ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

รูปแบบการเลี้ยงดูของพ่อแม่ส่งผลต่อความน่าคบหาของลูกๆ ในบรรดาเพื่อนๆ ของพวกเขา และนี่คือเหตุผลว่าทำไม

พ่อแม่ที่ดีแต่ละคนพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้แน่ใจว่าลูกๆ ของพวกเขาเติบโตขึ้นอย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จ กลับกลายเป็นว่า มิตรภาพมีบทบาทสำคัญไม่เพียงแต่ส่งผลโดยรวมของคนๆ หนึ่งเท่านั้น แต่ยังนำความพึงพอใจมาสู่ชีวิตของผู้คนและยังช่วยให้พวกเขามีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นอีกด้วย

พวกเราชีวิตสดใสตัดสินใจดูว่าพ่อแม่จะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยให้ลูกๆ ของพวกเขาวางตัวได้ดีในการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

1. การได้รับความนิยมนั้นแตกต่างออกไป

เมื่อเรานึกถึงความนิยมที่โรงเรียน เรามักจะนึกถึง “เด็กเท่ เด็กเจ๋งๆ” (ประมาณเรจิน่า จอร์จ ในเรื่อง ก๊วนสาวซ่าส์วีนซะไม่มี (Mean Girls)) แต่นั่นเป็นแค่การทำตัวเหนือผู้อื่น เด็กและวัยรุ่นสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมที่เป็นอันตรายหรือทำให้ก้าวร้าวได้ นอกจากนี้ ผู้ที่หมกมุ่นอยู่กับสถานะที่เหนือคนอื่นอาจเติบโตขึ้นมาพร้อมปัญหาความสัมพันธ์

การเป็นที่นิยมอีกประเภทหนึ่งคือคนที่ทำตัวน่าคบหา นักจิตวิทยา มิทช์ พรินสไตน์ (Mitch Prinstein) กล่าวว่าเด็กๆ ที่ทำตัวน่าคบหาและคนอื่นชื่นชอบนั้นเป็นผู้นำอย่างเงียบๆ ช่วยเหลือผู้อื่น และให้ความร่วมมือในการทำงานกับผู้อื่น ความนิยมประเภทนี้ที่มีพื้นฐานมาจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ดีซึ่งจะส่งผลดีได้ในภายหลัง: การวิจัยแสดงให้เห็นว่าเด็กเหล่านี้สร้างรายได้มากขึ้นเมื่อโตขึ้น

2. นึกถึงประสบการณ์ของคุณ

พ่อแม่สามารถช่วยให้ลูกๆ ของพวกเขาทำตัวน่าคบหามากขึ้นได้เพราะลักษณะนิสัยแบบนี้พัฒนาขึ้นอย่างมากจากรูปแบบการเลี้ยงลูก อันดับแรก นึกถึงตอนที่คุณยังเรียนอยู่ หากคุณมีแผลเก่าในอดีต มันอาจจะส่งผลเสียต่อลูกของคุณ ผลการศึกษาพบว่าผู้ปกครองที่ช่วงวัยรุ่นวัยเรียนนั้นถูกเกลียดชังจะไม่สนใจความสัมพันธ์ของลูกๆ มากนัก และจะไม่มีการเข้าไปช่วยเหลือเด็กๆ เมื่อถึงยามจำเป็น

สิ่งที่คุณควรทำ: วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคุณในวัยเด็กและวัยรุ่น หากคุณรู้สึกเหงาหรือวิตกกังวล ทำให้แน่ใจว่าคุณได้จัดการกับความรู้สึกเหล่านั้นแล้ว เพื่อไม่ให้มันมาเป็นอุปสรรคต่อทัศนคติที่คุณมีต่อมิตรภาพของลูกคุณ

