ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

8 เคล็ดลับที่ทำให้การให้นมเป็นประสบการณ์ที่สุขใจ

การให้นมเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่ใกล้ชิดที่สุดที่คุณจะมีร่วมกับลูกน้อยของคุณได้ มันจะช่วยเพิ่มน้ำหนักอย่างเหมาะสม, ทำให้ลูกของคุณมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารน้อยลง เช่น อาการเสียดท้องหรือมีแก๊ส และช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของพวกเขาแข็งแรงขึ้น แต่ประสบการณ์นี้ก็ค่อนข้างท้าทายเช่นกันโดยเฉพาะสำหรับแม่มือใหม่

เราที่ชีวิตสดใสสนใจถึงสุขภาวะของผู้อ่านของเรา เราจึงได้รวบรวมรายการเคล็ดลับที่จะทำให้คุณผ่านประสบการณ์นี้ไปได้อย่างราบรื่นที่สุด

1. วิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมของคุณ

ถ้าสารอาหารต่ำหรือคุณแค่ต้องการแน่ใจว่าคุณได้รับสารอาหารที่เพียงพอเมื่อให้นมลูก ให้นมลูกให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้และอย่าอิงตามเวลา ลูกของคุณจะตัดสินใจเองถ้าเขาอิ่มแล้ว นอกจากนี้การปั๊มนมระหว่างให้นมลูกก็จะช่วยเพิ่มการผลิตน้ำนมด้วย ต้องแน่ใจว่าลูกของคุณดูดนมจากเต้าทั้งสองข้างเพื่อที่จะได้รับการกระตุ้นอย่างเท่าเทียม

สิ่งที่คุณกินก็สำคัญเช่นกันเพราะไม่เพียงแต่มันจะให้สารอาหารที่จำเป็นต่อลูกน้อยเท่านั้น แต่อาหารและสมุนไพรบางอย่างจะช่วยในการหลั่งน้ำนมด้วย เช่น กระเทียม, ขิง, ยี่หร่าและลูกซัด นอกจากนี้ยังมีคุกกี้ให้นมบุตรที่ช่วยเพิ่มสารอาหารได้ด้วยเช่นกัน

2. วิธีการเชี่ยวชาญในการทำวิธีจิงโจ้

ช่วงสองสามสัปดาห์แรกสำคัญมากเพราะลูกและแม่จะเริ่มพัฒนาสายใยของทั้งคู่ และมันจำเป็นต้องอยู่ในบรรยากาศที่ผ่อนคลายและสบายใจ ลดแสงลงและนั่งในเก้าอี้ที่สบาย ถอดเสื้อและชุดชั้นในของคุณออกเพื่อที่ผิวจะได้สัมผัสกัน

การดูแลลูกแบบเนื้อแนบเนื้อจะช่วยปลอบโยนลูกของคุณ ดังนั้นเขาจึงจะไม่ร้องไห้บ่อยและหมดแรง อุณหภูมิร่างกายของคุณจะช่วยรักษาอุณหภูมิของทารกให้ขึ้นหรือลงตามความจำเป็น นอกจากนี้มันจะทำให้การให้นมลูกเป็นเรื่องง่ายขึ้น เนื่องจากลูกของคุณจะหาวิธีไปยังเต้านมของคุณได้โดยการใช้ประสาทสัมผัส

3. วิธีการให้นมหากคุณมีหน้าอกที่ใหญ่

แม่ที่มีหน้าอกขนาดใหญ่มักจะรู้สึกว่าพวกเธอประคองได้ไม่เต็มที่และเป็นกังวลในการอุ้มลูก ถ้าคุณมีปัญหาเหล่านี้ สิ่งสำคัญก็คือการหาท่าทางที่จะช่วยให้คุณสบายใจและไร้กังวล

ท่านอนตะแคงจะทำให้คุณใช้เบาะรองได้ในขณะที่คุณยังคงมองเห็นได้ว่าลูกน้อยดูดนมได้ดีหรือไม่ ทั้งแม่และลูกควรจะนอนตะแคงหันหน้าเข้าหากัน วางหมอนไว้ด้านหลังและระหว่างเข่าของคุณ ใช้หมอนอีกใบวางไว้ด้านหลังของลูกน้อยเพื่อที่ลูกจะได้ไม่กลิ้งออกไปจากคุณ

4. วิธีหาตำแหน่งที่เหมาะสมหลังจากการผ่าคลอด

การให้ลูกหาเต้านมของคุณเองหมายถึงการวางทารกไว้บนหน้าอกที่เปลือยเปล่าของคุณโดยให้สะโพกงอและปากกับจมูกหันไปทางหัวนมของคุณ คุณต้องเอนหลังและลูกน้อยของคุณจะเริ่มขยับตัวเข้าหาเต้านมตามสัญชาตญาณ

