ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

9 ความคิดที่ตกยุคและอันตรายที่เรายังคงยัดเยียดใส่หัวลูกของเรา

เราทุกคนล้วนอยากให้ลูกของเราโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุขและประสบความสำเร็จ เราจึงใช้เทคนิคในการอบรมที่เชื่อว่าจะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายนี้ได้ เราสอนลูกของเราให้เชื่อฟังผู้ใหญ่และสนใจแต่เรื่องการเรียน แต่ไม่เคยคิดเลยว่าบทเรียนพวกนั้นอาจจะนำมาซึ่งความเสียหายมากกว่าสิ่งดี ๆ ได้ในอนาคต แนวคิดที่เป็นที่นิยมและแพร่หลายไม่ได้ให้ประโยชน์กับคนยุคใหม่อีกต่อไปแล้ว และอะไรจะเกิดขึ้นในอีก 10-20 ปีข้างหน้า ?

ชีวิตสดใสมั่นใจว่าปัญหาในยุคใหม่ต้องการวิธีการแก้ปัญหาแบบยุคใหม่เช่นกัน เราจึงได้รวบรวมแนวคิดที่ตกยุคที่พ่อแม่ควรจะหยุดยัดใส่สมองของลูกได้แล้ว ลองจินตนาการดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าเรายังคงทำตามแนวคิดเหล่านี้ และเราได้มีคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ให้ด้วย

1. “ลูกของฉันจะต้องได้แต่สิ่งที่ดีที่สุดเท่านั้น”

การเลี้ยงลูกที่เอาแต่ใจเป็นเรื่องที่ง่าย เฟร็ดดริก นูแมน (Fredric Neuman) แพทย์และผู้อำนวยการของศูนย์บำบัดความวิตกกังวลและความหวาดวิตก เชื่อว่าลักษณะเฉพาะของเด็กที่เอาแต่ใจคือการไม่เต็มใจที่จะยอมรับความต้องการของคนอื่น “เด็กต้องการสิ่งที่พวกเขาต้องการ ในเวลาที่พวกเขาต้องการ” เมื่อพ่อแม่ตามใจลูกมากเกินไปก็จะสร้างความลำบากให้กับตัวของพวกเขาเอง เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่เด็กเหล่านี้จะกลายเป็นศัตรูของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการติดยา, การขาดความรับผิดชอบและมีทักษะการเข้าสังคมที่แย่, การเห็นแก่ตัวและใช้คนอื่นเพื่อประโยชน์ของตัวเอง ซึ่งทำให้คนเหล่านี้ไม่มีความสุข

วิธีการที่ดีที่สุดคือการตั้งขอบเขต, กำหนดหน้าที่ของลูก, ใส่ใจกับนิสัยและพฤติกรรมของพวกเขา และไม่ทำให้พวกเขาแสดงความไม่ให้เกียรติต่อพ่อแม่หรือคนอื่น นอกจากนั้น มันยังเป็นประโยชน์ที่จะสอนลูกให้เห็นคุณค่าในการทำงาน และสอนให้พวกเขาเห็นคุณค่าของเงิน ตัวอย่างเช่น พ่อแม่อาจจะช่วยลูกหางานพาร์ทไทม์งานแรก

2. “ลูกควรจะฟังผู้ใหญ่เสมอ”

พ่อแม่มักจะฝันถึงการที่ทำให้ลูกฟังพวกเขาอยู่เสมอ แต่พวกเขาไม่ได้คิดว่าการเชื่อฟังและการทำตามกฎอยู่เรื่อย ๆ จะส่งผลร้ายต่ออนาคตของลูก ลอว์ร่า มาร์คัม (Laura Markham) นักจิตวิทยาและผู้เขียนหนังสือพีซฟูล แพเรนท์ แฮปปี้ คิดส์ มั่นใจว่าเด็กที่เชื่อฟังจะโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่เชื่อฟัง

ผู้ใหญ่เหล่านี้มีโอกาสน้อยกว่าที่จะยืนหยัดเพื่อตัวเอง และมีแนวโน้มว่าจะตกเป็นเหยื่อของคนที่ชอบบังคับ และคนที่ไม่ซื่อสัตย์ พวกเขาจะยังคงทำตามคำสั่งโดยไม่ถามคำถามใด ๆ และไม่รับผิดชอบต่อการกระทำของพวกเขาด้วย นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมมันจึงสำคัญ ที่จะสอนให้ลูกของคุณรู้จักพูดว่า “ไม่” และแสดงความคิดเห็นของตัวเอง

3. “การได้ ‘เกรดเอ’ ในโรงเรียนเป็นเรื่องที่ดี ส่วนการได้ ‘เกรดซี’ เป็นเรื่องที่แย่”

วิธีการที่จะทำให้ลูกของคุณเป็นทุกข์จากการกังวลแน่ ๆ ก็คือการยัดเยียดแนวคิดที่ว่าลูกจะต้องเป็น “นักเรียนที่ได้เอทุกตัว” สิ่งที่ดีที่สุดที่พ่อแม่ทำให้กับลูกของพวกเขาได้ก็คือ การอธิบายว่าความล้มเหลวไม่ได้ส่งผลต่อความสัมพันธ์ของพวกเขาแม้แต่นิดเดียว และพ่อแม่ก็จะยังรับฟังและรักลูกไม่ว่าจะในกรณีใดก็ตาม