3. ระมัดระวังคำวิจารณ์

การวิพากษ์วิจารณ์ลูกมากเกินไปอาจทำให้พวกเขาก้าวร้าวมากขึ้นและทำให้เกิดปัญหาด้านพฤติกรรม สิ่งนี้ยังทำให้เด็กๆ ไม่เป็นที่น่าคบหาของเพื่อนๆ เพราะมันส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของพวกเขาในทางที่ไม่ดี เนื่องจากคุณสมบัติต่างๆ เช่น ความมีเมตตาและการให้ความร่วมมือกับผู้อื่นนั้นถูกเลือกมาจากแบบอย่าง มันจึงเป็นความคิดที่ดีที่จะแสดงรูปแบบเหล่านี้ในวิธีที่คุณปฏิบัติต่อผู้อื่น

สิ่งที่คุณควรทำ: พยายามจัดการปฏิกิริยาของคุณให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้เมื่อลูกของคุณอยู่ใกล้ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงความโกรธไม่เพียงแต่พวกเขาเท่านั้นแต่รวมถึงคนอื่นๆ ด้วย

4. การควบคุมอารมณ์เป็นสิ่งสำคัญ

เพื่อให้มิตรภาพนั้นมีความหมายมากขึ้น เด็กควรควบคุมอารมณ์ได้ดี นั่นไม่ได้หมายถึงการพยายามห้ามปรามพวกเขา แต่จริงๆ แล้วคือให้เด็กๆ “แสดงออกมา” เมื่อพวกเขาต้องการแสดงบางอย่างแต่ไม่สามารถทำได้ การเอาใจใส่มีความรู้สึกร่วมนั้นมีผลอย่างมาก วิธีนี้จะทำให้เด็กเรียนรู้ว่าถึงแม้จะรู้สึกไม่ดีแต่มันก็ไม่ได้อันตรายอะไร เพราะพ่อแม่จะคอยรับฟังและช่วยเหลือเสมอ

สิ่งที่คุณควรทำ: พยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้ลูกของคุณรู้สึกว่าถูกรับฟัง และช่วยให้พวกเขาจัดการกับอารมณ์ที่พวกเขาประสบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอารมณ์ด้านลบ

5. การมีส่วนร่วมสักเล็กน้อยนั้นไม่เป็นไร

การศึกษาพบว่าการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในมิตรภาพของเด็กๆ มีทั้งผลดีและผลเสีย ตัวอย่างเช่น เป็นความคิดที่ดีที่จะจัดวันเล่นให้กับเด็กที่ยังอายุน้อยอยู่ แต่เมื่อโตขึ้น จะเป็นการดีกว่าที่จะให้พวกเขาจัดการความสัมพันธ์ของพวกเขาเอง โดยรวมแล้ว การวิจัยได้พิสูจน์แล้วว่าการควบคุมจิตใจมากเกินไปอาจทำลายมิตรภาพของเด็กๆ ได้

สิ่งที่คุณควรทำ: ช่วยให้ลูกๆ ของคุณรู้จักเพื่อนมากขึ้น แต่พยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดสรรเรื่องต่างๆ ให้น้อยลงและหากพวกเขาโตแล้วก็ให้เข้าไปจัดการตอนที่จำเป็นจะดีกว่า

6. สอนให้พวกเขารักตัวเองก่อน

จากการวิจัยพบว่าการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กมีบทบาทสำคัญในเรื่องความเป็นที่นิยมของพวกเขา นักจิตวิทยา มิทช์ พรินสไตน์ (Mitch Prinstein) เชื่อว่าเราจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีตอบสนองต่อสิ่งเลวร้ายที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราและไม่โทษตัวเอง (“ฉันล้มเหลวเพราะฉันไม่ฉลาดพอ”) แต่ให้พิจารณาสถานการณ์และผลกระทบจากภายนอกด้วย (“ฉันไม่มีเวลาเตรียมตัวสอบมากพอ”)

