ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

9 เคล็ดลับทางจิตวิทยาที่สอนลูกให้ฟังคุณได้

เมื่อคุณแอบบอกเพื่อนของคุณว่าคุณไม่ค่อยมีความสุขเท่าไหร่ที่แม่สามีของคุณมาเยี่ยมที่บ้าน หูของลูกจะได้ยินทันทีและส่งต่อข้อมูลนี้ไปยังคุณย่าอันเป็นที่รักของพวกเขา ในขณะเดียวกันคำปรึกษาและคำแนะนำที่คุณพูดซ้ำ ๆ กับลูกมากมายหลายครั้งกลับอยู่ในหัวของพวกเขาได้ไม่นานนัก

ชีวิตสดใสได้ตัดสินใจที่จะค้นหาว่าสุดท้ายแล้วเราจะต้องทำยังไงเพื่อให้ลูกของคุณฟังคำพูดของพ่อแม่ นักจิตวิทยาได้ให้คำแนะนำที่พิเศษกับประเด็นนี้

มุ่งความสนใจไปที่ลูกของคุณ

เด็กที่คลั่งไคล้เกมหรือการต่อสู้จะไม่ทันสังเกตว่าคุณกำลังพูดกับพวกเขา ดังนั้นพวกเขาจึงเพิกเฉยต่อคำพูดของคุณหรือแม้กระทั่งกรีดร้อง เพื่อทำให้ลูกฟังคุณและช่วยให้พวกเขาโฟกัสในสิ่งที่คุณกำลังพูด ให้ย่อตัวลงหรือโน้มตัวเข้าหาพวกเขาแล้ววางมือเบา ๆ ลงบนบ่าของลูก มันจะช่วยเพิ่มโอกาสที่พวกเขาจะรับฟังคุณมากขึ้น

เปลี่ยนเป็นการกระซิบ

สำหรับพวกเราแล้วดูเหมือนว่าการตะโกนจะได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วกว่า แต่เด็กก็จะมีแนวโน้มที่จะคุ้นเคยกับพ่อแม่ที่เสียงดังและจะหยุดตอบสนองกับพวกเขา นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมถ้าลูกของคุณกำลังตะโกนในห้องและกำลังเล่นรุนแรง ให้ลองกระซิบคุยกับพวกเขา วิธีการนี้ได้ผลดีกับเด็กเล็ก ๆ เป็นพิเศษและมันยังส่งผลดีต่อวัยรุ่นและผู้ใหญ่อีกด้วย

ผลออกมาว่าการเข้าใจเสียงกระซิบต้องใช้ความพยายามทางจิตใจมากขึ้นและสิ่งนี้ทำให้บุคคลที่เป็นผู้ฟังรู้สึกว่าจะต้องให้ความสนใจกับสิ่งอื่นน้อยลง เพื่อที่จะทำให้พวกเขาตั้งใจฟังคำพูดของคู่สนทนาได้มากขึ้น นอกจากนี้โดยสัญชาตญาณแล้วประโยคสำคัญที่พูดด้วยเสียงกระซิบอาจส่งผลดีต่อเราได้ สำหรับเด็ก ๆ เสียงที่เบามักจะทำให้รู้สึกสงบ ดังนั้นคุณจึงควรเปลี่ยนไปเป็นการพูดกระซิบเพื่อเป็นการลดความกังวลของเด็กลงได้

ปล่อยให้ลูกของคุณควบคุมสถานการณ์

“ลองใช้ประโยค “ถ้า-เมื่อ” ให้มากขึ้นเมื่อคุยกับลูกของคุณ มันจะช่วยให้เด็กคิดว่าพวกเขาควบคุมสถานการณ์ได้ แต่จริง ๆ แล้วลูกของพวกคุณนั่นแหละที่ถูกควบคุม เมื่อผลลัพธ์ในเชิงบวกได้เกิดขึ้น นอกจากนี้ให้ใช้ประโยคเหล่านี้เมื่อคุณต้องการให้ลูกของคุณทำอะไรบางอย่าง เช่น “เมื่อดูการ์ตูนเสร็จแล้ว ช่วยล้างจานด้วย”

ควบคุมปริมาณของข้อมูล

สมองของเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปีเก็บข้อมูลได้ไม่เกิน 1-2 เรื่องและเด็กที่โตกว่านั้นและผู้ใหญ่เก็บได้ 3-5 เรื่องนั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมมันถึงดูไม่มีเหตุผลที่จะพยายามอยากได้ความสนใจของเด็กโดยการพูดประโยคหลาย ๆ ประโยคในครั้งเดียว การบอกแค่สิ่งสำคัญว่าคุณต้องการจะพูดอะไรในหนึ่งหรือสองประโยคสั้น ๆ นั้นดีกว่า กฎความปลอดภัยยังถูกส่งต่อได้ดีกว่าด้วยเนื่องจากไม่เป็นการยัดคำแนะนำและการสั่งสอนเข้าไปในสมองของเด็กมากไป

ลองคิดว่าคุณมีแนวโน้มที่จะเป็นคนจู้จี้หรือเปล่า

ถ้าลูกของคุณเอาแต่เพิกเฉยต่อคุณอาจจะเป็นเพราะว่าคุณขึ้นเสียงบ่อยเกินไปเมื่อคุยกับพวกเขา หรือไม่ก็จู้จี้บ่อย คุณไม่ควรทำอย่างหลังเพราะเหตุผลต่อไปนี้