ดร.สเตฟานี โอเลรี่ (Dr. Stephanie O’Leary) นักจิตวิทยาคลินิกเชื่อว่าความล้มเหลวอาจเป็นประโยชน์ต่อเด็กในหลายสาเหตุ มันสอนให้เด็กรู้จักรับมือกับสถานการณ์ในด้านลบ, ให้ประสบการณ์ชีวิตที่มีค่า และจะช่วยหาทางออกจากสถานการณ์ที่ยากลำบากในอนาคตโดยที่ไม่ต้องกลัวกับความล้มเหลว นี่อาจจะเป็นที่มาทั้งหมดของเรื่องราวของนักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำที่ประสบความสำเร็จ และนักเรียนที่ได้เกรดเอทุกตัวแต่ไม่พร้อมที่จะใช้ชีวิตจริง เด็กกลุ่มแรกพร้อมที่จะเอาชนะทุก ๆ ความยากลำบากและพร้อมสำหรับความท้าทาย แต่เด็กกลุ่มหลังมีแนวโน้มที่จะไม่พยายามเพราะกลัวความล้มเหลว

4. “อย่าต่อสู้และอย่าโต้ตอบ”

คนเราควรจะรู้จักการยืนหยัดเพื่อตัวเอง ถ้าพ่อแม่พยายามจะยัดเยียดเข้าไปในหัวของลูกว่าไม่ว่าในสถานการณ์ใดก็ตาม พวกเขาไม่ควรจะทำร้ายคนอื่น เด็กก็จะทำได้แค่เงียบและทุกข์ทรมานจากการโดนกลั่นแกล้ง โดยที่ไม่พูดอะไรออกมา พวกเขาจะเอาตัวรอดในสภาพแวดล้อมที่ต้องแข่งขันในอนาคตไม่ได้

ถึงอย่างนั้น มันก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะสอนให้ลูกทะเลาะกับทุกคนที่พวกเขามีข้อขัดแย้งด้วย ถ้าอย่างนั้นแล้วพวกเขาต้องรับมือกับคนที่ชอบแกล้งได้ยังไงล่ะ ? ต้องเข้าไปร่วมวงทะเลาะกับพวกเขา หรือแค่ปกป้องตัวเองด้วยคำพูด ? คำถามนี้มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง และนักจิตวิทยาก็ได้ข้อสรุปว่าเด็กควรจะรู้ว่าพวกเขามีสิทธิ์ที่จะปกป้องตัวเอง และถ้าพ่อแม่สอนให้ลูกยืนหยัดเพื่อตัวเอง ก็เหมือนกับว่าพวกเขาได้ให้ของขวัญที่มีค่าตลอดชีวิตกับลูก

5. “ลูกควรโฟกัสแค่เรื่องการเรียนและแม่จะทำทุกอย่างที่เหลือให้ลูกเอง”

พ่อแม่ไม่ควรจะบอกลูกให้โฟกัสกับแค่งานหลักงานเดียว และพยายามที่จะแก้ปัญหาที่เหลือให้กับพวกเขา ทุกคนควรจะพัฒนาทักษะในหลากหลายด้าน และรับผิดชอบกับพื้นที่ทั้งหมดของชีวิตของพวกเขาให้ได้ แต่ทักษะเหล่านี้มักจะมาพร้อมกับประสบการณ์ ซึ่งเด็กที่ถูกเลี้ยงดูมาด้วยความเอาใจใส่ที่มากเกินไปจะไม่มีทักษะนี้

มันจะแย่มากขึ้นเมื่อพ่อแม่พยายามที่จะปกป้องลูกจากปัญหาทั้งหมดของพวกเขาเอง เด็กพวกนี้มักจะทำตัวเหมือนเป็นเด็กแบเบาะและมีนิสัยที่ไม่มีความรับผิดชอบเมื่อพวกเขาโตขึ้น

6. “ลูกควรจะเข้ามหาวิทยาลัยทันทีหลังจากเรียนจบ”

ถ้าลูกไม่รู้ว่าพวกเขาอยากจะเป็นอะไร พวกเขามีแนวโน้มที่จะเลือกตัวเลือกที่พ่อแม่แนะนำ ตัวเลือกบางอย่างอาจจะกลายเป็นข้อผิดพลาดครั้งใหญ่ที่ลูกจะเสียใจกับมัน เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น พ่อแม่ไม่ควรจะกดดันเด็กวัยรุ่นมากเกินไปและให้โอกาสพวกเขาได้วางแผนชีวิตด้วยตัวเอง

