ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

15 ประโยคที่พ่อแม่ควรจะหลีกเลี่ยงเมื่อพูดกับลูก

บางครั้งเราก็ไม่ได้สนใจในสิ่งที่เราพูดกับลูกของเรามากนัก บางทีเราอาจจะพูดแบบนั้นออกไปเพราะเราได้ยินคำพูดเหล่านี้จากพ่อแม่ของเราเองหลายต่อหลายครั้ง หรือไม่เราก็ไม่ได้คิดว่ามันผิดอะไร แต่บางประโยคก็ไม่ใช่ว่ามันจะไม่มีพิษไม่มีภัยแบบที่เราคิด

ที่ชีวิตสดใส เราคุ้นเคยกับคำแนะนำของจิตแพทย์และอยากจะให้คุณได้รู้ว่าประโยคไหนที่พ่อแม่ควรจะเลิกพูดได้แล้ว และเมื่อลูกของคุณโตขึ้นพวกเขาจะต้องขอบคุณสำหรับสิ่งนี้

“อย่าให้พ่อ/แม่ต้อง...!”

พ่อแม่ทุกคนต้องเคยใช้คำขู่อย่างน้อยหนึ่งครั้งในเวลาที่พูดกับลูก แต่ถ้าพ่อหรือแม่สัญญาว่าจะทำอะไรบางอย่าง พวกเขาควรจะทำแบบนั้นจริง ๆ ในกรณีที่ลูกไม่ยอมทำตามคำสั่งของพวกเขา ไม่อย่างนั้นแล้ว ลูกจะเดาเกมของคุณได้อย่างง่ายดายและจะหยุดใส่ใจมันอย่างจริงจัง

“ทำไมต้องให้พ่อ/แม่พูดเป็นร้อย ๆ รอบ”

พ่อแม่ทุกคนน่าจะเคยใช้ประโยคนี้กับลูก แต่คำถามเหล่านี้เป็นอะไรที่ไม่สำคัญ ในความเป็นจริงแล้วผู้ใหญ่ก็แค่บ่น แต่เด็กไม่เข้าใจความหมายของมันก็เลยทำหูทวนลม คุณควรจะเปลี่ยนประโยคนี้ให้เป็น “พ่อ/แม่รู้ว่าบอกหนูไปแล้ว แต่หนูช่วย...”

“ลูกเก่งมาก !”

หลายคนคิดว่าพวกเขาควรจะชื่นชมลูกเพื่อช่วยเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตัวเอง ในความเป็นจริง นักจิตวิทยามองว่าการชื่นชมลูกอาจจะเป็นผลร้ายได้ โดยเฉพาะถ้าคุณชมลูกในแง่ของคุณลักษณะที่ดีหรือการได้เกรดดี ซึ่งจริง ๆ แล้วคุณควรจะชื่นชมเวลาที่ลูกใช้ความพยายามมากกว่า

ผลที่ได้อาจจะทำให้ลูกของคุณสูญเสียแรงจูงใจที่เหมาะสมในความปรารถนาที่จะได้รับการยอมรับจากผู้ปกครอง นอกจากนี้ เวลาที่เด็กได้ยินว่าพวกเขามีพรสวรรค์ พวกเขาอาจจะเลิกสนใจการเรียนหรือการทำงานไปเลยก็ได้ ก็ทำไมจะต้องทุ่มเทด้วยล่ะ ในเมื่อเราก็มีพรสวรรค์อยู่แล้ว

“ลูกนี่มันไร้สาระจริง ๆ !”

สำหรับเด็กแล้ว ผู้ใหญ่คือคนที่เขาจะเติบโตไปเป็นแบบนั้นและเป็นคนที่พวกเขาจะตรวจสอบความรู้สึกและประสบการณ์ได้ ดังนั้นเมื่อคุณบอกว่าพวกเขาไร้สาระหรือทำผิด มันทำให้พวกเขารู้สึกว่าความรู้สึกของพวกเขานั้นไม่สำคัญ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าทำไมลูกของคุณถึงทำตัวแบบนั้นก็ให้ถามพวกเขาไปเลย จากนั้นก็ลองนึกถึงประสบการณ์ในวัยเด็กที่คล้าย ๆ กัน

“มันไม่ใช่เรื่องใหญ่”

