ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

คุณแม่คนนี้ใช้ “มุมสงบใจ” กับลูกและมันได้ผลมากกว่าการใช้มุมสำนึกผิดหรือการไทม์เอาท์มาก

การให้เด็กหันหน้าเข้ามุมเพื่อสำนึกผิดหรือวิธีการไทม์เอาท์อาจจะเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมานานในหมู่นักจิตวิทยาเด็ก ขณะที่บางคนบอกว่ามันอาจจะเป็นวิธีควบคุมให้เด็กมีวินัยที่ไม่ได้ผล บางคนก็บอกว่ามันทำงานได้ดีและทำให้เด็ก ๆ มีสุขภาวะที่ดีและยังสามารถช่วยเรื่องสมาธิสั้นได้ด้วยเมื่อพ่อแม่ใช้วิธีนี้อย่างถูกต้อง แต่นิกกิ มัลเลน ครูซ (Nikki Mullen Cruz) คุณแม่ผู้สร้างสรรค์จากในติ๊กตอก อาจจะได้สร้างสิ่งแวดล้อมทางเลือกที่สมบูรณ์แบบในชื่อว่า “มุมสงบใจ” ขึ้นมาได้แล้วล่ะ

ชีวิตสดใสอยากจะแบ่งปันแนวคิดอันชาญฉลาดของผู้หญิงคนนี้กับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ และหวังว่ามันจะเป็นแรงบันดาลใจให้คุณเอาเทคนิคนี้ไปใช้ในบ้านดู

การใช้มุมสำนึกผิดแบบเดิม ๆ ไม่ได้ผลแล้ว

เป็นความจริงที่ว่าการกักบริเวณมันได้ผลก็ต่อเมื่อพ่อแม่รู้วิธีใช้มันเท่านั้น—มันจะใช้ไม่ได้ผลเมื่อการลงโทษมีพื้นฐานมาจากความกลัว บางครั้ง แม่และพ่อจะต้องตั้งจุดประสงค์ของมันใหม่หมด และนั่นก็คือสิ่งที่นิกกิทำ เธอใช้ชื่อผู้ใช้ว่า “Maartemami” และเธอบอกว่า “มุมสำนึกผิด” มันไม่ได้ผลกับลูกชายของเธอ เธอรู้สึกไม่สบายใจที่ปล่อยให้ลูกของเธอนั่งอยู่คนเดียวกับอารมณ์ที่น่ากลัวขนาดใหญ่

“มุมสงบใจ”

สิ่งที่เธอต้องการจริง ๆ คือสถานที่ปลอดภัยที่จะทำให้ลูกของเธออยู่ในวินัยและไม่ใช่แค่สถานที่สำหรับการลงโทษที่ว่างเปล่าได้ นั่นเป็นเหตุให้เธอสร้างสถานที่เล็ก ๆ แต่ยอดเยี่ยมเอาไว้ที่ด้านหนึ่งของโซฟา และเรียกมันว่า “มุมสงบใจ” ในที่แห่งนี้ ลูกชายของเธอจะทำให้ตัวเองสงบลงได้และ “จัดการความรู้สึกได้ในวิธีดีต่อจิตใจ” ด้วยสีอ่อน ๆ และพรมนุ่ม ๆ นี่กลายเป็นจุดที่จะใช้สำนึกตนและมีความสงบสุขได้ ไม่ใช่การทรมาน

ผลที่ตามมาในแบบใหม่ ๆ

แนวทางของนิกกิได้ให้นิยามใหม่กับการคุมประพฤติเด็ก ๆ เพราะการเข้ามุมสำนึกผิดมันผลลัพธ์ของพฤติกรรมแย่ ๆ อีกต่อไปแล้ว เด็กจะได้หายใจ ได้คิดทบทวน และทำสมาธิได้ขณะที่กำลังเปลี่ยนผ่านจากสภาวะที่กำลังโกรธและหงุดหงิดใจไปสู่ความผ่อนคลายและคิดได้ในที่สุด และจากนั้น เมื่อเด็กพร้อมและสงบลงแล้ว ผลที่ตามมาก็จะมา นิกกิยกตัวอย่างว่า บางทีก็เป็นการงดเวลาใช้เทคโนโลยี ขอให้เขาทำงานบ้านเพิ่มเติม หรือห้ามเล่นของเล่นพิเศษที่เขาชอบเล่น

อุปกรณ์สำหรับประสาทสัมผัสทั้งห้า

หนึ่งในส่วนที่ดีที่สุดของ “มุมสงบใจ” ของคุณแม่คนนี้ คือตะกร้าเครื่องมือในนั้น ด้วยของเหล่านี้ ลูกของเธอจะได้มีประสบการณ์กับทั้งห้าผัสสะ รายการมีดังนี้: ของเล่นที่บีบได้ (การสัมผัส) ลูกบอลพลาสม่า (การสัมผัสและการมองเห็น) หลอดไฟเปลี่ยนสีได้ (การมองเห็น) ต้นไม้ (การดมกลิ่น การมองเห็น การสัมผัส) หมากฝรั่ง (รสชาติ) เอสเซนเชียลออยล์กับบาล์ม (การสัมผัสและการดมกลิ่น) เครื่องเสียงไร้สายและของเล่นมีเสียงกุ๊งกิ๊ง (การฟังเสียง) และแน่นอน โปสเตอร์บางรูปที่ทำให้เขาจำวิธีใช้พื้นที่ในแบบที่ผ่อนคลายและได้ประสิทธิภาพได้

แนวทางจากความไม่เห็นด้วยกับมุมสำนึกผิด

แนวคิดของเธอเริ่มจะได้รับความนิยมแล้ว เห็นได้ชัดจากในคอมเมนต์ที่เธอเป็นแรงบันดาลใจให้คนมากมายที่ดูวิดีโอที่ใช้วิธีการเดียวกันในบ้านของพวกเขา มันเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการสั่งให้ลูกของคุณนั่งจ้องกำแพงในมุมมืด ๆ และเราหวังว่าพ่อแม่หลายคนจะได้รับแรงบันดาลใจจากเธอมากขึ้น

คุณคิดว่าเทคนิคนี้จะใช้กับลูกของคุณได้ไหม ? หรือถ้าคุณไม่มีลูก คุณคิดว่าวิธีนี้จะได้ผลกับคนตอนที่คุณเป็นเด็กไหม ?

เครดิตภาพพรีวิว maartemami / TikTok
ชีวิตสดใส/ครอบครัว & เด็ก/คุณแม่คนนี้ใช้ “มุมสงบใจ” กับลูกและมันได้ผลมากกว่าการใช้มุมสำนึกผิดหรือการไทม์เอาท์มาก
แชร์บทความนี้