ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

8 คำพูด “ด้วยความหวังดี” ที่พ่อแม่พูดกับลูก อาจสร้างรอยแผลในใจให้เด็ก ๆ ได้ตลอดชีวิต

รู้หรือไม่ว่าแค่ลำพังจากสถิติในประเทศสหรัฐอเมริกาเองนั้น มีเด็กถึง 700,000 คนที่ถูกทำร้ายทุกปี เรามักจะคิดกันไปว่าตราบใดที่เราไม่ตีลูก เรื่องนั้นก็คงไม่เกี่ยวอะไรกับเรา แต่เรากลับลืมเรื่องการทำร้ายทางจิตใจไปเสียสนิท คำพูดมั่ว ๆ ที่เราพูดพ่นออกไปอย่างไม่ยั้งคิดสามารถทำให้เด็กมีความเครียด ซึมเศร้า หรือมีความเคารพนับถือตัวเองต่ำได้เลยนะ

ชีวิตสดใสนึกสงสัยว่าคำพูดที่เราอาจจะพูดไปด้วยความหวังดีนั้น บางครั้งอาจส่งผลให้เด็กมีปัญหาชีวิตในอนาคตได้ด้วยเหมือนกันนะ ไปดูกันเลย

1. การเปรียบเทียบลูกของคุณกับคนอื่น

หากคุณเปรียบเทียบลูกของคุณกับ “ลูกชายที่สมบูรณ์แบบ” ของเพื่อนรัก ลูกของคุณจะไม่สามารถมองเห็นภาพลักษณ์ที่ตัวเองควรจะเป็นได้เลย และจะรู้สึกราวกับเป็นเด็กขี้แพ้ เช่นเดียวกันกับความลำเอียงระหว่างพี่น้อง สิ่งนี้กลับสร้างความบาดหมางโดยไม่จำเป็นระหว่างพวกเขาได้ ยิ่งไปกว่านั้น ลูกคนหนึ่งจะรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้รับความรัก ในขณะที่ลูกอีกคนกลับต้องแบกภาระความคาดหวังของการเป็นลูกในอุดมคติซึ่งกดดันให้ต้องทำทุกอย่างให้ดีที่สุดเพื่อให้ไม่เสียตำแหน่งนี้ไป ซึ่งจากผลการศึกษาในเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า หากคุณลำเอียงรักลูกคนไหนมากกว่าอีกคน จะส่งผลให้เกิดอาการซึมเศร้าได้มากขึ้นเมื่อพวกเขาเติบโตขึ้น

2. การปฏิเสธความรู้สึกของลูก

แน่นอนแหละว่าของเล่นที่แตกหักพังเสียหายต้องดูไม่สำคัญอะไรกับคุณแน่ เมื่อเทียบกับการต้องหาเงินมาจ่ายค่าโน่นนี่ต่าง ๆ ทุกเดือน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าลูกของคุณไม่มีสิทธิ์ที่จะมีอารมณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น หากถูกปฏิเสธความรู้สึกมาก ๆ เข้า เด็ก ๆ จะเรียนรู้ที่จะกดความรู้สึกมีความสุข เศร้า หรือโกรธเก็บกลืนลงไป และเติบโตขึ้นมากลายเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่สามารถแสดงอารมณ์ของตัวเองออกมาได้ หรือไม่สามารถที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่มั่นคงกับคนอื่น ๆ ได้ อ้างอิงจากงานวิจัยนี้ทำให้พบว่า ในอนาคตแล้ว เรื่องนี้จะทำให้พวกเขารู้สึกว่ามันเป็นการยากลำบากมากที่จะต้องทนรับกับอารมณ์ความเครียดต่าง ๆ ของตัวเอง ซึ่งจะทำให้เกิดอาการซึมเศร้าและเกิดความเครียดได้เมื่อพวกเขากลายเป็นผู้ใหญ่

3. การทำให้ลูกสับสนหรือโกหกลูก

คำว่าการทำให้สับสน (gaslight) ในที่นี้คือการทำให้อีกฝ่ายไม่แน่ใจในความทรงจำของตัวเองด้วยการโกหกหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เคยให้เล็กน้อย ซึ่งสิ่งนี้อาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เมื่อคุณแกล้งทำเป็นว่าคุณไม่เคยให้คำสัญญาใด ๆ กับลูกมาก่อน สิ่งนี้จะทำให้ลูกของคุณสงสัยในตัวเองและโลกรอบตัวของพวกเขาด้วย ซึ่งอาจส่งผลให้พวกเขามีความเคารพนับถือในตัวเองต่ำได้ ซึ่งสิ่งนี้สามารถนำไปสู่ความเครียด มีอาการซึมเศร้า และในกรณีที่ร้ายแรงที่สุดคือป่วยเป็นโรคจิตได้