  • มันทำให้ลูกรู้สึกว่าไร้ความสามารถ
  • ลูกรู้สึกว่าพวกเขาถูกควบคุมและจะทำตัวห่างเหินกับพ่อแม่
  • พวกเขาฟังคุณน้อยลง
  • การจู้จี้ของคุณก็แค่ทำให้พวกเขารำคาญ
  • เด็ก ๆ เข้าใจในทันทีว่าพวกเขาทำได้แค่เพียงรอจนกว่าพายุทางคำพูดจะจบลงและงานจะเสร็จโดยที่ไม่ต้องมีการช่วยเหลือจากพวกเขา
  • ทั้งคุณและลูกจดจ่ออยู่กับเพียงด้านลบของเรื่องที่เกิดขึ้น ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา

แทนที่จะไม่พอใจกับจานที่สกปรกเป็นครั้งที่ร้อยที่ถูกวางทิ้งไว้บนโต๊ะ ลองชื่นชมลูกของคุณสำหรับการกระทำที่ถูกต้องของพวกเขา ถ้าคุณสั่งให้ลูกทำอะไรบางอย่าง ให้บอกคำแนะนำที่ชัดเจนและเตือนพวกเขาถึงผลที่จะตามมาเพียงแค่ครั้งเดียว

อธิบายกับลูกของคุณว่าความประพฤติของพวกเขาทำให้คุณรู้สึกยังไง

มันสำคัญที่ลูกจะต้องเข้าใจว่าการกระทำของพวกเขาส่งผลกับผู้คนและสัตว์รอบตัวของพวกเขายังไงบ้าง คุณไม่จำเป็นต้องบ่มเพาะความรู้สึกผิดในตัวของพวกเขา คุณแค่ต้องอธิบายว่าการกระทำของพวกเขาทำให้ใครบางคนเจ็บปวด เศร้าโศกและไม่พอใจได้ มันจะช่วยให้ลูกของคุณเรียนรู้ที่จะเห็นอกเห็นใจคนอื่นได้เร็วขึ้น บอกลูกของคุณว่าคุณรู้สึกยังไงกับคำพูดหรือการกระทำของพวกเขา ตัวอย่างเช่น “การร้องสะอื้นของลูกบอกแม่ว่าลูกเหนื่อยและมันถึงเวลาที่เราจะต้องออกจากสนามเด็กเล่นแล้ว”

ฟังลูกของคุณ

เรียนรู้ที่จะฟังลูกสาวหรือลูกชายของคุณอย่างตั้งใจโดยที่ไม่ขัดจังหวะหรือสนใจสิ่งอื่น เช่นการดูหนังหรือพิมพ์ข้อความ สิ่งนี้จะช่วยสร้างพื้นฐานของความเชื่อใจระหว่างพวกคุณ มันจะทำให้ลูกรู้สึกถูกเข้าใจและในทางกลับกันพวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะฟังคุณมากขึ้นด้วย

ถึงแม้ว่าคุณจะจับได้ว่าพวกเขาทำอะไรที่ไม่สมควร ปล่อยให้พวกเขาพูด เรียนรู้ว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรและอะไรเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขาต้องทำสิ่งนั้น หลังจากนี้แล้วคุณจึงให้คำแนะนำกับพวกเขาได้

ให้พวกเขาตัดสินใจด้วยตัวเอง

แทนที่จะพูดถึงกฎความปลอดภัยกับลูกของคุณซ้ำ ๆ หลาย ๆ รอบ การทำแบบนั้นไม่ได้ช่วยให้พวกเขาฟังอย่างตั้งใจ คุณควรทำให้ความทรงจำของพวกเขาได้ทำงาน ถามคำถามพวกเขาเกี่ยวกับสิ่งที่เขาควรจะทำในสถานการณ์ต่าง ๆ หรือดูว่าพวกเขามองปัญหาต่าง ๆ อย่างไร มันจะช่วยให้พวกเขาจำกฎได้ดีขึ้นและคุณจะไม่ดูเหมือนนกแก้วนกขุนทองเมื่อเตือนเขาด้วยคำแนะนำที่เป็นประโยชน์

รักลูกของคุณในแบบที่พวกเขาเป็น

พ่อแม่ที่ตะโกนใส่ลูกที่กำลังแคะขี้มูกหรืองอแงในที่สาธารณะมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาไม่ใช่แค่กับลูกแต่กับวิธีการที่พวกเขารับรู้ในตัวเองอีกด้วย พวกเขารู้สึกละอายที่ใครบางคนอาจจะคิดว่าเขาหรือเธอเป็นพ่อแม่ที่ไม่ดี เพื่อเรียนรู้ที่จะยอมรับลูก ๆ ของคุณด้วยความไม่สมบูรณ์แบบทั้งหมดที่พวกเขามี (ซึ่งเป็นพื้นฐานของความเชื่อใจ) ก่อนอื่นเลยก็คือพ่อแม่ต้องรู้จักยอมรับตัวเองก่อน

ถึงแม้ว่าตอนนี้พฤติกรรมของลูกของคุณอาจจะห่างไกลจากความสมบูรณ์แบบ คุณก็ไม่ควรจะคาดหวังให้พวกเขาจะเติบโตไปเป็นคนที่ทำตัวถูกต้องไปซะทุกอย่าง รักพวกเขาทั้งที่พวกเขาไม่ได้สมบูรณ์แบบ ลูกจะฟังความคิดเห็นของคุณถ้าพวกเขารู้สึกถึงการสนับสนุนจากคุณเท่านั้น

คุณทำยังไงเมื่อลูกชายหรือลูกสาวของคุณเพิกเฉยต่อสิ่งที่คุณพูดกับเขาหรือปิดประตูแรง ๆ ใส่หน้าของคุณ แล้วพ่อแม่ของคุณรับมือกับข้อขัดแย้งแบบนี้ยังไงเมื่อคุณยังเป็นเด็กกันนะ

ชีวิตสดใส/ครอบครัว & เด็ก/9 เคล็ดลับทางจิตวิทยาที่สอนลูกให้ฟังคุณได้
แชร์บทความนี้