สิ่งที่คุณควรทำ: สอนความรับผิดชอบให้ลูกๆ ของคุณ แต่จำไว้ว่าการตำหนิอยู่ตลอดนั้นทำให้การตอบสนองต่อเหตุการณ์เชิงลบได้แย่ลง

7. รูปแบบความผูกพัน

กลับมาที่ความคิดที่ว่าเด็กๆ เลียนแบบวิธีที่พวกเขาสื่อสารกับเพื่อนฝูงจากวิธีที่พ่อแม่สื่อสารกับพวกเขา รูปแบบความผูกพันจึงเข้ามามีบทบาท อ้างอิงตามนักวิจัย ผู้ปกครองควรให้ความรักความอบอุ่นกับลูกๆ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งนั่นหมายความว่าเด็กๆ จะรู้สึกมั่นใจมากพอที่จะสำรวจโลกด้วยตัวเอง แต่รู้ตลอดเวลาว่าพ่อแม่ของพวกเขาอยู่ข้างๆ คอยให้คำปรึกษาสม่ำเสมอ

สิ่งที่คุณควรทำ: เรียนรู้รูปแบบความผูกพันด้านล่างเพื่อแสดงออกอย่างถูกต้อง

โบนัส: ตรวจสอบรูปแบบความผูกพันของคุณ

  • รูปแบบความผูกพันแบบมั่นใจ การให้ความรักแบบนี้นั้นเป็นอะไรที่สมดุล พ่อแม่พร้อมที่จะยอมรับและรับฟังความต้องการของลูก และพร้อมที่จะปกป้องพวกเขาหากจำเป็น เมื่อเด็กๆ โตขึ้น พวกเขามีความภาคภูมิใจในตนเองและมีความสัมพันธ์ที่ดี
  • รูปแบบความผูกพันแบบวิตกกังวล รูปแบบประเภทนี้เกี่ยวข้องกับการดูแลที่ผิดปกติของผู้ปกครองและเป็นผลให้เด็กไม่สามารถพึ่งพาพวกเขาได้อย่างเต็มที่ การขาดการปกป้องนี้ทำให้เด็กโกรธและมีความต้องการมาก ดังนั้นพวกเขาอาจประสบกับปัญหาในเรื่องของความไว้วางใจได้
  • รูปแบบความผูกพักแบบหลีกเลี่ยงนั้นเกี่ยวข้องกับการที่ผู้ปกครองไม่สามารถปลอบประโลมเด็กเวลาที่พวกเขาต้องการได้ แต่กลับไม่สนใจความรู้สึกของลูกและปฏิเสธที่จะช่วยเหลือ ในกรณีนี้ เด็กเรียนรู้ที่จะระงับอารมณ์และพึ่งพาตนเองเท่านั้นเวลาที่มีปัญหา
  • รูปแบบความผูกพักแบบไม่มีระเบียบนั้นเกิดขึ้นได้หากพ่อแม่ตอบสนองความต้องการของเด็กไม่เพียงพอ ตัวอย่างเช่น ปฏิเสธหรือทำให้เด็กกลัวแทนที่จะช่วยเหลือพวกเขา พฤติกรรมนี้มักเกิดจากความบอบช้ำในอดีตของพ่อแม่ที่ไม่ได้รับการแก้ไข หากเด็กพัฒนาความผูกพันประเภทนี้ พวกเขาอาจก้าวร้าวหรือปฏิเสธผู้ปกครองได้

มิตรภาพของคุณเป็นอย่างไรตอนที่คุณยังเป็นเด็ก? มีอะไรเปลี่ยนแปลงในช่วงวัยรุ่นของคุณบ้าง?

ชีวิตสดใส/จิตวิทยา/รูปแบบการเลี้ยงดูของพ่อแม่ส่งผลต่อความน่าคบหาของลูกๆ ในบรรดาเพื่อนๆ ของพวกเขา และนี่คือเหตุผลว่าทำไม
แชร์บทความนี้