ชีวิตสดใส
ชีวิตสดใส

กว่า 20 สิ่งเกี่ยวกับประเทศอื่นที่นักท่องเที่ยวไม่เข้าใจ

มันมีคำกล่าวที่ว่า “เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม” เพราะงั้นเมื่อไปประเทศอื่น เราก็ควรทำตามกฎของประเทศนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างทางด้านความคิดและวัฒนธรรมอาจจะเป็นอะไรที่ค่อนข้างน่าตกใจได้ แม้แต่กับนักท่องเที่ยวที่มีประสบการณ์มากที่สุดแล้วก็ตาม และถ้าคุณไม่รู้กฎของคนท้องถิ่น อย่างน้อยที่สุดที่อาจเกิดขึ้นได้ก็คือคุณสร้างความสับสนให้กับคนในท้องถิ่น แต่สิ่งที่แย่ที่สุดคือคุณอาจจะถูกปรับหรือแม้กระทั่งจำคุกได้เลย

พวกเราที่ชีวิตสดใสไม่อยากให้วันหยุดของผู้อ่านของเราถูกทำลายโดยข้อผิดพลาดเด๋อ ๆ เพราะงั้นเราจึงตัดสินใจที่จะบอกคุณเกี่ยวกับพฤติกรรมและกฎที่แปลกที่สุดในประเทศอื่น ๆ

กฎในการขับรถและยานพาหนะ

  • รถลากในอินเดียอาจจะชาร์จเงินคุณหลายเท่า ถ้าคุณไม่พูดภาษาฮินดี และในทางตอนใต้ของอินเดีย เส้นทางและหมายเลขของรถประจำทางจะไม่ถูกเขียนเป็นภาษาอังกฤษ มันจะถูกเขียนในภาษามาลายาลัมและภาษากันนาดาเท่านั้น
  • ในบัลแกเรีย, มอนเตเนโกรและจอร์เจีย (แตกต่างจากประเทศในยุโรปตะวันออก) กฏหมายในการขับรถมักจะถูกละเมิด
  • เมื่อคุณอยู่ในบริเตนใหญ่ เตรียมตัวใช้เงินจำนวนมากสำหรับค่าขนส่งสาธารณะ ค่าเดินทางขาเดียวราคา 4.90 ปอนด์ (207 บาท)
  • ในช่วงวันสะบาโตในอิสราเอล ไม่มีขนส่งสาธารณะใด ๆ นอกจากแท็กซี่ หรือไม่อย่างนั้นคุณก็ต้องเดินเท้า
  • ในเวียดนามในชั่วโมงเร่งด่วน รถจะขึ้นมาขับบนทางเดินเท้าเหมือนกับนักปั่นจักรยานในเยอรมัน พวกเขาขับด้วยความเร็วที่สูงมากและขับผ่านฝูงชน และถ้าคุณเดินช้าพวกเขาอาจจะตะโกนใส่คุณ
  • ในประเทศไทยมันแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะหาแท็กซี่ที่มีที่นั่งเด็กด้วยและการขับรถที่นี่อาจจะไม่ปลอดภัยเท่าที่ควร

ร้านค้า

  • ในสวีเดนและประเทศในยุโรปอื่น ๆ ร้านค้าหลาย ๆ แห่งรับเฉพาะบัตรเครดิต
  • ในอินเดียไม่มีการต่อแถวอย่างเป็นเรื่องเป็นราวในร้านค้า ใครก็ตามที่แข็งแรงที่สุดและสามารถฝ่าเข้าไปได้ก็จะได้ซื้ออาหาร มันอาจจะมีคน 20-30 คนแต่คุณต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงในการรอ
  • ถ้าคุณใช้เวลานานเพื่อดูอะไรบางอย่างในร้านค้าที่เมืองไทยแล้วคุณไม่ซื้อเพราะว่าคุณไม่ชอบ เจ้าของร้านอาจจะก้าวร้าวอย่างออกหน้าออกตา แต่โดยทั่วไปแล้วผู้คนที่นั่นมีอัธยาศัยดีแต่พวกเขาอาจจะเริ่มตะโกนได้ในทันที