ถึงแม้ว่ามันอาจจะดูเหมือนไม่ใช่เรื่องสำคัญสำหรับผู้ใหญ่ แต่ลูกของคุณอาจจะไม่ได้คิดแบบนั้น เมื่อลูกงอแงและร้องไห้แล้วพ่อแม่ของพวกเขาก็บอกว่ามันไม่ใช่เรื่องใหญ่เลย ลูกอาจจะเริ่มรู้สึกอับอายกับอารมณ์ของตัวเอง ความคิดเห็นแบบนี้ไม่ได้ช่วยใครเลยแม้แต่เด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตาม

“รีบ ๆ แล้วก็เตรียมตัวให้พร้อม”

เด็กเล็กไม่ค่อยเข้าใจแนวคิดของเวลา ดังนั้นการบอกให้พวกเขารีบ ๆ จึงไม่ได้ส่งผลดีอะไรและมีแต่จะทำให้พวกเขาเครียดและกังวล การระบุและบอกให้ทำขั้นตอนต่อไปน่าจะดีกว่า มันจะช่วยไม่ให้ทั้งพ่อแม่และลูกเกิดความเครียดได้

“พ่อ/แม่เกลียดวิชาคณิตมาตลอด !”

บางทีพ่อแม่ก็ไม่ได้คิดว่าทัศนคติของตัวเองต่อวิชาที่ลูกเรียนในโรงเรียนส่งผลกระทบต่อลูก ๆ ของพวกเขาแค่ไหน เด็กมีแนวโน้มที่จะเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อและแม่รวมไปถึงทัศนคติของพ่อแม่ที่มีต่อวิชาเรียนด้วย มันอาจจะกลายเป็นว่าถึงแม้ลูกจะมีความสามารถในวิชาคณิต พวกเขาก็อาจจะไม่สนใจในวิชานั้นแค่เพราะความคิดเห็นจากพ่อแม่ก็ได้

“พ่อ/แม่รู้ว่าลูกไม่ได้ตั้งใจจะทำร้ายเขา”

ไม่จริง พวกเขาตั้งใจ ! เด็กก็พบกับอารมณ์เชิงลบที่รุนแรงและทำตัวแย่ ๆ โดยการทำตามสัญชาตญาณออกมาได้เช่นกัน และพวกเขาก็อาจจะรู้สึกดีมาก ๆ ในตอนนั้นด้วย เพราะฉะนั้นการที่พ่อแม่ใช้ข้อแก้ตัวนี้ให้กับลูก มันก็ดูจะไม่ส่งผลดีนัก คุณควรจะช่วยลูกของคุณยอมรับความรู้สึกเชิงลบของพวกเขาและเรียนรู้ที่จะควบคุมมัน

“ลูกมีความสุขที่ได้ไปโรงเรียนหรือเปล่าวันนี้”

การถามคำถามแบบนี้เป็นการแสดงความคาดหวังออกมา เหมือนกับคุณคิดว่าทุกอย่างควรจะดีและยอดเยี่ยม และเมื่อความเป็นจริงไม่ได้ตรงกับความคาดหวัง เด็กจะรู้สึกผิด รู้สึกหงุดหงิดแล้วก็ปิดตัวเอง

“เป็นอะไรไปเนี่ย”

ถ้าพูดประโยคนี้ด้วยน้ำเสียงที่แจ่มใสงั้นก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าพ่อหรือแม่พูดด้วยน้ำเสียงที่หงุดหงิดว่า “ลูกเป็นอะไรเนี่ย” เด็กจะรู้สึกว่าการมีอยู่ของพวกเขานั้นมีอะไรที่ผิดปกติ

ในฐานะผู้ใหญ่ เด็กจะเชื่อคุณเมื่อคุณบอกว่าพวกเขาดูเหมือนจะมีอะไรผิดแปลกไป พวกเขาจะเริ่มเชื่อแบบนั้น และเด็กก็จะเริ่มถามตัวเองว่ามันจริงรึเปล่า ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็ตอบคำถามนี้ไม่ได้ด้วย แล้วความคิดเหล่านี้ก็อาจจะจบลงด้วยการที่พวกเขาต้องไปพบนักบำบัด

“เขาไม่ได้ตั้งใจ”

แน่นอนว่าเด็กทุกคนต้องการการสนับสนุนและการปกป้องจากพ่อแม่ของพวกเขา แต่เมื่อผู้ใหญ่พยายามปกป้องลูก ๆ ของพวกเขาจากความยากลำบากทั้งปวงแล้วล่ะก็ มันก็อาจส่งผลเสียในภายหลังได้

