ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

แม่ผู้ให้กำเนิดของลูกสาวฉันอยากพบเธอ แต่ฉันไม่อนุญาต

การรับเลี้ยงลูกบุญธรรมทำให้ผู้ใหญ่หลายคนบรรลุความฝันในการเป็นพ่อแม่ได้ และเด็ก ๆ ก็หาครอบครัวที่ดีเพื่อดูแลและให้ความรักกับพวกเขาได้ ตัวเอกของเรื่องในวันนี้และสามีของเธออยากมีลูกอีกคนมานานแล้ว แต่การตั้งครรภ์ที่รอคอยมานานก็ไม่ได้เกิดขึ้น ชีวิตต้องพลิกผันหลายครั้งและบางครั้งความปรารถนาของเราก็เป็นจริงด้วยวิธีที่ไม่คาดคิดหรือไม่ใช่วิธีแบบดั้งเดิม นั่นคือเหตุผลที่พวกเขากลายเป็นพ่อแม่ของหลานสาว แม้ว่าตอนนี้พวกเขาจะต้องเผชิญกับภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกครั้งใหญ่ของครอบครัว

ที่ชีวิตสดใส เราได้ทำค้นคว้าและอยากแชร์รายละเอียดที่สำคัญที่สุดที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำในกรณีแบบนี้

  • สิ่งแรกคือพยายามพูดคุยกับทุกคนที่เกี่ยวข้องอย่างหนักแน่นว่าวัตถุประสงค์คือการทำข้อตกลงกันให้ได้ และเหนือสิ่งอื่นใดคือเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของเด็ก
  • ในทางกลับกัน เมื่ออดีตลูกสะใภ้ของคุณตั้งครรภ์ ทั้งเธอและลูกชายของคุณยังเป็นวัยรุ่นและยังไม่พร้อมที่จะเป็นพ่อแม่ พวกเขาเลยตกลงให้รับเลี้ยงลูกบุญธรรม แต่ความเป็นจริงในปัจจุบันนั้นแตกต่างออกไป ตอนนี้พวกเขาเป็นผู้ใหญ่แล้วและอาจมองสถานการณ์ทั้งหมดในแบบที่ต่างออกไป การให้พวกเขาทำเรื่องระยะยาวที่นอกเหนือจากการ “เยี่ยม” หรือ “พบปะ” เด็กจะเป็นประโยชน์
  • เราเข้าใจความกลัวของคุณที่จะบอกลูกสาวของคุณว่าเธอเป็นลูกบุญธรรม เรารู้ว่าคุณต้องการปกป้องเธอ แต่เมื่อพิจารณาว่ามีคนจำนวนมากเกี่ยวข้อง คุณควรพูดคุยกับเธอเกี่ยวกับเรื่องนี้ก่อนใครอื่น ถ้าเธอรู้จากคนอื่น ผลที่ตามมาอาจแย่กว่านั้นและอาจทำให้เธอเกิดความรู้สึกด้านลบทั้งต่อพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดและคุณ
  • แม้ว่าเราจะไม่รู้สาเหตุของปัญหาทางอารมณ์ในปัจจุบันของลูกสาวของคุณ แต่เราสันนิษฐานได้ว่าไม่ใช่เรื่องแปลกที่เด็กที่เป็นลูกบุญธรรมจะมีอาการบอบช้ำบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการถูกตัดขาดจากแม่ แม้ว่าพวกเขาจะถูกรับเลี้ยงตั้งแต่ยังเป็นทารกก็ตาม ในช่วงเก้าเดือนที่อยู่ในครรภ์มารดา เด็ก ๆ จะเริ่มเชื่อมโยงและผูกพันกับเธอแล้ว การพลัดพรากตั้งแต่แรกเกิดทิ้งรอยแผลเป็นทางอารมณ์ไว้ได้ การตระหนักถึงสถานการณ์และพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้อย่างอิสระจะช่วยให้เด็กผ่านช่วงเวลานั้นไปได้
  • แม้ว่าลูกสาวของคุณอาจมีรูปลักษณ์ภายนอกคล้ายกับคุณที่เป็นพ่อแม่บุญธรรมของเธอ เนื่องจากเธอเป็นลูกสาวแท้ ๆ ของลูกชายคุณเอง วิธีนี้อาจไม่เพียงพอที่จะทำให้เธอไม่สงสัยภายในใจว่ามีอะไรแปลก ๆ เกิดขึ้น บางทีอาจเป็นความแตกต่างด้านอายุระหว่างคุณกับพ่อแม่คนอื่น ๆ หรือแค่ได้ยินความคิดเห็นจากเด็กคนอื่น ๆ หรือคนใกล้ชิดอาจทำให้เธอสับสนและถามคำถามมากมาย

เพื่อให้เด็กเข้าใจและยอมรับการเป็นลูกบุญธรรมได้อย่างเป็นธรรมชาติ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เริ่มพูดคุยกับพวกเขาเมื่ออายุประมาณ 5 หรือ 6 ขวบ หลังจากนั้นเมื่อมีคำถามเกิดขึ้น ก็ควรตอบพวกเขาอย่างตรงไปตรงมาและให้คำตอบที่เหมาะสมกับวัยเสมอ นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมการที่เด็ก ๆ ได้รู้เกี่ยวกับสถานการณ์ถึงสำคัญและเป็นประโยชน์

  • เด็กมีสิทธิที่จะรับรู้เรื่องราวชีวิตของพวกเขา การซ่อนสิ่งนี้จากพวกเขาอาจทำให้พวกเขาสูญเสียส่วนหนึ่งของตัวตนและข้อมูลทางพันธุกรรม สังคม และชาติพันธุ์เกี่ยวกับตัวพวกเขาเอง
  • เด็ก ๆ ต้องรู้สึกว่าตนมีครอบครัวที่ตนไว้ใจและพึ่งพาได้ ถ้าครอบครัวของพวกเขาโกหกหรือปกปิดข้อมูลก็อาจทำให้พวกเขารู้สึกโดดเดี่ยวและไม่เข้าใจ
  • การพูดถึงเรื่องนี้อย่างเป็นธรรมชาติเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาทางอารมณ์ของพวกเขา พวกเขาต้องเข้าใจและแสดงออกถึงสิ่งที่พวกเขาคิดและรู้สึกได้ในขณะที่ได้รับการเอาใจใส่และความรักจากผู้คนที่ใกล้ชิดกับพวกเขามากที่สุด

คุณคิดยังไงกับสถานการณ์นี้ ? คุณจะแนะนำอะไรกับแม่คนนี้ ?

เครดิตภาพพรีวิว SilentPut6722 / Reddit
แชร์บทความนี้