การบริการ

  • ในอิตาลี ค่าบริการรวมอยู่ในบิลแล้วในร้านค้าแทบทุกร้าน นักท่องเที่ยวหลายคนตกใจเมื่อได้เห็นราคาที่ต้องจ่ายเพราะว่ามันต่างจากที่พวกเขาคาดไว้ ราคาของโคเปรโต้คือราคาค่าบริการซึ่งขึ้นอยู่กับความยอดนิยมของสถานที่และสถานที่ตั้งของร้าน
  • ในยุโรปการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตอาจมีราคาแพงมาก
  • ในบางครั้งเหมือนกับว่าไม่มีคนทำงานในอุตสาหกรรมการบริการในยุโรปยกเว้นหุ่นยนต์ การต่อรองเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้และในบางครั้งมันก็ไร้สาระ ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตได้แบ่งปันเรื่องราวนี้ “เราทำการจองโดยการโอนเงินออนไลน์สำหรับสองคน แต่หนึ่งวันก่อนการออกเดินทาง มีอีกหนึ่งคนมาร่วมกับเราด้วย เราแน่ใจว่าเราจะต่อรองกับคนขับรถได้ รถประจำทาง 50 ที่นั่งได้มาถึง และมีเพียง 4 ที่นั่งที่มีคนนั่งแล้วเท่านั้น คนขับรถหยิบกระเป๋าของเราไปและไม่แม้แต่จะฟัง เราจองมาสองคนเขาก็หยิบกระเป๋าสำหรับแค่สองคนไป เราเดินทาง 130 กิโลเมตรบนรถประจำทางที่วางเปล่า”
  • ในอิตาลีการดื่มกาแฟที่โต๊ะและที่บาร์มีราคาแตกต่างกัน
  • บนถนนในเอเชียตะวันออกเชียงใต้ มีสายไฟอยู่ทุกหนทุกแห่ง นอกจากมันจะทำให้รูปภาพดูแย่แล้วมันยังเสียหายอยู่บ่อย ๆ ซึ่งทำให้คนมีปัญหากับการใช้ไฟฟ้า
  • ในอินเดีย, เนปาลและศรีลังกา เมื่อคุณโทรหาช่างประปา, ช่างไฟหรือคนงานอื่น ๆ เตรียมตัวรอพวกเขาเป็นสัปดาห์ได้เลย เพราะพวกเขาต้องออกไปซื้อน้ำซึ่งอาจใช้เวลานานกว่าจะได้รับและน้ำก๊อกในประเทศนี้เป็นอะไรที่ควรหลีกเลี่ยงที่สุด

อาหาร

  • ในฝรั่งเศสคุณซื้อได้แค่ป๊อบคอร์นแบบเย็นเท่านั้น
  • ในอิตาลี พวกเขาไม่ดื่มชา สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณจะหาได้ในร้านอาหารก็คือชาซองซึ่งมีราคา 110 บาท รู้ไว้เป็นข้อมูลว่าราคา 3 ยูโร (110 บาท) ซื้อชาได้ 2 แพ็คในซุปเปอร์มาร์เก็ต
  • มีแค่คนที่โชคดีที่สุดเท่านั้นที่จะไม่ติดเชื้อไวรัสแล้วปวดท้องในระหว่างสัปดาห์แรกในอินเดีย (ถึงแม้ว่าคุณจะทำอาหารทั้งหมดด้วยตัวเองและล้างมืออย่างถูกต้องก็ตาม) แต่หลังจากสองสามวันของความทรมาน ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของคุณก็จะฝึกตัวเองได้เป็นอย่างดีซึ่งจะไม่ล้มเหลวอีกแล้ว
  • ประเทศในเอเชียตะวันออกเชียงใต้ ผู้คนกินอาหารด้วยมือขวาและมือซ้ายใช้สำหรับ “ทำธุระในห้องน้ำ” ถ้าคุณไม่อยากถูกหัวเราะใส่ อย่าจับอาหารของคุณด้วยมือซ้าย

