13 วิธีในการสอนให้ลูกทำการบ้านด้วยตัวเอง
บทบาทของผู้ปกครองในช่วงปีการศึกษาของลูก ๆ มีความสำคัญมาก การสื่อสาร ความเคารพและการอยู่เคียงข้างเป็นแนวคิดบางข้อที่ผู้ปกครองทุกคนควรคำนึงถึงในช่วงปีพื้นฐานเหล่านี้ เพื่อให้เลี้ยงดูพวกเขาให้เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบได้อย่างแท้จริง เมื่อเด็กเติบโตเป็นวัยรุ่นและเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต ทั้งนิสัยที่ดีและไม่ดีที่เรียนรู้ในระยะก่อนหน้านี้จะเริ่มส่งผลกระทบต่อพวกเขาและสร้างลักษณะนิสัยของพวกเขา การเป็นพ่อแม่ในสมัยก่อนนั้นไม่เหมือนกับในปัจจุบัน เพราะงั้นสิ่งสำคัญคือต้องปรับตัวให้เข้ากับวิธีการใหม่ ๆ ในการทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้ลูก ๆ เติบโตขึ้นโดยมีความนับถือตนเองและความมั่นใจในตัวเองสูง
1. สื่อสารอย่างชัดเจน แต่ด้วยความรักและความเคารพ
แรกสุด สิ่งสำคัญคือต้องพยายามควบคุมอารมณ์ของคุณเมื่อสื่อสารกับลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณพูดถึงเรื่องที่ละเอียดอ่อน เช่น การศึกษา ไม่จำเป็นต้องตะโกนหรือโต้เถียง เด็ก ๆ เข้าใจสิ่งที่คุณพูดได้ดีเมื่อคุณพูดตามปกติ นอกจากนี้ คุณเป็นผู้ใหญ่แล้ว คุณจึงควรเป็นคนที่เรียนรู้ในการจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้ ในขณะที่เด็ก ๆ เพิ่งเรียนรู้วิธีการจัดการกับอารมณ์ พูดคุยกับพวกเขาอย่างใจเย็น ถามพวกเขาว่าเป็นยังไงบ้าง มีปัญหาอะไรมั้ยและทำไมพวกเขาถึงคิดว่าเรื่อง ๆ ถึงเกิดขึ้นอย่างที่มันเกิด การสื่อสารด้วยความเคารพและตรงไปตรงมาแบบนี้จะช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาในอนาคตและทำให้บ้านสงบสุข
2. สร้างกฎที่สม่ำเสมอ
ในฐานะผู้ปกครอง คุณอาจรู้ดีว่าคุณมีอำนาจเหนือลูก ๆ ของคุณ แต่การเป็นผู้มีอำนาจนั้นไม่เหมือนกับการเป็นเผด็จการ คุณตั้งกฎสำหรับลูกของคุณด้วยวิธีที่น่าพอใจ ร่วมทางไปกับพวกเขาและให้ความปลอดภัยแทนการบังคับใช้กฎของคุณกับพวกเขา แน่นอนว่าจะต้องมีเวลาที่ชัดเจนสำหรับความรับผิดชอบและการพักผ่อน จำไว้ว่าคุณควรพยายามทำให้สม่ำเสมอและทำตามกฎเหล่านี้เสมอเมื่อเวลาผ่านไป เพื่อให้ลูกของคุณเข้าใจว่ามันมีเหตุผลและเห็นผลลัพธ์ ถ้าคุณมั่นใจว่ากฎเหล่านี้จะได้ผล ลูกของคุณก็จะมั่นใจเช่นกัน และในที่สุดถ้ามันได้ผลจริง ๆ คุณทั้งคู่ก็จะมีหลักฐานยืนยัน ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น คุณก็ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ ๆ ได้
3. รับรู้ถึงความสำเร็จ ไม่ใช่แค่ความล้มเหลว
ในฐานะพ่อแม่ คุณคงมีความคาดหวังบางอย่างในตัวลูกของคุณ นี่เป็นเรื่องปกติอย่างยิ่งเนื่องจากคุณต้องการสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับพวกเขา บางทีคุณอาจต้องการให้พวกเขาได้เกรดสี่ทุกวิชาเพื่อเป็นหมอหรือเข้าเรียนมหาวิทยาลัยดัง ๆ แต่คุณก็ต้องระมัดระวังเมื่อสื่อสารเรื่องนี้กับพวกเขา พยายามทำในลักษณะที่กระตุ้นจะให้พวกเขาก้าวหน้าและเรียนรู้อยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น เมื่อพวกเขาได้เกรดที่ดี แม้ว่าจะไม่ใช่เกรดที่ดีที่สุด ก็ควรรับรู้และแทนที่จะให้สิ่งของกับพวกเขา เช่น ซื้อของเล่นหรือวิดีโอเกมใหม่ ๆ ก็ให้รางวัลด้วยการใช้เวลากับพวกเขาแทน ด้วยวิธีนี้ พวกเขาจะเติบโตขึ้นด้วยความมั่นใจและความนับถือตนเองสูง และเตรียมพร้อมสำหรับความท้าทายในชีวิต
4. เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการของลูก ๆ
การทำความรู้จักโรงเรียนที่ลูก ๆ ของคุณเข้าเรียนเป็นสิ่งสำคัญเพื่อทำความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นในชีวิตของลูก ๆ บ้าง คุณเริ่มต้นด้วยการดูวิธีการสอนและการประเมินผลของโรงเรียน จากนั้นก็ลองค้นหาว่าลูกของคุณเรียนวิชาอะไรและวิธีการเรียนของเขาเป็นยังไงบ้าง สิ่งสำคัญคือคุณต้องพยายามไปประชุมผู้ปกครองทุกครั้งเพื่อที่คุณจะได้พูดคุยกับคนที่ให้ความรู้กับลูกของคุณทุกวัน ท้ายที่สุดแล้ว ลูก ๆ ของคุณใช้เวลาส่วนใหญ่กับครูและคนอื่น ๆ ที่โรงเรียน ด้วยข้อมูลทั้งหมดที่มีก็จะทำให้ง่ายขึ้นเมื่อต้องการสื่อสารในกรณีที่มีปัญหา
5. สร้างกิจวัตรที่ทำได้จริงซึ่งผสมผสานระหว่างการเรียนและการพักผ่อน
คุณพูดคุยกับลูกของคุณเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาหาเวลาแน่นอนในแต่ละวันเพื่อทำการบ้านหรือเรียนหนังสือได้ ถ้าเป็นไปได้ก็ไม่ควรนอนดึกเกินไป เพราะคุณทั้งคู่จะไม่มีแรงจูงใจและเหนื่อยล้า มันไม่สมเหตุสมผลเลยที่ช่วงเวลาเหล่านี้จะยาวนานเกินไป เพราะเช่นเดียวกับงานของคุณ เด็ก ๆ ก็อาจสูญเสียความสนใจและแรงจูงใจหลังจากผ่านไประยะหนึ่ง หมายความว่าพวกเขาจะเสียเวลาเปล่า ๆ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมการทำได้จริงจึงสำคัญมาก การพักผ่อนก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเช่นกัน ถ้าทุกอย่างสมดุล คุณและลูก ๆ ก็จะมีปัญหาน้อยลง
6. การเลือกสถานที่เรียนที่เหมาะสมก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน
สถาพแวดล้อมที่ลูกของคุณเรียนและพยายามตั้งสมาธิมีความสำคัญอย่างยิ่ง ควรมีโต๊ะหรือโต๊ะทำงานที่เรียบร้อยและสะอาด การมีสถานที่พิเศษที่บ้านหรือในห้องของลูก ๆ ของคุณซึ่งใช้ทำงานนั้นโดยเฉพาะเป็นความคิดที่ดี ถ้าตัดสิ่งรบกวนออกไปได้ ก็ยิ่งดีเข้าไปอีก สถานที่ควรสร้างความต้องการในการทำงานและทำให้กับลูกของคุณมีสมาธิ
7. แสดงออกให้ลูกรู้ว่าคุณเข้าใจในสิ่งที่ลูกกำลังเผชิญอยู่
อาจมีบางวันที่ลูก ๆ ของคุณไม่อยากทำการบ้าน เช่นเดียวกับบางวันที่คุณไม่อยากไปทำงาน ในกรณีของลูก ๆ ความรู้สึกนี้อาจมีสาเหตุมาจากหลายสิ่งหลายอย่าง เพราะงั้นคุณควรถามพวกเขาเสมอว่าทำไมพวกเขาถึงไม่อยากทำการบ้านและจากการสนทนานั้น คุณก็จะหาข้อสรุปได้ การไม่อยากทำการบ้านไม่ได้หมายความว่าพวกเขาไม่มีความสามารถที่จะทำได้ สิ่งสำคัญคือคุณต้องพยายามเข้าใจพวกเขาเพื่อที่คุณจะช่วยเหลือพวกเขาได้
8. ให้อิสระในการวางแผนและทำงานด้วยตนเอง
เมื่อลูก ๆ ของคุณโตขึ้น ภาระงานของพวกเขาจะเพิ่มขึ้นและความรับผิดชอบของพวกเขาก็จะเปลี่ยนไปเช่นกัน คุณจะสังเกตเห็นว่าในบางจุด การมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการวางแผนให้ลูก ๆ และการสอนให้พวกวิธีจัดเวลาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นสิ่งสำคัญมาก แต่คุณไม่ควรเข้าไปแทรกแซงโดยตรง สิ่งสำคัญคือพวกเขาต้องมีอิสระในการวางแผนกำหนดการของตนเอง ท้ายที่สุดแล้วพวกเขาคือคนเดียวที่รู้ว่าพวกเขาทำงานอะไรได้บ้างในเวลาไหนของแต่ละวัน เคล็ดลับที่ดีคือการจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ เพื่อจัดระเบียบเวลา เช่น กำหนดการ ปฏิทิน โพสต์อิทและอื่น ๆ