ในกรณีที่มีการผ่าคลอด วิธีนี้อาจจะยากกว่าแต่ก็ยังทำได้อยู่ วางหมอนไว้ข้างลำตัวและให้ลูกน้อยนอนที่ฝั่งนั้นเพื่อที่จะได้อยู่ห่างจากบาดแผลของคุณ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเท้าอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อที่เขาจะได้ใช้มันผลักตัวเข้าไปใกล้หน้าอกของคุณได้

5. วิธีการให้นมลูกแฝด

การมีลูกแฝดหมายความว่ามือของคุณจะไม่ว่างเลย ก่อนอื่นต้องลองให้นมลูกทีละคนก่อนที่จะพยายามให้นมทั้งสองคนพร้อมกัน ท่าเปลคู่บนตักจะทำให้คุณให้นมลูกพร้อม ๆ กันได้ ใช้หมอนให้นมลูกหรือหมอนที่มีขนาดใหญ่พอและวางไว้บนตักของคุณ หัวของลูกแต่ละคนจะอยู่ที่ข้อพับข้อศอกของคุณและร่างกายของพวกเขาก็จะไขว้กันอยู่บนหมอน

สำหรับท่าอุ้มฟุตบอลคู่คุณจำเป็นจะต้องมีหมอนให้นมลูก ลูกควรจะนอนอยู่คนละฝั่งของร่างกายของคุณและอยู่ใต้แขนของคุณ

6. วิธีหยุดกรดไหลย้อน

ทารกมักจะมีอาการกรดไหลย้อนหลังจากการให้นม โดยมีการอ้วกนมบางส่วนที่เขาได้กลืนเข้าไปออกมา ในกรณีนี้ ควรจะมีการให้นมลูกในท่าตั้งตรงหรือกึ่งตั้งตรง เนื่องจากแรงโน้มถ่วงจะช่วยย่อยอาหารได้ ลองเดินไปด้วยในขณะที่ให้นมลูกของคุณเพราะการเคลื่อนไหวที่นุ่มนวลจะช่วยให้ผ่อนคลายได้ ลูกของคุณควรจะอยู่ในท่าตั้งตรงเป็นเวลา 20 นาทีหลังจากให้นมเพื่อไม่ให้กรดไหลย้อนแย่ลง

7. วิธีหลีกเลี่ยงอาการเจ็บหัวนม

ถ้าคุณรู้สึกเจ็บหัวนมหลังจากที่ให้นมลูก ตรวจสอบกับแพทย์เพื่อป้องกันไม่ให้มันแตกหรือเริ่มมีเลือดออกและอาจจะเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้

ถ้าคุณใช้แผ่นซับน้ำนม ให้เลือกแบบที่ไม่มีแผ่นรองพลาสติกแต่ค่อนข้างนุ่มและทำจากผ้าฝ้าย มันควรจะถูกเปลี่ยนทันทีที่เปียก ตัวเลือกของชุดชั้นในก็สำคัญเช่นกัน ทิ้งชุดชั้นในลูกไม้หรือแบบสังเคราะห์ไปซะและเลือกชุดชั้นในผ้าฝ้ายเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้แทน

8. วิธีการดูดนมที่ถูกต้อง

เริ่มต้นด้วยการเขี่ยริมฝีปากของลูกน้อยด้วยหัวนมของคุณเพื่อให้ลูกอ้าปาก โดยมีริมฝีปากยื่นออกมาด้านนอก ("ริมฝีปากแบบปลา’’) ปากควรจะคลุมปิดมากกว่าแค่บริเวณหัวนมของคุณโดยให้ชิดเต้านมที่สุด ในกรณีที่อมหัวนมไม่ถูกต้องริมฝีปากอาจจะทำมุมอยู่ที่ 90 องศา ซึ่งมันควรอยู่ที่ 120 องศา

ถ้าริมฝีปากล่างอยู่แค่ด้านล่างของหัวนมก็ให้ลูกดูดนมใหม่โดยการใส่นิ้วเข้าไปในปากของทารกและลองอีกครั้ง ลูกน้อยจะดูดนมได้กว้างขึ้นถ้าคุณดึงที่ริมฝีปากบนหรือล่างของทารก

เคล็ดลับไหนที่คุณจะนำไปลองแน่ ๆ ? การถามจากแม่ที่มีประสบการณ์ เคล็ดลับอื่น ๆ อะไรบ้างที่ใช้ได้ดีกับลูกของคุณ ?

ชีวิตสดใส/ครอบครัว & เด็ก/8 เคล็ดลับที่ทำให้การให้นมเป็นประสบการณ์ที่สุขใจ
แชร์บทความนี้