นิสัย, ไสยศาสตร์และกฎการสื่อสาร

  • ในประเทศไทย อินโดนีเซียและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พวกเขาถอดรองเท้าเมื่อเข้าไปในตึกอาจจะเหนื่อยหน่อยเวลาที่ต้องถอดรองเท้าทุกครั้งที่คุณเข้าไปในร้านค้าที่อยู่ในพื้นที่ท้องถิ่น
  • ในแคนาดา การร้องเรียนต่อเจ้าหน้าที่ทำให้คุณเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ เพื่อนบ้านของคุณอาจมาที่บ้านคุณ, ดื่มชากับคุณ, ทำดีกับลูกสาวของคุณและ 30 นาทีต่อมาก็มีคนกลุ่มหนึ่งมาที่หน้าประตูคุณเพราะมีคนบ่นเรื่องที่หญ้าที่ยังไม่ได้ตัดในสนามหญ้าของคุณ
  • ชาวนอร์เวย์จะไม่นั่งตรงข้ามกับคนที่เขาไม่รู้จักบนรถประจำทาง พวกเขาจะยืนบนรถแทนถึงแม้ว่ามันจะไม่สะดวกก็ตาม
  • สิ่งที่อาจสร้างความสับสนได้ก็คือการที่คนยุโรปดูเป็นมิตร ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตรายหนึ่งบอกว่า “ฉันไปเยี่ยมเพื่อนของฉันที่สวีเดนและฉันถูกดูแลราวกับเป็นราชินี สามีของเธอเป็นคนสวีเดนและเขายินดีที่จะช่วยเหลือฉันมาก เขาพาฉันขับรถเล่นรอบเมือง ถึงแม้ว่าฉันพยายามจะปฏิเสธแล้วก็ตาม เมื่อฉันกลับมาถึงบ้าน ฉันก็ต้องตกใจเพราะเพื่อนของฉันโทรมา เธอขอให้ฉันอย่ากลับไปที่นั่นอีก กลายเป็นว่าสามีของเธอรู้สึกไม่สบายใจที่ฉันใช้เวลาทั้งเดือนกับพวกเขา”
  • ในจอร์เจีย ผู้คนพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวเล็ก ๆ น้อย ๆ ตลอดเวลา บางคนเพลิดเพลินกับสิ่งนี้ แต่มันก็เป็นอะไรที่เหนื่อยมากในการใช้เวลา 15 นาทีในการพูดว่าคุณไปซุปเปอร์มาร์เก็ตยังไง
  • ในเอเชียไม่มีใครเร่งรีบ เมื่อคุณกำลังไปสนามบินสายแล้ว คนขับแท็กซี่อาจจะจอดรถและกินอาหารข้างทางเป็นเวลา 10 นาที
  • เมื่อคุณถามเส้นทางในหลาย ๆ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีนักท่องเที่ยวเยอะ ๆ พวกเขาอาจจะโกหกหรือพูดแบบอ้อมๆ ทำให้คุณสับสน อาจเป็นด้วยลักษณะทางวัฒนธรรมหรือความตั้งใจทำให้สับสนจริงๆ จากคนบางกลุ่มก็ได้
  • ขึ้นอยู่กับบริบท การใช้ศีรษะทำท่าทางเดียวกันที่ชาวอินเดียทำอาจแปลได้ว่าใช่, ไม่ใช่ และไม่รู้

กฎและการปรับ

  • ในประเทศจีนคุณจำเป็นต้องเดินผ่านเครื่องตรวจโลหะตลอดเวลาแม้กระทั่งบนถนน และโดยเฉพาะในตัวเมืองซึ่งอาจเป็นอะไรที่น่ารำคาญมาก ในประเทศสเปนคุณอาจจะต้องจ่ายค่าปรับ 500 ยูโร (18,000 บาท) ถ้าตำรวจรู้สึกว่าคุณไม่ให้ความเคารพพอ
  • รถไฟใต้ดินในเบอร์ลินถูกแบ่งออกเป็นแต่ละโซน ค่าปรับสำหรับการเข้าไปผิดโซนมีราคา 80 ยูโร (3,000 บาท) คุณซื้อตั๋วจากตู้ขายอัตโนมัติและไม่มีใครตรงนั้นให้คุณขอความช่วยเหลือ
  • รถไฟใต้ดินในเบอร์ลินถูกแบ่งออกเป็นแต่ละโซน ค่าปรับสำหรับการเข้าไปผิดโซนมีราคา 80 ยูโร (3,000 บาท) คุณซื้อตั๋วจากตู้ขายอัตโนมัติและไม่มีใครตรงนั้นให้คุณขอความช่วยเหลือ
  • ในสิงคโปร์ คุณอาจโดนค่าปร้บราคา 400 ดอลลาร์ (13,200 บาท) ได้จากการทิ้งบุหรี่หรือหมากฝรั่งลงบนพื้น ถ้าคุณสูบบุหรี่ในที่สาธารณะคุณจะถูกปรับเป็นจำนวนเงิน 800 ดอลลาร์ (26,400 บาท)
  • ในอียิปต์ การถ่ายรูปสิ่งของทางการทหารและตึกของรัฐบาลเป็นสิ่งที่ห้ามทำอย่างเข้มงวด คุณอาจจะติดคุกได้เพราะสิ่งนี้