9. บทบาทของคุณคือติดตามและดูแล ไม่ใช่ทำการบ้านให้พวกเขา
การดูแลลูกของคุณเมื่อพวกเขาทำการบ้านเป็นเรื่องหนึ่ง การทำการบ้านให้ลูกนั้นเป็นคนละเรื่องกัน คุณในฐานะผู้ปกครองมีหน้าที่รับผิดชอบในการทำให้แน่ใจว่าลูก ๆ ของคุณมีทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับการทำการบ้าน คุณช่วยพวกเขาหรืออยู่ใกล้ ๆ ได้ เผื่อมีอะไรเกิดขึ้น แต่สุดท้าย คนที่ต้องแก้ปัญหาเหล่านี้ก็คือลูกของคุณ ไม่ใช่คุณ ถ้าถึงจุดหนึ่ง พวกเขาเหนื่อยมากหรือเพราะมีเหตุผลและคุณยอมทำการบ้านให้พวกเขา คุณก็จะไปรบกวนกระบวนการเรียนรู้ของพวกเขา เด็ก ๆ ควรทำการบ้านได้ด้วยตนเอง
10. รับรู้ความก้าวหน้าและกระตุ้นให้พวกเขาพัฒนา
การปล่อยให้ลูก ๆ ของคุณวางแผนและทำการบ้านเองเท่ากับว่าคุณกำลังสอนพวกเขาถึงวิธีการเป็นพึ่งพาตัวเองและแก้ปัญหาด้วยตัวเอง นี่ไม่ได้หมายความว่าคุณควรตัดขาดจากชีวิตของพวกเขาหรืออะไรแบบนั้น แต่คุณเฝ้าดูความก้าวหน้าของพวกเขา รับรู้และกระตุ้นพวกเขาให้พยายามต่อไปและทำให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ตัวอย่างเช่น คุณทำเรื่องเหล่านี้ได้ในกระบวนการเรียนรู้ของลูก ๆ เพื่อกระตุ้นพวกเขา คุณใช้คำพูดให้กำลังใจและทำให้พวกเขามีพลังมากพอที่จะเดินหน้าต่อไปและค้นพบสิ่งที่พวกเขาชอบและสิ่งที่พวกเขาถนัด
11. อย่าห้ามการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ
เทคโนโลยีไม่จำเป็นต้องเป็นปัญหาถ้าคุณรู้วิธีใช้งานและสอนให้ลูกใช้อย่างเหมาะสม ท้ายที่สุด วิธีที่เราใช้มันทำให้มันแย่ อย่างที่คุณอาจรู้อยู่แล้วว่าอุปกรณ์และแกดเจ็ตเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ ถ้าโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตของลูก ๆ ช่วยให้พวกเขาได้ดูเนื้อหาด้านการศึกษาหรือแอปพลิเคชันทางวิชาการที่ช่วยแก้ปัญหาได้ นั่นก็เป็นเรื่องดี อย่าลืมว่าเทคโนโลยีทำให้พวกเขาเข้าถึงความรู้และเครื่องมือใหม่ ๆ ได้มากขึ้นซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในภายหลัง แน่นอนว่าจะไม่เป็นเช่นนั้นถ้าพวกเขาใช้อุปกรณ์เหล่านี้เพื่อเล่นเกมหรือหันเหความสนใจของตัวเอง ในฐานะผู้ใหญ่ คุณควรควบคุมการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม
12. ให้ช่วงค่ำยังคงเป็นช่วงเวลาแห่งการทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย
ทั้งคุณและลูกควรเตรียมตัวสำหรับการพักผ่อนเมื่อถึงเวลานั้น นั่นเป็นเหตุผลที่ไม่ควรทำกิจกรรมหรืองานที่เคร่งเครียดในตอนค่ำ คุณใช้ชั่วโมงสุดท้ายของวันในการพูดคุย คิดเรื่องราว อ่านหนังสือหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่คุณเพลิดเพลินร่วมกันได้
13. สร้างแบบอย่างที่บ้าน
ผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่างที่บ้าน เพราะเด็ก ๆ มักจะเลียนแบบผู้ใหญ่หรือผู้มีอำนาจ ถ้าคุณมีความรับผิดชอบและทำหน้าที่ประจำวันของคุณ คุณจะส่งข้อความที่คล้ายกันถึงลูก ๆ ของคุณอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนั้น คุณยังปลูกฝังนิสัยที่ดีได้มากมาย เช่น การอ่านหนังสือหรือการดูแลสัตว์เลี้ยง จำไว้เสมอว่าไม่ใช่สิ่งที่คุณพูดแต่เป็นการกระทำของคุณที่ลูกของคุณมองเห็น
คุณจะกระตุ้นลูกของคุณด้วยงานบ้านและกิจกรรมประจำวันได้ยังไง ? พ่อแม่ของคุณทำตัวยังไงเมื่ออยู่ใกล้คุณ ?