สำหรับเหตุผลนั้น ในหลาย ๆ ประเทศ เด็กวัยรุ่นมักจะเลือกที่จะใช้แก็ปเยียร์หรือการพักในช่วงเวลาสั้น ๆ (ประมาณ 1 ปี) ระหว่างการเรียนจบจากโรงเรียนและการเข้ามหาวิทยาลัย ระหว่างช่วงเวลานี้เด็กวัยรุ่นอาจจะได้ทำงาน, หาทุนหรือลงเรียนคอร์สสั้น ๆ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือพวกเขาจะได้ใช้เวลาและวางแผนสำหรับอนาคตของตัวเอง

7. “วุฒิการศึกษาเท่านั้นที่เป็นสิ่งสำคัญ”

แน่นอนว่าการศึกษาที่สูงเป็นสิ่งสำคัญเมื่อเราพูดถึงงานอย่างนักออกแบบอากาศยาน หรือวิศวกรโยธา แต่ไม่ได้หมายความว่ามันจะมีความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่ขนาดนั้นในเรื่องเงิน มันขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศด้วย มูลค่าของอาชีพจริง ๆ แล้วขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด, อันดับของมหาวิทยาลัย และความสามารถของตัวนักเรียนเองด้วย ตัวอย่างเช่น ในขณะที่แพทย์อยู่ในอันดับต้น ๆ ของงานที่มีรายได้สูงสุดในสหรัฐอเมริกา ในประเทศอื่นอาจจะแตกต่างออกไป

มันยังมีแนวโน้มที่น่าแปลกใจอีกด้วย เมื่อในอุตสาหกรรมที่มีเงินเดือนสูง (อย่างด้านความงาม, ไอที และด้านการผลิตหนัง) ซึ่งวุฒิการศึกษาเป็นสิ่งที่สำคัญน้อยกว่าทักษะและประสบการณ์ที่แต่ละคนมี นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ, มืออาชีพด้านความงามและศิลปินหลาย ๆ คนจึงไม่มีวุฒิการศึกษา

8. “การทำงานพาร์ทไทม์จะทำให้ลูกไม่สนใจเรียน การโฟกัสที่การเรียนอย่างเดียวนั้นดีกว่า”

ในขณะที่การเรียนจบเกียรตินิยมอาจจะไม่ใช่เรื่องจำเป็น แต่การทำงานพาร์ทไทม์อาจจะนำประสบการณ์ที่มีค่า, คอนเนคชั่นต่าง ๆ และบางทีอาจจะกำหนดอนาคตของลูกได้ เมื่อพวกเขาเริ่มทำงานตั้งแต่เด็ก พวกเขาจะได้เรียนรู้ถึงเรื่องของเดดไลน์, รายการสิ่งที่ต้องทำ และได้รับฟีดแบคจากหัวหน้างานของพวกเขา ในปัจจุบันนี้ผู้จ้างงานเข้าใจดีถึงคุณค่าของงานพาร์ทไทม์ ดังนั้นมันจึงดูดีในประวัติการทำงานของคุณ และช่วยให้เด็กจบใหม่โดดเด่นจากผู้สมัครคนอื่น ๆ

ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า 65% ของนักเรียนทุกวันนี้จะได้ทำงานในฟีลด์ที่ยังไม่เกิดขึ้นในตอนนี้ นั่นเป็นสาเหตุว่าไม่ใช่แค่ความรู้เฉพาะทางเท่านั้นที่เป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ทักษะในการสื่อสาร, การคิดวิเคราะห์และการพึ่งพาตัวเองก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน

9. “คนอื่นจะตัดสินใจให้เราเอง”

บางคนชอบที่จะรอให้มีคนตัดสินใจแทน และพวกเขามักจะสอนให้ลูกไม่โดดเด่น, ไม่พูดมากเกินไป และไม่ทำหน้าที่ของคนอื่น แต่สิ่งนี้จะทำให้เกิดอะไรขึ้นได้บ้างล่ะ ? เด็กเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะโตขึ้นมาแบบไม่มีความเห็นอกเห็นใจ และไม่แสดงออกหรือยืนหยัดเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ไม่ใช่แค่เรื่องส่วนบุคคลเท่านั้น แต่มันยังคงเกี่ยวกับการเห็นแก่คนอื่นอย่างบริสุทธิ์ใจ เมื่อผู้คนไม่รู้สึกเฉยเมยกับปัญหาที่เกิดขึ้น

คำว่า “มันไม่ได้เกี่ยวอะไรกับฉันนี่” ไม่ได้ฟังดูดีเมื่อมีใครพูดเลย มันดีกว่าที่จะสอนให้ลูกรู้จักความแตกต่างของโลก, การเมือง ระบบสังคม, สภาพแวดล้อมและความงามของธรรมชาติ ยิ่งเราสร้างคนที่มีแรงบันดาลใจ, มีความหลงใหลและมีจิตสำนึกมากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งได้เห็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์, โครงการทางสังคม และความคิดริเริ่มทางนิเวศวิทยาที่เราอาศัยอยู่มากขึ้นเท่านั้น และด้วยสิ่งนี้โลกก็จะกลายเป็นสถานที่ที่น่าอยู่มากขึ้น

มีแนวคิดที่น่าเบื่อและเป็นอันตรายอะไรบ้างไหมที่ไม่ได้อยู่ในลิสต์ของเรา ?

แชร์บทความนี้