การจ่ายค่าบริการและการใช้เงิน

  • ร้านค้าในยุโรปหลาย ๆ ร้านไม่ติดป้ายราคาบนสินค้าของพวกเขา และนี่คือวิธีการที่พวกเขาทำเงินจากนักท่องเที่ยว ลองเช็กราคาจากหลาย ๆ ที่ก่อนจะต้องเสียเงินสองเท่าเพื่อที่จะซื้อของที่ระลึก
  • ในยุโรป การจ่ายเงินสดสำหรับบริการบางอย่างไม่สามารถทำได้ ถ้าคุณไม่มีบัตรเครดิต คุณอาจจะไม่ได้ออกจากโรงแรมเพื่อมายังสนามบิน
  • ในประเทศแถบตะวันออกและอิสราเอล คุณจำเป็นต้องให้ทิปกับทุกคนสำหรับทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาดห้อง, การช่วยคุณถือกระเป๋าดื่มหรือการหยิบผ้าเช็ดตัวให้คุณที่สระว่ายน้ำ
  • ส่วนลดและการขายลดราคาในยุโรปจะไม่ถูกประกาศ คุณต้องตระหนักในเรื่องนี้ด้วย
  • การใช้ลิฟต์ในการขึ้นชั้นบนในจอร์เจียจะต้องเสียเงิน มันไม่ได้แพงมากแต่ถ้าคุณไม่มีเหรียญอยู่กับตัว (ซึ่งคุณมักจะไม่มี) คุณต้องใช้บันไดแทน ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องสนุกเมื่อคุณต้องแบกกระเป๋าหลายใบ

สิ่งอื่น ๆ

  • ในสวีเดนและเนเธอร์แลนด์ ไม่มีผ้าม่านบนหน้าต่าง ในฝรั่งเศสพวกเขาไม่ใช้มุ้งลวดกันยุง
  • อพาร์ตเม้นต์ส่วนใหญ่ในเดนมาร์กไม่มีห้องอาบน้ำ มีแค่ฝักบัวและฝักบัวอาจจะไม่ได้อยู่ในห้องอาบน้ำ แต่ในบางครั้งมันก็อยู่ในครัว
  • ปลั๊กไฟ “ผิดแบบ” ในแต่ละประเทศจะทำให้ทุกคนรำคาญ โดยเฉพาะถ้าโทรศัพท์ของคุณกำลังจะแบตหมดและคุณนึกขึ้นได้ในตอนเย็น เมื่อร้านค้าทุกแห่งปิดหมดแล้ว
  • ในอาหรับเอมิเรตส์ หมอจะแนะนำยาฆ่าเชื้อมากมายให้คุณ ถึงแม้ว่าคุณจะแค่น้ำมูกไหลหรือปวดหัวก็ตาม
  • เรื่องราวในห้องน้ำอันน่าเศร้าจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ต "ตอนที่เราอยู่ในอินเดีย เรานั่งรถไฟไปยังอีกเมือง เพื่อนของผมเข้าไปในห้องน้ำและอีก 5 นาทีต่อมา เขาก็ตะโกนเรียกผมจากห้องน้ำ เขาเข้าตาจน คนอินเดียไม่ใช้กระดาษชำระแต่เขาไม่รู้ในข้อนี้จนกระทั่งมันสายเกินไป

คุณเคยตกใจกับสิ่งที่คุณเจอในต่างประเทศบ้างไหม

แชร์บทความนี้