4. การรักลูกอย่างมีเงื่อนไข

เราแน่ใจว่าคุณคงไม่ได้ตั้งใจที่จะทำร้ายลูกของคุณอย่างแน่นอนเวลาที่คุณพูดอะไรประมาณนี้ ในทางตรงกันข้าม คุณกำลังต้องการที่ผลักดันลูกของคุณและจูงใจพวกเขาให้เดินหน้าต่อไป ในขณะที่นี่คือความคิดของคุณ แต่สิ่งที่ลูกของคุณกำลังได้ยินคือ: “คนอื่น ๆ และพ่อจะรักลูกก็ต่อเมื่อลูกทำทุกอย่างได้สมบูรณ์แบบเท่านั้น ลูกไม่มีค่าควรแก่การที่จะได้รับความรักถ้าลูกไม่ประสบความสำเร็จอะไรเลย” สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าเราเรียกร้องมากเกินไปเมื่อเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการทำงานหรือการเรียนของลูก

5. การนึกสงสัยในความสามารถของลูก

คำพูดเช่นนี้ไม่ได้ช่วยทำให้เด็ก ๆ พยายามหนักขึ้นนะ แต่ส่งผลในทางตรงข้ามเลยต่างหาก ยิ่งคุณแสดงให้เห็นความไร้ความสามารถในตัวพวกเขามากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสที่พวกเขาจะยอมแพ้มากขึ้นเท่านั้น คำพูดเช่นนั้นจากพ่อแม่จะทำให้เด็ก ๆ เสียความมั่นใจในตัวเอง ซึ่งจะนำไปสู่อาการซึมเศร้าและความเครียดเมื่อพวกเขาเติบโตขึ้น

6. การตราหน้าพวกเขาจากความสามารถทางความคิด และ/หรือลักษณะทางกายภาพอื่น ๆ

ขณะที่เด็ก ๆ มักถูกสั่งให้อย่าไปสนใจคำพูดหรือการกระทำร้าย ๆ ที่คนเกเรกลั่นแกล้งพวกเขา แต่ไม่ได้หมายความว่าเด็กทุกคนจะสามารถทำแบบเดียวกันได้หากคำพูดร้าย ๆ เหล่านั้นมาจากพ่อแม่ของตัวเอง ไม่ว่าคุณจะหยิบยกความด้อยความสามารถทางร่างกายหรือความคิดของเด็กมาพูด มันจะทำลายภาพลักษณ์ที่พวกเขามีต่อตัวเองไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาทางจิตเวชต่าง ๆ ตามมารวมถึงพฤติกรรมการกินอาหารที่ผิดปกติอีกด้วย

7. การทำให้ลูกรู้สึกว่าติดค้างอะไรคุณ

แน่อยู่แล้วที่คุณต้องมีการเสียสละอะไรไปบ้างในการมีลูก แต่คุณเป็นคนลือกที่จะมีพวกเขาเองนะ อย่าผลักดันความรับผิดชอบนี้ไปให้พวกเขาเด็ดขาด พวกเขาไม่จำเป็นที่จะต้องรู้สึกผิดจากการตัดสินใจของคุณ ในบางกรณีสิ่งนี้สามารถนำไปสู่ความรู้สึกผิดแบบฝังรากลึก (pathological guilt) ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับโรคประสาทหลายชนิดซึ่งรวมถึงโรคย้ำคิดย้ำทำอีกด้วย

8. ห้ามพูดว่า “อย่าคุยกับคนแปลกหน้า !!”

ในกรณีของเด็กเล็ก แนวคิดนี้ซับซ้อนเกินกว่าจะเข้าใจได้ นอกจากนี้ พวกเขาอาจเริ่มหลีกเลี่ยงคนแปลกหน้า รวมถึงคนที่พยายามช่วยเหลือพวกเขา เช่น ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ดับเพลิง แทนที่จะห้ามไม่ให้เด็กพูดคุยกับผู้คนที่เดินผ่านไปผ่านมา ควรอธิบายวิธีปฏิบัติตนในสถานการณ์เฉพาะดีกว่า เช่น ถ้าชายที่น่าสงสัยบางคนให้ขนมและเรียกให้ไปที่บ้านของเขา

คุณยังจำได้บ้างไหมว่ามีคำพูดไหนที่คุณพ่อคุณแม่เผลอพูดกับคุณและทำให้ความเคารพนับถือในตัวคุณเองต่ำลง ? ประโยคไหนที่คุณคิดว่าคุณจะไม่มีวันพูดกับลูกของคุณอย่างเด็ดขาด ?

ชีวิตสดใส/ครอบครัว & เด็ก/8 คำพูด “ด้วยความหวังดี” ที่พ่อแม่พูดกับลูก อาจสร้างรอยแผลในใจให้เด็ก ๆ ได้ตลอดชีวิต
แชร์บทความนี้