ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

6 เหตุผลว่าทำไมการ “ให้อภัยและลืมมันไปซะ” จึงไม่ใช่สำหรับทุกคน แถมร่างกายเรายังบอกได้ด้วย

วิทยาศาสตร์บอกว่าคนเกิดมามีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนกันในเรื่องของความสามารถในการให้อภัย มีโครงสร้างของสมองที่แตกต่างออกไปสำหรับมนุษย์ที่สามารถทิ้งเรื่องต่าง ๆ ไว้ข้างหลังแล้วไปต่อกับคนที่ปล่อยวางอะไรได้ยาก ยิ่งไปกว่านั้น การให้อภัยและการลืมมันยังเป็นเรื่องท้าทายสำหรับเราบางคนด้วย และเราก็สามารถอธิบายได้ว่าทำไม

ชีวิตสดใสต้องการที่จะส่งเสริมสุขภาพจิตและการรักตัวเองเสมอ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงได้รวบรวมรายการในการเอาตัวเองมาก่อนในช่วงเวลาที่มีการต่อสู้ทางอารมณ์ระหว่างคุณกับคนสำคัญของคุณ

1. มันเพิ่มความดันโลหิตของคุณ

ในขณะที่มันเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องรวบรวมสติสตังให้ได้และให้อภัยเสีย มันก็เลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ที่จะไม่ให้เราคิดมากกับสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น การคิดมากนำไปสู่ช่วงเวลาอันตึงเครียดที่สามารถทำให้เรามีความดันโลหิตสูงได้

ร่างกายของเราจะผลิตฮอร์โมนทุกเมื่อที่เราเครียด นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมหัวใจเราถึงเต้นแรง ในขณะที่หลอดเลือดของเราก็จะบีบตัวในกระบวนการนั้นด้วย

2. มันกระตุ้นให้นึกถึงความทรงจำแย่ ๆ

บางครั้ง มันจะดีกว่าถ้าคุณสร้างขอบเขตของคุณเอาไว้ก่อนที่จะเยียวยาตัวเองอย่างเต็มที่ผ่านการให้อภัย นี่เป็นสิ่งที่ขอแนะนำอย่างมากสำหรับคนที่เพิ่งจะผ่านประสบการณ์ที่รุนแรงมาก ที่อาจจะทำให้ร่างกายและสุขภาพจิตของพวกเขาอยู่ในความเสี่ยงได้

3. มันทำให้เกิดความอึดอัด

การบังคับให้ตัวเองให้อภัยและลืมเรื่องอันเจ็บปวดที่เกิดขึ้นไปมันอาจจะทำให้คุณคิดว่าสิ่งที่คุณรู้สึกอยู่ภายในเป็นสิ่งที่ผิด มันเป็นสิ่งที่ยิ่งใช้การไม่ได้และน่าอึดอัดเมื่อประสบการณ์นั้นเป็นร่องรอยอันเจ็บปวด และเป็นไปไม่ได้ที่จะปล่อยวางได้อย่างรวดเร็ว

4. มันทำให้ทักษะการเข้าสังคมแย่ลง

แม้คนมักจะไม่ค่อยเห็นชอบด้วย แต่การโกรธตอนที่กำลังรับมือกับการให้อภัยใครสักคนมันเป็นเรื่องที่ไม่เป็นไรเลย อันที่จริง มันทำให้คุณสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ด้วย แต่ความโกรธที่มากเกินไปก็อาจจะทำให้คุณติดต่อกับเพื่อนฝูงหรือคนรู้จักได้น้อยลงในตลอดเวลาที่ผ่านไปเรื่อย ๆ

5. มันทำให้เกิดความรู้สึกผิด

การใคร่ครวญ เป็นพฤติกรรมของการคิดถึงความผิดพลาดในอดีตซ้ำ ๆ ในหัวของเรา มันเป็นพฤติกรรมการรับมือที่ไม่ดีต่อตัวเรา ซึ่งเรามักจะทำเวลาที่เราโทษตัวเองในเรื่องเข้าใจผิดต่าง ๆ ในกรณีนี้ การคิดมากเกินไปในเรื่องการให้อภัยใครสักคนหรือไม่มันสามารถทำให้เราจมอยู่กับความแคลงใจของเรามากเกินไป ทำให้มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าหรือโรควิตกกังวลได้

6. มันทำให้ความมั่นใจลดลง

การบังคับให้ตัวเองให้อภัยและลืมความทรงจำแย่ ๆ ไปอาจจะทำให้คุณตั้งคำถามกับความสามารถในการปฏิสัมพันธ์กับสังคมและการสื่อสารกับผู้คนของคุณได้ และมันจะทำให้ความมั่นใจของคุณลดลงอย่างช้า ๆ ยิ่งไปกว่านั้น การยอมรับและการยอมตามสถานการณ์ไป โดยเฉพาะเมื่อมันไม่ใช่ความผิดของคุณ ก็อาจจะทำให้มันแย่ลงได้ด้วย

โบนัส: มันอาจจะแตกต่างกันสำหรับทุกคนและเป็นเรื่องยากสำหรับใครบางคน แต่การให้อภัยและการลืมมันไปซะถือเป็นการเผด็จศึกขึ้นสุดเลยล่ะ

ทั้งหมดนี้เป็นความจริง แต่สุดท้ายร่างกายของคุณก็จะยอมแพ้เมื่อคุณยึดติดอยู่กับอดีตนานจนเกินไป ในขณะที่สุขภาพทางอารมณ์ของคุณจะได้รับการเยียวยาเมื่อคุณให้อภัยและลืมความผิดพลาดในอดีตไปเสีย สุขภาวะทางร่างกายและทางจิตของคุณก็จะดีขึ้นด้วยเช่นกัน

ช่วงเวลาไหนจากทั้งหมดนี้ที่คุณเคยประสบขณะที่กำลังดามใจที่แหลกสลายอยู่ ? ข้อไหนที่คุณแนะนำมากที่สุด ?

ชีวิตสดใส/จิตวิทยา/6 เหตุผลว่าทำไมการ “ให้อภัยและลืมมันไปซะ” จึงไม่ใช่สำหรับทุกคน แถมร่างกายเรายังบอกได้ด้วย
แชร์บทความนี้