่อเรียกบริการทำความสะอาด หมายความว่ามีผู้โดยสารบนเครื่องที่ป่วยและจำเป็นต้องทำความสะอาด
12. “Red Parties”
ถ้าคุณได้ยินข้อความ “Red Parties” ทางวิทยุ แสดงว่ามีไฟไหม้หรืออาจเกิดไฟไหม้บนเรือ ข้อความจะตามด้วยข้อมูลเกี่ยวกับจุดที่เกิดไฟไหม้
13. “Priority 1” หรือ “Priority 2”
มีรหัสที่แพร่หลายมากมายสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินขณะอยู่ในทะเล ตัวอย่างเช่น “Priority 1” หมายถึงไฟไหม้ที่เป็นไปได้บนเรือ และ “Priority 2” หมายถึงอาจเกิดการรั่วไหลบนเรือ
14. “Operation Bright Star”
“Operation Bright Star” บนเรือสำราญของคุณคือการส่งสัญญาณเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ไปยังบริการฉุกเฉินทั้งหมดที่อยู่ใกล้เคียง ถ้าคุณได้ยินคำว่า “Operation Rising Star” แสดงว่ามีผู้โดยสารเสียชีวิตบนเครื่อง
15. “Mr. Mob”
รหัสคำว่า “Mr. Mob” ใช้กับเรือเพื่อส่งสัญญาณว่าผู้โดยสารตกเรือ ในกรณีนี้ Mob เป็นตัวย่อ (man overboard — คนตกเรือ) นอกจากนี้ยังมีสัญญาณเสียงสำหรับเหตุฉุกเฉินนี้ด้วย เป็นเสียงนกหวีดยาว 3 ครั้ง
16. “Code one”
“Code One” มักใช้กับรถไฟและเรือสำราญเพื่อส่งสัญญาณว่าผู้โดยสารคนใดคนหนึ่งได้รับบาดเจ็บและเขาหรือเธอต้องการการรักษาพยาบาล
17. “Mr. Sands”
รหัสที่มีชื่อเสียงที่สุดจากรถไฟใต้ดินลอนดอนและทางรถไฟในบริเตนใหญ่คือ Inspector Sands หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “Mr. Sands” ใช้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้หรือเสี่ยงต่อการระเบิด นอกจากนี้ยังใช้ในโรงละครภาษาอังกฤษด้วย ที่ใช้ตัวเลขนี้ใช้เพราะในอดีตมีการดับไฟด้วยถังทราย
18. “Mrs. Kate Fire Warning”
มีคนที่อาศัยอยู่ในอัมสเตอร์ดัมเล่าในบล็อกของเขาเกี่ยวกับรหัสลับที่เขาได้ยินในสถานีรถไฟกลาง “Mrs. Kate Fire Warning โปรดมาที่โต๊ะประชาสัมพันธ์ที่ Miss Shoe กำลังรออยู่ ขอย้ำ Mrs. Kate Fire Warning โปรดมาที่โต๊ะประชาสัมพันธ์ที่ Miss Shoe กำลังรออยู่”
ของแถม: รหัสวอลมาร์ท
พนักงานของวอลมาร์ทใช้รหัสเหล่านี้:
- Code Black — สภาพอากาศเลวร้าย (เช่น คำเตือนพายุทอร์นาโด)
- Code Blue — ขู่วางระเบิด
- Code Brown — การยิง
- Code Green — เกิดการจับตัวประกัน
- Code Orange — สารเคมีรั่วไหล
- Code Red — ไฟไหม้
- Code White — อุบัติเหตุ
- Code C — เรียกฝ่ายบริการลูกค้าหรือแคชเชียร์
- Code 300 หรือ Department 51 — พนักงานความปลอดภัย
คุณกับเพื่อนร่วมงานของคุณใช้คำรหัสหรือรหัสลับเมื่อพูดคุยกันหรือเปล่า ? บอกเราหน่อยสิ เว้นแต่ว่าข้อมูลนั้นจะเป็นความลับสุดยอด !