บางครั้งคุณก็จำเป็นต้องปล่อยให้ลูกของคุณทำผิดพลาดหรือเลือกตัวเลือกที่ไม่ถูกต้องและรับผิดชอบกับผลที่เกิดขึ้น ไม่อย่างนั้น เด็กอาจจะมีการพัฒนาการในการมองเห็นคุณค่าในตัวเองที่ต่ำและเขาก็จะต้องพึ่งพาคนอื่นไปตลอดและจะแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองไม่ได้

“พ่อ/แม่ไม่รู้ว่าเราจะจ่ายบิลทั้งหมดนี้ได้ยังไง”

คุณไม่ควรฝังหัวลูกของคุณด้วยปัญหาทางการเงิน พวกเขาไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องนั้นเพราะถึงยังไงพวกเขาก็ช่วยคุณไม่ได้อยู่ดี ในขณะเดียวกัน มันจะกลายเป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขาในการกำจัดความกังวลในเรื่องนี้ไป

“งั้นก็อยู่ตรงนี้แหละ พ่อ/แม่ไปละ”

พ่อแม่ทุกคนเคยเจอกับสถานการณ์ที่จะต้องออกมาจากสนามเด็กเล่นหรือสวนสาธารณะ ในขณะที่ลูกของตัวเองยังไม่อยากหยุดเล่นและก็ยังคงวิ่งเล่นต่อไปเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม การที่คุณขู่ว่าจะปล่อยลูกทิ้งไว้นั้นเป็นการสร้างความรู้สึกไม่ปลอดภัยให้กับตัวเด็ก และพวกเขาจะคิดทันทีว่าพ่อแม่อาจจะทิ้งให้พวกเขาต้องอยู่ในโลกที่น่ากลัวและอันตรายใบนี้ เมื่อโตขึ้น เด็กเหล่านี้จะทำผิดพลาดมากขึ้นในสถานการณ์ที่ยากและตึงเครียด

“หยุดทำตัวเป็นเด็ก ๆ ซะที”

นี่อาจจะเป็นหนึ่งในประโยคที่แย่ที่สุดที่ผู้ใหญ่จะพูดกับลูกของพวกเขาเลยก็ได้ การพูดแบบนี้เป็นการที่พ่อแม่ลดทอนความรู้สึกของลูกซึ่งจะทำให้ลูกไม่อยากแบ่งปันความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับพวกเขา การถามลูกว่าพวกเขารู้สึกยังไงและทำไมถึงรู้สึกแบบนั้นน่าจะดีกว่า

“การแบ่งปันคือการห่วงใย”

การใจกว้างเป็นเรื่องที่ดี ดังนั้นพ่อแม่บางคนจึงพยายามที่จะปลูกฝังสิ่งนี้ให้กับลูกของพวกเขาตั้งแต่ยังเด็กมาก แต่ในช่วงปีแรก ๆ ของชีวิต เด็กไม่รู้หรอกว่าความเห็นอกเห็นใจคืออะไรและทำไมพวกเขาถึงต้องแบ่งของเล่นให้กับเด็กคนอื่นด้วย

เวลาที่คุณบอกให้ลูกเอาของเล่นชิ้นโปรดของตัวเองให้คนอื่น คุณได้ปลูกฝังความคิดที่ผิดลงในหัวข้อว่าถ้าอยากได้อะไร ก็แค่ร้องไห้ออกมา ก็จะได้สิ่งที่พวกเขาต้องการ

คุณคิดว่าคำพูดของเราส่งผลกระทบต่อลูกของเราได้ไหม ? คุณจำสิ่งที่คล้าย ๆ กันจากวัยเด็กของคุณได้หรือเปล่า ? บอกเราในช่องคอมเมนต์ด้านล่าง

ตอนนี้ชีวิตสดใสมีพ็อตแคสท์เป็นของตัวเองแล้ว พบบทความเจ๋ง ๆ ไว้กับตัวและฟังเรื่องราวใหม่ ๆ ได้ทุกที่ทุกเวลาที่คุณต้องการ

ชีวิตสดใส/ครอบครัว & เด็ก/15 ประโยคที่พ่อแม่ควรจะหลีกเลี่ยงเมื่อพูดกับลูก
แชร์บทความนี้